สารหนูกับอาหารสำหรับเด็กทารก
 


สารหนูกับอาหารสำหรับเด็กทารก


สารหนูกับอาหารสำหรับเด็กทารก

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก เริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนครบ 9 เดือน และคลอด การให้นมลูกครั้งแรก คุณแม่จะได้เห็นพัฒนาการของลูกตั้งแต่แรกคลอด ได้สบตากันเวลาที่ลูกดื่มนมจากอกแม่เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน

หลังจากนั้นจึงเริ่มมองหาอาหารเสริม เช่น ตับบด ผัก และผลไม้บดให้แก่ลูก แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำเร็จรูปก็นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่สะดวก เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณแม่ประหยัดเวลาในการทำอาหารแล้ว ลูกน้อยก็ยังได้รับสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตอย่างครบถ้วนอีกด้วย

การให้อาหารเสริมตามวัยสำหรับทารก จะช่วยให้ทารกปรับตัวเข้ากับการทานอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว คุ้นเคยกับรสชาติและลักษณะอาหารที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาไปสู่การทานอาหารแบบผู้ใหญ่

อาหารตามวัยสำหรับทารก ควรมีสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของเด็ก ซึ่งได้จากการกินอาหารที่หลากหลาย ได้แก่ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว น้ำมัน ผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน

อาหารการกินของเด็กทารกเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้ผลิตจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ จะต้องไม่มีการปนเปื้อนของสารพิษและจุลินทรีย์ทุกชนิด หรือหากพบก็ไม่ควรเกินค่ามาตรฐานตามที่ี่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ เช่น สารหนูในอาหารเสริมสำหรับทารก

เนื่องจากอาหารเสริมดังกล่าว มีส่วนผสมที่หลากหลายและมีแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่แตกต่างกัน สารหนูอาจจะปนเปื้อนมาตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งคนเป็นแม่ควรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อให้มากขึ้น  ควรให้ทานได้ในปริมาณที่กำหนด

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างอาหารสำหรับทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 5 ตัวอย่าง (5 ยี่ห้อ)

ปรากฏว่า ทุกตัวอย่างพบการปนเปื้อนของสารหนู เป็นไปได้ว่าสารหนูที่ปนเปื้อนมานั้น อาจปนเปื้อนมาตามธรรมชาติในอากาศ, ในดิน,ในน้ำ และวัตถุดิบอาหารที่นำมาผลิตอาหารทารก

ฉะนั้น ปริมาณที่ปนเปื้อนจึงไม่สูงมากและยังไม่เกินมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่กำหนดให้ในอาหารทั่วไปพบสารหนูได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม.


ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.