นิด้าโพลเผย ผู้สูงอายุไทยยังมีคุณค่า ไม่เป็นภาระ แม้หลงลืมบ้าง
 


นิด้าโพลเผย ผู้สูงอายุไทยยังมีคุณค่า ไม่เป็นภาระ แม้หลงลืมบ้าง


นิด้าโพลเผย ผู้สูงอายุไทยยังมีคุณค่า ไม่เป็นภาระ แม้หลงลืมบ้าง

"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจสังคมไทยส่วนใหญ่มองภาพลักษณ์ผู้สูงอายุในเชิงบวก มีคุณค่า ไม่เป็นภาระ สภาพร่างกายมีความแข็งแรง แต่สมองอาจหลงลืม มีความน่าเคารพ ส่วนน้อยมองว่าเป็นภาระและน่ารำคาญ...

เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" ร่วมกับศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุไทย" สุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่เข้าชมนิทรรศการ "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2556" ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,372 หน่วยตัวอย่าง มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ไม่เกินร้อยละ 3.7 พบว่า ทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุในภาพ รวม ร้อยละ 69.75 มีทัศนคติเฉลี่ยในเชิงบวก หรือเห็นว่าผู้สูงอายุมีคุณค่า ขณะที่ร้อยละ 30.25 มีทัศนคติเฉลี่ยในเชิงลบ หรือเห็นว่าผู้สูงอายุเป็นภาระ 

เมื่อจำแนกทัศนคติด้านร่างกายผู้สูงอายุ ร้อยละ 59.11 ระบุว่า แข็งแรง ขณะที่ร้อยละ 40.89 ระบุว่า อ่อนแอ ร้อยละ 63.99 ระบุว่า ทำงานได้ ขณะที่ร้อยละ 36.01 ระบุว่า ทำงานไม่ได้ ด้านสมอง ร้อยละ 54.01 ระบุว่า หลงลืม ขณะที่ร้อยละ 45.99 ระบุว่าความจำดี  ด้านจิตใจ ร้อยละ 59.99 ระบุว่า แจ่มใส ขณะที่ร้อยละ 40.01 ระบุว่า ซึมเศร้า ร้อยละ 73.69 ระบุว่า สามารถพึ่งพาได้ ขณะที่ร้อยละ 26.31 ระบุว่า ไม่สามารถพึ่งพาได้ ร้อยละ 80.76 ระบุว่า ควรอยู่กับลูกหลาน ขณะที่ร้อยละ 19.24 ระบุว่า ควรอยู่กับกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกันเอง ด้านพฤติกรรม ร้อยละ 74.85 ระบุว่า น่าเคารพ ขณะที่ร้อยละ 25.15 ระบุว่า น่ารำคาญ และด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 62.68 ระบุว่าเลี้ยงตัวเองได้ ขณะที่ร้อยละ 37.32 ระบุว่า เลี้ยงตัวเองไม่ได้


ด้านคะแนนทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุ เฉลี่ยในภาพรวมทุกด้าน เท่ากับ 3.99 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.99) จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน ซึ่งมีระดับทัศนคติอยู่ในเกณฑ์มีคุณค่า

ผช.ศ.ดร.ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการสำรวจส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 ของประชาชน เห็นว่าผู้สูงอายุมีคุณค่าในทุกๆ ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านพฤติกรรม ด้านเศรษฐกิจ มีเพียงด้านสมอง ที่ประชาชน ร้อยละ 54 เห็นว่าผู้สูงอายุเป็นภาระ คือมีความจำที่ไม่ค่อยดี ขี้หลง ขี้ลืม ขณะที่ร้อยละ 46 ยังเห็นว่าผู้สูงอายุความจำดี ทั้งนี้ ประชาชนยังมีทัศนคติต่อผู้สูงอายุเฉลี่ยในภาพรวมทุกด้าน เท่ากับ 3.99 คะแนน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์มีคุณค่า

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุจะร่วมมือกับศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" ทำการเก็บข้อมูลภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุ ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุในอนาคตอันใกล้ โดยปัจจุบันสัดส่วนของผู้สูงอายุมีประมาณร้อยละ 12 ของประชากรไทย.

 



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.