EMCพัฒนาซอฟต์แวร์ เสริมศักยภาพระบบประมวลผล รับธุรกิจยุคอนาคต
 


EMCพัฒนาซอฟต์แวร์ เสริมศักยภาพระบบประมวลผล รับธุรกิจยุคอนาคต


EMCพัฒนาซอฟต์แวร์ เสริมศักยภาพระบบประมวลผล รับธุรกิจยุคอนาคต

"อีเอ็มซี" เปิดตัวซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ SRM เวอร์ชั่น 3.0 พ่วง ViPR ชี้องค์กรเอกชนมุ่งลงทุนด้านสตอเรจ หวังเพิ่มเสถียรภาพให้ระบบพร้อมตอบโจทย์การใช้งาน...

นายนฐกร พจนสัจ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้ บริษัทมีหนึ่งในวาระเร่งด่วน คือ ช่วยลูกค้าแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศในปัจจุบัน พร้อมให้แนวทางในการเปลี่ยนผ่านจากการประมวลผลแบบแพลตฟอร์มที่สอง สู่สิ่งที่เรียกว่า การประมวลผลแบบแพลตฟอร์มที่สาม ได้แก่ จุดหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานคลาวด์ การทำงานผ่านอุปกรณ์โมบิลิตี้ โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก และบิ๊กดาต้า โดยผลจากการวิจัยทำให้อีเอ็มซีได้เปิดตัวเวอร์ชั่นใหม่ของ Storage Resource Management (SRM) Suite (เวอร์ชั่น 3.0) และการพัฒนา ViPR Software-Defined Storage platform (เวอร์ชั่น 1.1) ซึ่งถือเป็นรายแรกของโลก

นายนฐกร กล่าวว่า ผลสำรวจของ EMC Digital Universe ยังได้คาดการณ์อัตราการเติบโตของบิ๊กดาต้า ว่าจะเติบโตถึง 40ZB ภายในปี 2563 ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าว ทำให้ธุรกิจต้องมองหาวิธีปรับเปลี่ยนการบริหารและการนำเสนอข้อมูล ที่สามารถปรับขยายได้ตามอัตราการเติบโตที่เกิดขึ้น ด้วยศักยภาพของพับบลิคคลาวด์ เนื่องจากธุรกิจต้องการสภาพแวดล้อมของระบบสารสนเทศ ที่พร้อมทำงานได้อย่างไร้ข้อจำกัด และ 3 Platform ก็ถือเป็นทิศทางสำหรับความต้องการดังกล่าว เนื่องจากระบบสามารถสนับสนุนการใช้งานของยูสเซอร์และแอพพลิเคชั่นเป็นล้านรูปแบบ ทั้งยังมีเสถียรภาพในรูปแบบของ โมบิลิตี้ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของสภาพแวดล้อมการใช้งาน

ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) กล่าวอีกว่า การเปิดตัว SRM Suiite 3.0 พร้อมกับ ViPR 1.1 ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้น บริษัทยังคงมุ่งมั่นจะเป็นผู้ช่วยลูกค้าเดินทางไปสู่แพลตฟอร์มที่สามด้วยความใส่ใจ พร้อมความเป็นผู้นำของยุคซอฟต์แวร์กำหนดทุกสิ่ง อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปีนี้เราจะได้เห็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศยอมรับนิยามที่ชัดเจนของยุคที่ซอฟต์แวร์กำหนดทุกสิ่ง รวมถึงการติดตั้งตัวจัดการนโยบายของสตอเรจ (storage policy descriptor) เนื่องจากแรงผลักดันของมาตรฐานอุตสาหกรรม และพัฒนาไปสู่การเป็นระบบอัตโนมัติครบวงจร รวมถึง software-defined data center โดยอาศัยมาตรฐานอุตสาหกรรมเหล่านี้ในปี 2558

นายนฐกร กล่าวด้วยว่า สำหรับการลงทุนขององค์กรที่ต้องซื้อโครงสร้างพื้นฐานสตอเรจ ก็เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายของระดับการให้บริการ (service level objectives-SLO) ที่กำหนด สิ่งที่แอพพลิเคชั่นต้องการจากสตอเรจ คือ เสถียรภาพ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล ประสิทธิภาพ และการปกป้องข้อมูล แม้ความต้องการเหล่านี้จะดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่เมื่อพิจารณาระบบสตอเรจและซอฟต์แวร์ในตลาด กลับพบว่าความต้องการเหล่านี้ เป็นความท้าทายที่ซับซ้อนของทุกศูนย์ข้อมูล ทำให้ตลาดสตอเรจในปีนี้ เริ่มมองหา SLO-defined storage ที่สามารถตอบโจทย์การปกป้องได้ทั้งหมด ขณะเดียวกัน ลูกค้าก็จะประเมินสตอเรจจากความคุ้มค่าของสถาปัตยกรรมที่ตอบโจทย์ ทั้งด้านความพร้อมในการเข้าถึงข้อมูล ความเร็ว และการปกป้องข้อมูลอีกด้วย.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.