แนวโน้มภัยคุกคามขยายตัว พบมัลแวร์โจมตีแบงก์หนัก ทะลุล้านสายพันธุ์
 


แนวโน้มภัยคุกคามขยายตัว พบมัลแวร์โจมตีแบงก์หนัก ทะลุล้านสายพันธุ์


แนวโน้มภัยคุกคามขยายตัว พบมัลแวร์โจมตีแบงก์หนัก ทะลุล้านสายพันธุ์

เทรนด์ไมโคร เผยผลสรุปรายงานความปลอดภัยปี 2556 พบอาชญากรไซเบอร์ยังมุ่งหาประโยชน์จากข้อมูลดิจิตอล เผยบางตัวบังคับให้เหยื่อจ่ายเงินเกือบหมื่นบาท แลกกับการเข้าข้อมูล...

บริษัท เทรนด์ไมโคร อิงค์ เปิดเผยรายงานล่าสุด เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านภัยคุกคามในปี 2556 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างด้านภัยคุกคาม ครอบคลุมทั้งในเรื่องที่ดีและไม่ดี โดยภัยคุกคามบางอย่างเริ่มลดจำนวนลง ขณะที่ภัยคุกคามอื่นๆ เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นและยังมีภัยคุกคามโฉมใหม่ที่เข้ามาสร้างความยุ่งยากในการดำรงชีวิต และยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องกับภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลดิจิตอล โดยเทรนด์ไมโครระบุว่ามีมัลแวร์ธนาคารสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเกือบ 1,000,000 สายพันธุ์ ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ตรวจพบในปี 2555

นอกจากนี้ เทรนด์ไมโคร ยังตรวจพบ Ransomware (มัลแวร์เรียกค่าไถ่) ที่มีศักยภาพอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ภายใต้ชื่อ CryptoLocker ที่โจมตีผู้ใช้อย่างหนัก โดยภัยคุกคามใหม่นี้พัฒนาขึ้นจากเดิมโดยใช้วิธีเข้ารหัสลับข้อมูลของผู้ใช้ และบีบบังคับให้ผู้ใช้ต้องชำระเงินประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 9,700 บาท จึงจะสามารถถอดรหัสข้อมูลของตนได้ อย่างไรก็ตาม การโจมตีแบบมีเป้าหมายยังคงเดินหน้าโจมตีองค์กรทั่วโลกในรอบปีที่ผ่านมา โดยเทรนด์ไมโครตรวจพบว่าพื้นที่ในหลายๆ ส่วนของโลก รวมถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียนั้นตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงของภัยคุกคามที่มีการจัดเตรียมไว้อย่างดี อาทิ EvilGrab และ Safe ซึ่งมาพร้อมขีดความสามารถและความซับซ้อนของการโจมตีแบบมีเป้าหมายที่ทันสมัย นอกจากนี้ การละเมิดข้อมูลยังสร้างความเสียหายให้กับองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ บริษัท Adobe , Evernote และ LivingSocial ที่ข้อมูลลูกค้านับล้านรายของบริษัทถูกนำไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก การละเมิดดังกล่าวไม่เพียงแต่กระทบต่อชื่อเสียงขององค์กรเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้พวกเขาต้องมีความเสี่ยงด้านกฎหมายต่อกรณีที่ไม่สามารถปกป้องข้อมูลผู้ใช้ของตน

ทั้งนี้ ภัยคุกคามโทรศัพท์มือถือยังคงขยายตัวอย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา เฉพาะปีนี้ปีเดียวมีการตรวจพบแอพที่เป็นอันตรายและมีความเสี่ยงสูงประมาณ 1,000,000 แอพพลิเคชั่น และยังพบการใช้ภัยคุกคามในรูปแบบธนาคารผ่านมือถือเพิ่มขึ้นด้วย เช่น สายพันธุ์ PERKEL และ FAKEBANK ซึ่งทำให้ผู้ใช้เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นธนาคารมือถือเสี่ยงต่อการถูกหลวกลวงและเกิดการสูญเสียทางการเงิน ขณะที่ตัวขโมยข้อมูล เช่น มัลแวร์ธนาคาร ได้กลายเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีความเสี่ยงสูงและเป็นอันตรายชนิดหนึ่งที่พบมากเป็นอันดับ 3 ตามหลังจากตัวลวงการให้บริการพรีเมียม (Premium Service Abuser) และแอดแวร์ (Adware)

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการโจมตีผู้ใช้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นเรื่องปกติ และเครือข่ายสังคมใหม่ๆ เช่น Instagram , Pinterest , Tumblr ก็กำลังประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.