กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งร้อง บิ๊กตู่ เจอวิกฤติ ยื่น 4 ข้อเสนอช่วย
 


กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งร้อง บิ๊กตู่ เจอวิกฤติ ยื่น 4 ข้อเสนอช่วย


กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งร้อง บิ๊กตู่ เจอวิกฤติ ยื่น 4 ข้อเสนอช่วย

กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง รวมตัวกันเข้าร้อง นายกรัฐมนตรีฯ เจอวิกฤติ เลี้ยงกุ้งไม่ได้ แถมถูกซ้ำเติมด้วยราคาตกต่ำ พร้อมชู 4 ข้อ ช่วยเหลือ ก่อนกอดคอกันตาย

เมื่อวันที่ 29 เม.ย.58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในหลายจังหวัดภาคใต้ ต่างพากัน ยื่นหนังสือผ่าน ผวจ. เพื่อนำส่งไปยังนายกรัฐมนตรีช่วยให้แก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำ

เริ่มจากที่ จ.สตูล เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา บริเวณหน้าศาลากลาง จ.สตูล กลุ่มผู้ประกอบการทำนากุ้ง จำนวนประมาณกว่า 100 คน นำโดย นายอภิสิทธิ์ หอพิสุทธิสาร รองประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสตูล เดินทางไปพบ นายเดชรัฐ สิมศิริ ผวจ.สตูล และนายประพันธ์ ลีปายะคุณ ประมงจังหวัด เพื่อยื่นหนังสือผ่านทาง ผู้ว่าฯ ไปยัง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องร้องขอให้มีการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้ง ให้อยู่รอด

เนื่องใจในสภาวะปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่ 80% เป็นผู้ประกอบการรายย่อย กำลังเผชิญกับราคากุ้งตกต่ำ เช่นกุ้งตัวขนาด 100 ตัว ต่อ 1 กก. ปัจจุบัน ราคา กก.ละ 110 บาท และมีแนวโน้มว่าจะต่ำลงไปอีก ทำให้ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้ง ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก จึงได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาไปยัง พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี โดยผ่านผู้ว่าฯ สตูล นอกจากนี้ เรื่องแก้ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน ให้กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งหาวิธีการจัดเลี้ยงที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยขอให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณอย่างเต็มที่ และขอให้กุ้ง และผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่ได้รับการดูแลพิเศษจากภาครัฐ และให้บรรจุเรื่องกุ้งเป็นวาระแห่งชาติอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ ผวจ.รับเรื่อง บอกว่า จะส่งหนังสือดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีโดยเร่งด่วนเพื่อหาทางแก้ไขต่อไปทางกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งเข้ายื่นหนังสือผ่านผู้ว่าฯ ถึงนายกรัฐมนตรีช่วยแก้ปัญหาเร่งด่วน ขณะที่จังหวัดพังงาตัวแทนผู้เลี้ยงเข้ากุ้งยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าฯ ถึงนายกรัฐมนตรีช่วยแก้ปัญหาเร่งด่วน

เมื่อช่วงบ่ายวันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นำโดยนายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทยพร้อมด้วย นายสมชาย สุวรรณาภิชาติ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งอ่าวพังงา นายชยุต ตันสกุล ประธานชมรมผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งตะกั่วป่า และผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดพังงา กว่า 50 ราย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายประยูร รัตนเสนีย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพังงาเรื่อง ขอให้พิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรม คลัสเตอร์ กุ้งไทย ซึ่งประสบวิกฤติปัญหาการเกิดโรคระบาดกุ้งตายด่วน โรค อีเอ็มเอส ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมาอีกทั้ง ราคากุ้งในท้องตลาดลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้เกษตรกรประสบความเดือดร้อนจากการเลี้ยงที่ยากและยังประสบปัญหาการขาดทุนจากราคาที่ลดลงอย่างมาก ทางสมาคมสมาพันธ์ผู้เลี้ยงกุ้งไทยได้ประชุมหารือกันเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันได้ข้อสรุปเพื่อนำเสนอ นายกรัฐมนตรี ช่วยพิจารณาเร่งด่วนที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่านอกจากนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และส่วนผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกุ้งไทย จำนวน 9 คน นำโดย นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย และนายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย นายมานิตย์ จิตรชุ่ม นายกสมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย รวมตัวกันเข้าร่วมยื่นหนังสือร้องเรียนฯ ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้พิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วนที่สุด หลังกลุ่มผู้ประกอบการกุ้งประสบวิกฤติปัญหาการเลี้ยงกุ้ง รวมถึงการเลี้ยงกุ้งไม่ได้ และถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาราคากุ้งตกต่ำ

ด้านนายบรรจง ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย กล่าวว่า การมายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และการยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดต่างๆ โดยพร้อมเพรียง ในวันนี้ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง (ส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 เป็นรายย่อย) เดือดร้อนหนัก นอกจากเลี้ยงกุ้งกันไม่ได้ด้วยเจอวิกฤติปัญหา เรื่องโรคที่หนักหนาสาหัสตามที่ทราบกัน ซึ่งยังแก้ไม่ได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนแล้ว ยังถูกซ้ำเติมด้วยราคากุ้งที่ตกต่ำต่อเนื่อง จนผู้เลี้ยงทั่วประเทศจำเป็นต้องออกกันมาร้องให้พิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วน ก่อนที่จะตายกันหมด

อย่างไรก็ตาม ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า วิกฤติปัญหานี้ ทำให้ไทยสูญเสียความเป็นผู้นำการส่งออกกุ้ง ให้กับประเทศคู่แข่ง ที่สามารถผลิตกุ้งได้ เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย ประเทศกลุ่มละตินอเมริกา และอื่นๆ แล้ว ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขเร่งด่วนทันการณ์ ไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน สูญเสียตลาด ที่ทำให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยอาจถึงขั้นล่มสลายได้



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.