แก้กฎหมายคุ้มครองสัตว์ รัฐมหาราษฎร์ห้ามฆ่า-ห้ามขาย-ห้ามกิน เนื้อวัว
 


แก้กฎหมายคุ้มครองสัตว์ รัฐมหาราษฎร์ห้ามฆ่า-ห้ามขาย-ห้ามกิน เนื้อวัว


 แก้กฎหมายคุ้มครองสัตว์ รัฐมหาราษฎร์ห้ามฆ่า-ห้ามขาย-ห้ามกิน เนื้อวัว


จากรายงานของเอเชียเซ็นทินัล รัฐมหาราษฎร์ของอินเดียได้แก้ไขกฎหมายคุ้มครองสัตว์ โดยห้ามการฆ่า, จำหน่าย และบริโภคเนื้อวัว ผู้ฝ่าฝืนที่มีเนื้อวัวไว้ในครอบครองหรือจำหน่าย อาจต้องโทษจำคุกสูงถึง 5 ปี และยังมีโทษปรับสูงสุดถึง 160 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการแก้กฎหมายครั้งนี้สร้างความกังวลไปทั่วประเทศเนื่องจากอาจกระทบต่อภาคการส่งออกรวมทั้งการบริโภคภายในประเทศและยังกระทบต่อชนกลุ่มน้อยต่างศาสนา

http://www.matichon.co.th/online/2015/03/14265039351426503950l.jpg

ทั้งนี้ประเทศอินเดียซึ่งประชาชนกว่า 80 เปอร์เซนต์เป็นชาวฮินดูที่บูชาวัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ แต่กลับเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกเนื้อวัวมากที่สุดในโลก ด้วยปริมาณราว 1.3 ล้านตันต่อปี เป็นมูลค่ากว่า 4.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สร้างรายได้มากที่สุดให้กับอินเดีย สูงเสียยิ่งกว่าการส่งออกข้าวบาสมาติ

ธุรกิจส่งออกเนื้อวัวของอินเดียซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 1969 เป็นระยะเวลาเกินกว่า 40 ปี ได้สร้างชื่อเสียงให้กับผลิตภัณฑ์เนื้อวัวจากอินเดียว่าปราศจากความความเสี่ยง, มีไขมันน้อย เต็มไปด้วยคุณค่าทางอาหารและมีราคาที่แข่งขันได้ แต่สำหรับชาวฮินดู การจำหน่ายหรือบริโภคเนื้อวัวถือเป็นการลบหลู่ศาสนา ด้วยความเชื่อที่ว่าวัวคือร่างอวตารของเทพี "กามเธนุ" หรือ "แม่โคสุรภี" ยิ่งไปกว่านั้นชาวฮินดูยังถือว่าการทานมังสวิรัติคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ประเทศอินเดียกลับเป็นประเทศที่บริโภคเนื้อวัวมากเป็นอันดับหกของโลกและการบริโภคยังขยายตัวถึงปีละประมาณ 4 เปอร์เซนต์ในรอบห้าปีที่ผ่านมา โดยเนื้อวัวถือเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับคนยากจนในประเทศที่ยังมีปัญหาด้านทุพโภชนาซึ่งประชาชนกว่า 300 ล้านคนยังมีรายได้ต่ำกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน ซึ่งสำหรับพวกเขาการทานเนื้อไก่หรือเนื้อแกะถือเป็นความหรูหราที่เกินเอื้อม

นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี จากพรรคขวาจัดอย่างพรรคภารติยะชนตะ ซึ่งขึ้นสู่อำนาจเมื่อปีที่แล้วมีฐานสนับสนุนสำคัญอยู่ทที่รัฐมหาราษฎร์ เป็นผู้ผลักดันการแก้กฎหมายฉบับนี้เพื่อคุ้มครองและยกย่องวัวในรัฐแห่งนี้ ซึ่งการแก้ไขครั้งนี้ยังอาจมีส่วนกระตุ้นให้รัฐอื่นๆเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติต่อวัวมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีเพียงห้ารัฐในยี่สิบเก้ารัฐของอินเดียที่อนุญาตให้มีการฆ่าวัวได้

กฎหมายลักษณะนี้ยังเป็นการเพิ่มความตึงเครียดกับคนต่างศาสนา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่นับถือทั้งศาสนาคริสต์และอิสลาม โดยนักวิจารณ์มองว่านโยบายนี้เป็นผลมาจากการผลักดันของบรรดาคนใกล้ชิดของนายโมดิที่ต้องการใช้ศาสนาเพื่อประโยชน์ทางการเมือง


// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.