8 ความคิดเขย่าโลก (2) - โลกาภิวัตน์
 


8 ความคิดเขย่าโลก (2) - โลกาภิวัตน์


8 ความคิดเขย่าโลก (2) - โลกาภิวัตน์
ความคิดชุดแรก คือ แนวคิดในการป้องกันน้ำท่วมใหญ่ของกรุงนิวยอร์ก ถ้าหากมีซูเปอร์สตอร์มหรือพายุใหญ่พาคลื่นยักษ์จากฝั่งมหาสมุทรแล้วกวาดบ้านช่องสิ่งของและผู้คนลงทะเลจะแก้ปัญหาอย่างไร

แนวคิดในการป้องกันน้ำท่วมขนาดใหญ่นี้มีแนวคิดใหม่ว่าให้น้ำท่วมเข้ามาเลยแล้วอยู่กับมัน เสียเงินจำนวนมหาศาลสร้างกำแพงป้องกันน้ำขนาดใหญ่พัดผ่าน ยิ่งน้ำมาขนาดใหญ่ก็ยิ่งสร้างกำแพงยักษ์ใหญ่สู้กับกระแสน้ำตามแบบเดิมนั้น นักวิทยาศาสตร์ด้านการผุกร่อนของชายฝั่งทะเล นักสถาปัตยกรรม และนักวางผังเมือง บอกถ้าแบบนี้สู้ไม่ไหวสู้ออกแบบผังเมืองและบ้านเมืองใหม่สำหรับกรุงนิวยอร์กเพื่อให้มีทางน้ำไหลผ่านแล้วอยู่กับมันจะดีกว่า ถ้าหากท่านผู้อ่านซึ่งผ่านประสบการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ มาแล้ว คงจำพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เหมือนกันไหม เราเกิดก่อนมีแนวความคิดมาก่อน ฝรั่งเพิ่งจะเริ่มคิดได้ว่าต้องคิดในมุมกลับและแนวคิดนี้ก็ได้รับความชื่นชมว่าจะเป็นแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น

ในช่วงที่พายุยักษ์ที่เรียกว่าซูเปอร์สตอร์มที่ชื่อว่าแซนดี้เข้ากระหน่ำชายฝั่งนิวเจอร์ซี่และนิวยอร์กในปี ค.ศ.2012 ก็มีเสียงสะท้อนจากประชาชนผู้เชี่ยวชาญนักคิดและนักวิทยาศาสตร์กันใหม่ว่า แทนที่จะสร้างกำแพงกันน้ำไม่ให้เข้ากระทบบริเวณผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในเมืองนิวยอร์กกับนิวเจอร์ซี่ยิ่งสู้ยิ่งแพ้ น้ำมักจะทะลุกำแพงจนกำแพงแตกและพังทลาย และน้ำก็จะท่วมบริเวณที่อยู่อาศัยอยู่ดี นักวางแผนด้านผังเมือง มีความกล้าที่จะคิดแตกต่างไปเลย แทนที่จะทำกำแพงกั้นน้ำบริเวณชายฝั่งก็ออกแบบทางน้ำผ่านซะเลย ก็ถ้าคลื่นน้ำขนาดยักษ์เข้ามาก็ไม่ต้องฝืนให้น้ำเข้ามาช่องทางน้ำที่เตรียมไว้ และหลังจากน้ำหยุดเข้าท่วมพักหนึ่ง ก็จะถูกระบายลงทะเลตามช่องทางที่เตรียมไว้สู่ทะเลน้ำขังไม่นาน คือถ้าออกแบบอย่างนี้และออกแบบสถาปัตยกรรมกรุงนิวยอร์กและเมืองนิวเจอร์ซี่ใหม่เพื่ออยู่กับน้ำชั่วคราวและมีช่องระบายน้ำดีก็ไม่น่าตกใจอะไร แถมอยู่ได้ยั่งยืนกว่าและจัดการเพื่อให้ความสูญเสียจากน้ำท่วมให้น้อยลดลงได้ง่าย

ทางคุณแซมมวล คาร์เตอร์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิร้อกกี้เฟลเลอร์ได้กล่าวว่า “ความท้าทายของพวกเราในอีกหลายทศวรรษข้างหน้าก็คือเราจะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำได้อย่างไร แทนที่จะไปต่อสู้กับน้ำซึ่งเป็นภัยธรรมชาติ” ซึ่งโครงการของมูลนิธินั้นจะช่วยเหลือการคิดประดิษฐ์ทางน้ำใหม่บริเวณชายฝั่งนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี่ ย้ำอีกครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยนี่แหละที่มีพระราชดำรัสก่อนหน้าเกี่ยวกับทฤษฎี การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของไทยซึ่งที่เขียนมานี้ความคิดเปลี่ยนแปลงโลกของสหรัฐอเมริกาก็คงเป็นแค่ส่วนหนึ่งในทฤษฎีการแก้ไขน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management) หาอ่านได้จากกูเกิลภาษาไทยโครงการใหม่จากแนวคิดนี้เรียกว่า สร้างใหม่ด้วยการออกแบบหรือ Rebuild by Design ซึ่งก็ได้ดึงวิศวกร สถาปนิกและผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาคิดค้นหานวัตกรรมใหม่ขนาดใหญ่เพื่อลดน้ำท่วมและปกป้องชายฝั่งทะเล

ความคิดเหล่านี้ เช่นการสร้างแนวป้องกันด้วยการสร้างแนวการแยกสายน้ำจากทะเลสู่ท่าเรือนิวยอร์ก เพื่อลดแรงกระแทกจากคลื่นน้ำขนาดยักษ์ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถให้แนวปะการังและประชากรหอยทั้งหลายอยู่ได้ตามธรรมชาติของมัน อีกตัวอย่างคือการสร้างถนนและทางเท้าที่สามารถดูดซับน้ำขนาดใหญ่เมื่อคลื่นน้ำยักษ์เข้ามาได้ และหลังจากพายุคลื่นยักษ์สงบน้ำก็ระบายออกลงทะเลได้รวดเร็ว อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือการขุดช่องท่อระบายน้ำตามแนวถนนเพื่อหันเหทิศทางกระแสน้ำที่เกิดจากพายุยักษ์ และการออกแบบตึกให้สามารถอยู่กับน้ำท่วมได้ แนวความคิดนี้ได้รับการเลือกว่าเป็นแนวคิดสุดยอดโดยรัฐมนตรี ว่าการพัฒนาเมืองใหญ่และบ้านที่อยู่อาศัยที่ชื่อ ฌอนโดโนแวน ของประธานาธิบดีโอบามา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเห็นด้วยกับแนวคิดนี้เพื่อตั้งกองทุน การลดผลกระทบจากพายุแซนดี้ และก็จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมจากพายุขนาดยักษ์ ซึ่งทางสหรัฐอเมริกาก็คาดว่าจะนำแนวคิดในการออกแบบสร้างกรุงนิวยอร์กและเมืองนิวเจอร์ซี่นี้ไปใช้ได้แพร่หลายทุกประเทศทั่วโลก

แนวคิดแรกนี้ทางซีเอ็นเอ็นของสหรัฐอเมริกาได้ยกให้เป็นแนวคิดที่สุดยอดอันดับแรกเพราะรัฐบาลกลางเอาด้วย ติดตามความคิดต่อมาอันดับสี่ คือโดรน (Drone) ในพฤหัสบดีหน้า.

รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
[email protected]



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.