5 ลักษณะนิสัย เสี่ยงป่วย โรคซึมเศร้า
 


5 ลักษณะนิสัย เสี่ยงป่วย โรคซึมเศร้า


5 ลักษณะนิสัย เสี่ยงป่วย โรคซึมเศร้า

ใครที่รู้จัก หรือเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า น่าจะพอรู้ถึงผลกระทบของโรคนี้ว่าหนักหนาสาหัสเพียงใด โดยโรคนี้ถือเป็นภาวะทางอารมณ์ ที่ทำให้เราไม่สามารถหาความสนุกสนานใดๆ ในชีวิตประจำวันได้ และยังดึงเอาพลังในการใช้ชีวิต สมาธิ และความสุขออกไปจากเราด้วย หากลองสังเกตตัวเองแล้วพบว่ามี 5 ลักษณะนิสัยดังต่อไปนี้ แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคนี้ได้เช่นกัน

1. ขาดการออกกำลังกาย
การ

ออกกำลังกายเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก การอยู่แต่ในบ้านโดยไม่ทำกิจกรรมใดๆ เลย จะทำให้เราเริ่มรู้สึกขี้เกียจและทำให้เรากินตลอดเวลา ทั้งนี้ ความรู้สึกขี้เกียจกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ที่จะทำให้เราเสียความมั่นใจในตัวเอง และนำเราไปสู่ภาวะซึมเศร้า ดังนั้น หันมาออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 40 นาที เพื่อให้สมองได้หลั่งสารความสุขอย่าง เซโรโทนิน และ โดปามีน กันดีกว่า

2. การทานอาหารผิดวิธี
การ

รับประทานอาหารที่ดีนั้น ส่งผลทั้งต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ อย่างอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันโอเมก้า 3 นั้น เป็นอาหารสมองชั้นเยี่ยม เพราะเจ้าไขมัน โอเมก้า 3 นี้ไม่สามารถผลิตได้ในร่างกาย เราจึงต้องแน่ใจว่าได้รับมันมากพอ เพื่อไม่ให้สมองตกอยู่ในภาวะเปราะบางและเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาหารจำพวกปลา ที่อาศัยอยู่ในน้ำเย็น และอาหารทะเลจะมีไขมันโอเมก้า 3 อยู่มาก

3. การนอนหลับไม่เพียงพอและความเครียด

เมื่อไรที่เรานอนหลับไม่เพียงพอ เรากำลังสร้างสภาวะที่จะนำตัวเองเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าทันที ทางการแพทย์บอกไว้ว่า เราควรนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 7–8 ชั่วโมงทุกคืน พฤติกรรมการอ่านหนังสือบนเตียง ทำงานคอมพิวเตอร์ หรือนอนดึก เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เรานอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะหงุดหงิดและวิตกกังวล ซึ่งเป็นภาวะเบื้องต้นของโรคซึมเศร้านั่นเอง และเมื่อสุขภาพจิตเราปั่นป่วน การทำงานก็มักไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจ ก่อให้เกิดเป็นความเครียดเพิ่มขึ้นอีก และส่งผลทำให้เรานอนไม่หลับ และเมื่อเรารู้สึกว่าควบคุมชีวิตไม่ได้ เมื่อนั้นโรคซึมเศร้าก็จะถามหา

4. การเก็บตัว
การ

เก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร จะส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เมื่อเราเริ่มหลบหน้า หรือปลีกตัวออกจากผู้คน ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม นั่นจะเป็นสภาพแวดล้อมอย่างดีที่จะบ่มเพาะโรคซึมเศร้าให้เกิดขึ้น เพราะการเข้าสังคมและพบปะผู้คนนั้น จะช่วยเสริมสร้างสมองให้แข็งแรง และเป็นภูมิคุ้มกันจากโรคซึมเศร้าเป็นอย่างดี และยังเป็นการกำจัดความเครียดได้อีกด้วย

5. การคิดมาก
ความ

คิดเชิงลบ เป็นปัจจัยสำคัญอีกตัวหนึ่งที่จะดึงเราเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า ยิ่งเราสะสมความคิดเชิงลบในแต่ละวันมากเท่าไร ภาวะซึมเศร้าก็จะก่อตัวขึ้นมากเท่านั้น ความคิดเรื่องการสูญเสีย คำว่าร้าย การพ่ายแพ้ และความผิดหวังเป็นความคิดที่รัง แต่จะทำให้ชีวิตเราไร้ซึ่งความสุข จำไว้ว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้ก็คือ ความรู้สึกนึกคิด ดังนั้น ลองเปลี่ยนมุมมองหาสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวแทนที่จะไปจดจ่ออยู่กับ สิ่งที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เลิกจมอยู่กับความผิดพลาด แต่ต้องเงยหน้าและก้าวต่อไปให้ได้



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.