ระบบไฟนำร่องในอากาศยาน
 


ระบบไฟนำร่องในอากาศยาน


ระบบไฟนำร่องในอากาศยาน

การบินในเวลากลางคืน หรือในสภาพอากาศปิด ระบบไฟส่องสว่าง หรือไฟสัญญาณของอากาศยานกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ ด้านความปลอดภัยในขณะทำการบิน...

ไฟนำร่อง หรือ Navigator Light คือ ไฟสัญญาณที่แสดงสถานะของอากาศยานในขณะนั้นๆ ขณะที่เตรียมขึ้นบิน จอดอยู่กับที่ ขณะที่กำลังเคลื่อนที่ไปยังรันเวย์เพื่อบินขึ้น หรือขณะที่อากาศยานกำลังบินอยู่ในห้วงอากาศ โดยทั่วไปไฟที่ด้านซ้าย ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ตำแหน่งปลายปีกของเครื่องบินจะใช้สีแดง ส่วนไฟที่บริเวณปลายปีกด้านขวานั้นจะใช้สีเขียว เนื่องจากต้องบินในเวลากลางคืนที่มีสภาพแสงน้อยมาก ไฟดังกล่าวจะช่วยในการแจ้งเตือนถึงตำแหน่งของเครื่องบินในตอนกลางคืนว่า อากาศยานลำนั้นกำลังเคลื่อนที่ หรือบินไปยังทิศทางใด

 

 


Beacon Light

มีลักษณะของหลอดไฟที่ใช้สีแดง การทำงานของไฟ Beacon Light จะมีการทำงานที่หมุนอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้ดูเหมือนไฟสัญญาณที่กำลังกะพริบ โดยจะทำการติดตั้งไว้ในบริเวณลำตัวของอากาศยาน ซึ่งมีทั้งด้านบนและข้างใต้ของอากาศยาน เป็นไฟสัญญาณที่แจ้งเตือนการทำงานของอากาศยานลำนั้น ซึ่งนักบินจะทำการเปิด ก่อนจะเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์

 

ไฟสัญญาณ Beacon Light จะติดตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ไปจนถึงการดับเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน ซึ่งทำงานในตอนกลางคืน ในขณะที่เครื่องยนต์ของอากาศยานกำลังทำงาน

 

 

Strobe Light
มีลักษณะเป็นไฟสีขาวกะพริบ มีความเข้มของแสงสูงมากคล้ายไฟแฟลต ส่วนมากไฟ Strobe Light จะติดตั้งอยู่ที่บริเวณปลายปีกค่อนไปทางด้านหลังต่อจากไฟ Navigator Light เป็นสัญญาณไฟที่คอยแจ้งเตือนในยามค่ำคืนให้รับรู้ถึงขนาดของอากาศยานลำนั้นๆ เนื่องจากตำแหน่งของการติดตั้งไฟชนิดนี้ อยู่ที่ชายปีกทั้งสองข้าง ทำให้สามารถประเมินขนาดความกว้างของปีกทั้งสองข้างได้

ทั้งนี้ โดยปกติไฟสัญญาณ Strobe Light จะเปิดใช้งานเมื่ออากาศยานอยู่ในทางวิ่ง หรือรันเวย์ที่พร้อมจะทำการขึ้นบิน สำหรับ Strobe Light ในเครื่องบินโดยสารของบริษัท Airbus จะมีการทำงานโดยกะพริบติดต่อกันสองครั้งแล้วทำการเว้นระยะของการกะพริบ ส่วนอากาศยานโดยสารของบริษัท Boeing ไฟ Strobe Light จะกะพริบแค่ครั้งเดียวแล้วเว้นระยะ

 

 

Taxi Light
ไฟสัญญาณดังกล่าวติดตั้งอยู่ตรงบริเวณฐานล้อหน้าของอากาศยาน เพื่อแจ้งเตือนสถานะว่าอากาศยานลำนั้น กำลังเคลื่อนตัวอยู่ในทิศทางใด Nose Taxi light จะมีความเข้มของแสงคล้ายกับไฟสปอร์ตไลท์ ที่ใช้ส่องไปยังทิศทางไกลๆ โดยส่องออกจากบริเวณส่วนหัวของอากาศยาน

 

Landing Light
เป็นสัญญาณไฟที่แสดงสถานะการบินขึ้น-ลงของอากาศยาน นักบินจะเปิดใช้งานสัญญาณไฟนี้ เมื่ออากาศยานบินอยู่ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 10,000 ฟุต หมายความว่า เมื่ออากาศยานทำการบินขึ้น (Take off) ไปแล้ว ไฟ Landing Light จะถูกปิดสวิตช์ เมื่อความสูงของเครื่องพ้นระดับ 10,000 ฟุตไปแล้ว

ในทางกลับกัน เมื่ออากาศยานต้องทำการร่อนลงจอด หรือ Landing เมื่อนักบินทำการลดระดับความสูงจนตัวเครื่อง มีความสูงต่ำกว่า 10,000 ฟุต จะต้องทำการเปิดไฟสัญญาณ Landing Light ทันที เพื่อแจ้งเตือนสถานะของอากาศยานว่ากำลังจะทำการร่อนลงจอด

สำหรับจุดสังเกตระหว่างอากาศยานโดยสารของ Airbus และ Boeing เฉพาะตำแหน่งของไฟสัญญาณ Landing Light หรือไฟแสดงสถานะการขึ้น-ลง ของอากาศยาน มีดังนี้

 

Airbus
ไฟ Landing Light จะติดตั้งอยู่ที่ด้านข้างลำตัว บริเวณโคนปีกในตำแหน่งด้านล่าง ส่วนไฟ Nose Taxi light จะติดตั้งที่ฐานล้อหน้า

 

 

Boeing
ไฟ Landing Light จะติดตั้งอยู่ที่ด้านข้างลำตัวบริเวณโคนปีก ในตำแหน่งด้านบน หรือกึ่งกลางของ โคนปีก ส่วน Nose Taxi light ยังคงเหมือนกับ Airbus คือ ติดตั้งอยู่ตรงบริเวณฐานล้อด้านหน้า

COCKPIT AND AIRCRAFT LIGHT
ห้องนักบินเป็นส่วนการทำงานของนักบิน ในการบังคับควบคุมเครื่องบิน รวมถึงการปรับระบบต่างๆภายในอากาศยาน ห้องนักบินจึงมีความสำคัญสูงสุดและต้องมีมาตรการในด้านความปลอดภัยสูงมาก (หลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน ค.ศ. 2001)


Analog Cockpit In Boeing 707

เป็นระบบแรกสุดตั้งแต่เริ่มมีการขึ้นบินโดยอากาศยาน มาตรวัดทุกตำแหน่งใช้ระบบเข็มวัดและยังมีระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลเข้ามาใช้ งานน้อยมาก ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีของการเดินอากาศมีความก้าวไกลมากยิ่งขึ้น จึงมีการนำเอาจอแสดง ผลแบบ CRT หรือ Cathode Ray Tube มาใช้งานใน Cockpit ของนักบิน ระบบควบคุมการบินและมาตรวัดแบบ Analog Cockpit ใช้บุคคลควบคุมถึง 3 ตำแหน่ง ได้แก่ นักบิน หรือกัปตัน นักบินผู้ช่วย และวิศวกรประจำเครื่อง อากาศยานในบางแบบใช้คนควบคุมถึงสามคน ได้แก่ Boeing 707 / Boeing 747-100 / McDonnell Douglas DC-8 / McDonnell Douglas DC-10 ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการบินให้มีความทันสมัยมากขึ้น การควบคุมอากาศยานส่วนใหญ่ จึงเหลือเพียงแค่กัปตันและนักบินที่สองเท่านั้น

 

 


Glass Cockpit in Airbus A380

 

 


Glass Cockpit in Airbus A320

 

Glass Cockpit in Boeing 777-300ER

หมายถึงห้องนักบินที่นำระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเดินอากาศ มาตรวัดทุกตำแหน่งจะใช้จอแบบ LCD หรือ Liquip Crystal Display ซึ่งมีความทันสมัยและแม่นยำเที่ยงตรงสูงกว่ามาใช้แทนที่มาตรวัดแบบเข็ม ห้องนักบินแบบ Glass Cockpit ได้เข้ามาช่วยลดภารกรรมการปฏิบัติงานของนักบินลงอย่างมาก โดยใช้เพียงแค่นักบินที่ 1 และ 2 ทำการควบคุมโดยไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่ม ตำแหน่งวิศวกรการบินแต่อย่างใดทั้งสิ้น

บริษัทผู้ผลิตอากาศยานบางราย นำเอาระบบ Glass Cockpit ไปทำการปรับปรุงเพื่อยกระดับความสามารถในการบินให้กับเครื่องบิน โดยใช้การออกแบบห้องนักบินให้มีรายละเอียดที่คล้ายคลึงกันเพื่อทำให้ง่ายต่อ การฝึกบิน หรือการเปลี่ยนแปลงรุ่นของอากาศยานในรุ่นอื่นๆ เพื่อลดขั้นตอนในการฝึกบินและการซ่อมบำรุง ซึ่งช่วยลดเงินงบประมาณในด้านที่จะต้องจ่ายสำหรับการฝึกนักบินใหม่อีกด้วย สำหรับอากาศยานโดยสารที่ติดตั้งห้องนักบินแบบ Glass Cockpit คือ Boeing 787 Dreamliner / Airbus A380 / Airbus A320 / Boeing 777-300ER.

เอกสารอ้างอิง ข้อมูลประกอบการเขียนจาก

THE AERO issue 3 / January 2014

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.