สายตรงคนนิยมพระ วันที่ 30 ตุลาคม 2554
 


สายตรงคนนิยมพระ วันที่ 30 ตุลาคม 2554


สายตรงคนนิยมพระ วันที่ 30 ตุลาคม 2554
“สายตรงคนนิยมพระ” อาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม วันอาทิตย์สุดท้าย ของ เดือนสิบ แห่งปี “กระต่ายเหี้ยม” เพราะเป็นเดือนแห่งความ “เลวร้าย” ของชาวไทยที่ได้เห็นกันแล้ว กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯ ทั้ง ชั้นนอก ชั้นกลาง และ ชั้นใน ก็กลายเป็น ทะเลน้ำจืด ไม่ต่างจากอีกหลาย ๆ ต่างจังหวัด ที่โดนมาแล้วล่วงหน้าแม้กระทั่ง ธนบุรี ที่เคยเป็น เมืองหลวง มาก่อนก็อยู่ในภาวะ สำลักน้ำ ตาม ๆ กัน  ความทุกข์ยาก ไม่ต้องพูดถึงคนกรุงเทพฯ ทุกระดับ ไม่แตกต่างกันอีกทั้ง หลังน้ำลด อย่าคิดว่าจะ ไม่มีภัยใด มาเยือนอีก “ตะวันบูรพา” จึงขอย้ำ ก่อนน้ำลด ต้องระวัง “สารพัดโรค” ที่จะตามมาอาละวาดเพราะภัยตัวนี้ มักมากับน้ำ หากไม่อยากให้มัน รุมเร้า ต้องรักษาความ สะอาด โดยเฉพาะ อาหารการกิน หากโดนมันสิงสู่ อันตราย ยิ่งกว่าถูก น้ำท่วมมิดหัว นะพี่น้องไทย  หันมา วงการพระ ช่วงนี้ต้องบอกว่า “เหงาสนิท” เพราะคนวงการนี้ หลายพันราย ต่างก็ถูกน้ำท่วมทั่วหน้ารวมทั้ง สนามพระท่าพระจันทร์ ที่ต้องปิดการค้าการขายไปชั่วคราวเนื่องจาก จมน้ำทุกแผง สร้างความเดือดร้อนอย่างเสมอภาคเลย  เอาเถอะ น้ำจะท่วม อะไรก็ หยุดไม่ได้ นี่คือกติกาของชาวโลกและใช่ว่า แผ่นดินไทย เท่านั้นที่ประสบ อุทกภัย แผ่นดินรอบข้างทั้ง เขมร-เวียดนาม-จีน อีกทั้ง ไอซ์แลนด์ ก็ถูกน้ำท่วมเช่นกันและที่ “เลวร้าย” อีกแผ่นดินคือ “ตุรกี” ประสบภัยพิบัติ “แผ่นดินไหว” ก่อให้มีคนตาย หลายร้อยราย นี่ล่ะที่ โบราณไทย ระบุว่า “ธรรมชาติเอาคืน” ละพี่น้องเอย  ชม “พระแท้พระสวย” ที่นำเป็น “องค์ครู” ตามปกติเพราะช่วงนี้ไปไหน ไม่สะดวก อ่านเดลินิวส์พร้อมชมภาพพระ คลายเครียด ได้ดีทีเดียวองค์แรก “พระพุทธรูปปางทรมานกาย” ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้วที่ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕” ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นที่ ประเทศอิตาลี ด้วยเนื้อ “บรอนซ์” ขณะเสด็จประพาสยุโรป  ซึ่งการหล่อครั้งนั้นนอกจาก “พระพุทธรูปปางทรมานกาย” แล้วยังมี “พระพุทธรูปพระพุทธชินสีห์” และ “รูปเหมือนกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์” พร้อม “รูปเหมือนสมเด็จพระวันรัตแดง” อีกด้วยพร้อมหล่อขึ้นน้อยองค์อย่างละประมาณ ร้อยองค์ เท่านั้นจึง หาชมยากมาก เพราะผู้ที่มีครอบครองส่วนใหญ่ล้วนแต่ พระประยูรญาติ  ส่วนการหล่อพระพุทธรูป “ปางทรมานกาย” ก็เพื่อเป็น “พุทธานุสติ” เตือน “ชาวพุทธ” ให้สำนึกชีวิตคนมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงไม่ควร ละโมบโลภหลง ขณะยังมีชีวิตต้องรู้จักสร้าง บุญกุศล หากชีวิตสิ้นผลบุญจะนำพาสู่ สวรรค์ สภาพองค์นี้อยู่ในขั้นเดิม ๆ คือ งามมาก สมบัติของท่านประธานชมรมพระเครื่องท่าพระจันทร์ “ศุภชัย เรืองสรรงามศิริ”  องค์ต่อมาก็เป็นสมบัติของ “ประธานชมรมท่าพระจันทร์” เช่นกันและวงการก็ถือเป็น ต้นแบบ ของการสร้าง “พระสมเด็จ” เพราะเป็น “พระสมเด็จอรหังพิมพ์ฐานสามชั้น” ที่ “สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๔” กรุงรัตนโกสินทร์ “สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน” สร้างขึ้นอีกทั้งองค์นี้ถือเป็น องค์พิเศษ เนื่องจากการ “จารอักขระ” คำว่า “อรหัง” ที่ด้านหลังจาร สองแถว ที่หายากกว่าที่จารแถวเดียว  สององค์นี้ก็เป็นสมบัติของ “ประธานชมรมท่าพระจันทร์” องค์แรก “พระวัดพลับพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่” องค์ที่สอง “พระวัดพลับพิมพ์พุงป่องเล็ก” อีกยอดพระเนื้อผงที่ถือกำเนิดจาก “วัดพลับ” หรือ “วัดราชสิทธาราม” เพราะสร้างโดย “สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน” เช่นกันหากนับอายุก็มากกว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” หลายสิบปีส่วนสภาพก็ สวยสมบูรณ์ จึงเหมาะนำเป็น “องค์ครู” ได้ทั้งคู่เลย  หันมาชมพระเนื้อทองแดงที่ราคา แรงไม่มีตก เพราะเซียนสายใต้ยกให้เป็น พระอมตะแห่งภาคใต้ องค์แรก “พระหลวงปู่ทวดหลังเตารีดใหญ่” สร้างเมื่อปี ๒๕๐๕ แถมเป็น “พิมพ์นิยมเอ” อีกต่างหากแถมสภาพก็สวยเดิม ๆ ข้อสำคัญ ดูสุดง่าย สมบัติของ “บอล ทวีทรัพย์”   องค์ที่สอง “พระหลวงปู่ทวดพิมพ์บัวรอบเนื้อทองแดง” ที่สร้างเมื่อปี ๒๕๐๘ องค์นี้สภาพนอกจาก สวยเดิม ๆ แล้วยัง ดูง่าย เช่นกันของเซียนแดนอีสาน “โหน่ง สกลนคร” ที่นิยมพระอมตะจากแดนใต้อีกคน  ส่วนสองเหรียญนี้เป็น “เหรียญยอดนิยม” ตระกูล “หลวงปู่ทวดวัดช้างให้” เหรียญแรกเป็นรุ่น “เลื่อนสมณศักดิ์เนื้ออัลปาก้า” ที่สร้างเมื่อปี ๒๕๐๘ และขอบเหรียญก็เป็น “ตัวตัดนิยม” อีกด้วยส่วนสภาพ “เดิม ๆ” ทุกกรณีสมบัติของนักซื้อมือหนัก “เสี่ยธนพล สุขเวสโก”  เหรียญที่สองเรียกว่า “เหรียญขี่คอเนื้ออัลปาก้า” ที่สร้างเมื่อปี ๒๕๐๙ และ “ตัวตัด” ก็เป็นตัวตัดนิยมส่วนสภาพก็ฟันธงได้ว่า “เดิม ๆ ครับท่าน” ของ “เสี่ยธนพล สุขเวสโก” ที่ระยะหลังหันมาสะสม “หลวงปู่ทวด” หลายสิบองค์  และเหรียญนี้เป็น “เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อบ่ายวัดช่องลม” ที่สร้างด้วย เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง เมื่อปี ๒๔๖๑ จึงจัดเป็นเหรียญ ยุคเก่า อีกสกุลของ เมืองราชบุรี ที่สภาพเหมือนเพิ่ง แกะจากกล่อง สมบัติของเซียนเหรียญเมืองสมุทรสงคราม “มหาแม่กลอง”  ส่วนองค์นี้เป็นพระกลางเก่ากลางใหม่ “พระปิดตาข้าวตอกแตกเนื้อชินตะกั่ว” ที่ “ท่านเจ้าคุณผลวัดหนัง” ศิษย์สายตรง “หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง” สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๖ และ “พระพุทธมนต์วราจารย์” ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสุทัศน์ สะสมไว้นานปีแต่มาถึงวันนี้ต้องเปิดรังนำมา บอกบุญ ผู้มีจิตศรัทธาเพื่อนำรายได้สมทบช่วย “พระ-เณร” หลายหมื่นรูปรวมทั้ง ชาวบ้าน ที่ประสบภัยน้ำท่วมสอบถามที่ ๐๘-๕๙๕๔-๕๖๐๘ และ ๐๘-๔๗๗๑-๖๖๐๙  ปิดท้ายด้วยข่าวจาก “พระครูประโชติ ปัญญาคม” เจ้าอาวาส วัดทุ่งขึงหนัง ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งเป็นวัดที่ถูก น้ำท่วมปีละ ๓ หน จึงจัดงาน “ทอดกฐินสามัคคี” เพื่อนำรายได้ บูรณะวัด ให้ดีดุจเดิมจึงขอเชิญทุกท่านร่วม ทอดกฐิน หากไม่สามารถเดินทางไปด้วยตัวเองให้ส่งผ่าน ธ.กสิกรไทย สาขาพัทลุง เลขที่บัญชี ๑๔๕-๒-๑๕๘๗๐-๘ หรือสอบถามที่ ๐๘-๑๓๘๘-๙๒๙๐ และ ๐๘-๑๐๙๓-๑๐๗๐.

ตะวันบูรพา


// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.