เอนกนัดถกแนวทางปรองดอง8 ม.ค.
 


เอนกนัดถกแนวทางปรองดอง8 ม.ค.


เอนกนัดถกแนวทางปรองดอง8 ม.ค.
เมื่อวันที่ 2 ม.ค.นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์  สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง เปิดเผยว่า คณะทำงานได้นัดประชุมเป็นนัดแรก เพื่อพิจารณาถึงกรอบดำเนินงานในวันที่ 8 ม.ค. นี้  ทั้งนี้ยังไม่ได้กำหนดว่า เป้าหมายสุดท้ายของการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง จะเป็นการนิรโทษกรรมหรือไม่ อย่างไรก็ตามยอมรับว่า แนวทางการนิรโทษกรรมเป็นช่องทางหนึ่งในอีกหลายช่องทางที่จะนำไปสู่แนวทางการสร้างความปรองดองได้ ทั้งนี้หากจะพิจารณาเฉพาะการนิรโทษกรรม เท่าที่มีผลการศึกษาต้องคำนึงด้วยว่าการนิรโทษกรรมมีความจำเป็นและเร่งด่วนหรือไม่ หากมีความจำเป็นและเร่งด่วนสามารถเสนอเรื่องไปยังรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 44  นิรโทษกรรมกับบุคคลได้ อย่างไรก็ตามขณะนี้คณะทำงานศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ ในประเด็น

ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน สปช.ในฐานะคณะทำงานศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง กล่าวด้วยว่าสำหรับแนวทางการทำงานเชื่อว่า จะไม่ซ้ำซ้อนกับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปที่ได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวมาก่อน โดยสาระสำคัญของการทำงานในคณะทำงานฯ เพื่อต้องการเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายจากปัญหาทางการเมืองรอบที่ผ่านมา ได้เสนอแนวความเห็นและข้อเสนอต่อแนวทางออกจากสภาพความขัดแย้งและนำไปสู่การปรองดองจากกลุ่มประชาชนที่แท้จริง โดยที่ผ่านมายังไม่มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการชุดใดทำเรื่องนี้มาก่อน  เบื้องต้นเชื่อว่าการเสนอแนวทางสร้างความปรองดองจากกลุ่มประชาชนจะมีความยั่งยืน

 “ช่วง 2548 – 2557 มีประชาชนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมือง จำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และ กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  (กปปส. )  ดังนั้นที่ต้องพิจารณาคือ การรับฟังความเห็นของทุกกลุ่ม” นายไพบูลย์ กล่าว.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.