ลิงกอริลลา รู้สึกจั๊กจี้เป็น
 


ลิงกอริลลา รู้สึกจั๊กจี้เป็น


ลิงกอริลลา รู้สึกจั๊กจี้เป็น


นักประสาทวิทยาศาสตร์เปิดเผยให้เรารู้ว่า เหตุที่เรารู้สึกจั๊กจี้เมื่อเวลาโดนจี้รักแร้และฝ่าเท้าก็เพราะปลายประสาทใต้หนังกำพร้าแถบนั้น

ถูกกระตุ้นและส่งสัญญาณไปถึงสมอง นอกจากสมองส่วนรับความรู้สึกสัมผัสแล้ว สมองส่วนที่เกี่ยวกับการตัดสินใจและคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมความรู้สึกพึงพอใจก็พลอยได้รับรู้ด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาวิวัฒนาการอ้างว่า การที่เราหัวเราะเมื่อถูกจี้เบาๆ ก็เพราะส่วนของสมองส่วนหน้าบอกให้เราหัวเราะ และเป็นสมองส่วนเดียวกับที่มีหน้าที่เคยเตือนให้เรารู้ว่าจะรู้สึกเจ็บปวดด้วย นักวิชาการยังสงสัยว่า การที่เรารู้สึกจั๊กจี้เมื่อตอนถูกจี้นั้น อาจจะเป็นกลไกป้องกันตัว อย่างหนึ่ง เพราะได้มีการวิจัยส่อว่า เราถูกวิวัฒนาการให้สามารถส่งสัญญาณออกมาให้ผู้รุกรานสำนึกรู้ว่าเรายอมจำนน  เพื่อปัดเป่าสถานการณ์ที่ตึงเครียดให้เบาลงและป้องกันเราไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ

มีผู้สงสัยว่าทำไมเมื่อเราจี้ตัวเราเองถึงไม่รู้สึกขำ นักวิทยาศาสตร์อธิบายให้รู้ว่าเป็นเพราะมันสมองส่วนล่างที่อยู่ด้านหลังบอกเราให้เรารู้ก่อนว่ากำลังจะโดนสะกิดเกา สมองจึงไม่ยอมแปลความหมายของสัญญาณให้เสียเวลาเปล่าๆ

นอกจากมนุษย์ที่รู้จักหัวร่อเมื่อถูกจี้แล้ว ยังมีสัตว์อื่นด้วยอย่างเช่น ลิงกอริลลา และแม้แต่ หนูก็หัวร่อเป็นเหมือนกัน หากแต่มันจะรู้สึกต้องจี้ด้วยคลื่นเสียงขนาด 50 กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งหูของเราไม่ได้ยิน.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.