เดินหน้าปล่อย"จรเข้"ลงน้ำโดม
 


เดินหน้าปล่อย"จรเข้"ลงน้ำโดม


เดินหน้าปล่อย
จากกรณีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ได้จัดโครงการปล่อยจรเข้คืนถิ่น แต่ยังเกิดปัญหาเกี่ยวกับความพร้อม ที่จะต้องเร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน หลังเกิดกระแสการคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปล่อยจรเข้ยักษ์ลงลำน้ำโดม เพราะหวั่นเกรงอันตราย หากหลุดลงมาในล้ำน้ำที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวมาแล้วนั้น

ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณหน่วยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมบ้านหนองขอน ยังคงมีชาวบ้านเดินทางมาดูจรเข้ขนาดยักษ์ จำนวน 10 ตัว ในบ่อปูนซีเมนต์ พร้อมกับวิพากษ์วิจารณ์กันไปในกว้างถึงความไม่ปลอดภัยหากจรเข้ดังกล่าว เกิดหลุดลอดเข้าไปอยู่ในแหล่งน้ำของชุมชนในพื้นที่พักอาศัย

โดยชาวบ้าน บ้านหนองขอน,บ้านแข้ด่อนและอีกหลายหมู่บ้านยังคงไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว พร้อมระบุด้วยว่า ไม่ขอเชื่อว่าทางเจ้าหน้าที่จะสามารถควบคุมจรเข้ ไม่ให้หลุดมาก่อความเดือดร้อนแก่ราษฎรในพื้นที่ลุ่มต่ำได้ เนื่องจากลำโดมเป็นแหล่งน้ำที่มีพื้นที่กว้างหลายอำเภอ ก่อนไหนลงสู่แม่น้ำมูล นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านอีกหลายรายระบุด้วยว่า ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนจนกระทั่ง กำนันผู้ใหญ่บ้านประกาศให้ทราบ ทั้งยังระบุอีกว่า มีการประชาคมส่วนราชการแล้ว ยิ่งทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจเตรียมเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

ด้าน นายปราโมทย์ราตรีนักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษเลขานุการคณะกรรมการที่ปรึกษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม อ.น้ำยืน กล่าวว่า โครงการ "ปล่อยจรเข้คืนถิ่น" เริ่มมาตั้งแต่เดือน 2 เม.ย. 2557 ในการศึกษาสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ มีการประชาคมหมู่บ้านที่จะปล่อยเช่น บริเวณวังฮี ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมอยู่เหนือวังมนที่ตั้งนารายณ์บรรทมสิน ขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตรห่างชายแดนไทย-กัมพูชาประมาณ 10 กิโลเมตร

นายปราโมทย์กล่าวอีกว่า จากการสำรวจและติดตามพบว่า ต้นน้ำลำโดม บริเวณวังป้าอ้อยาว มีจรเข้ธรรมชาติอยู่ไม่น้อยกว่า 3 ตัว ตามที่พบร่องรอยและการปล่อยจรเข้คืนถิ่น จึงไม่น่ามีผลกระทบ และโดยธรรมชาติของจรเข้จะเป็นสัตว์ที่อยู่ที่ไหนจะไม่เคลื่อนย้ายอยู่วังไหนก็จะอยู่ที่นั่น และจะขึ้นฝั่งเพื่อวางไข่ประมาณ 20-30 เมตร เท่านั้น ทั้งนี้จรเข้ทุกตัวที่ปล่อย จะติดวิทยุ Tracking Radio ส่งสัญญานในระยะกว่า 25 กม. เพื่อติดตามตัวจรเข้ และมีการตั้งหน่วยติดตามที่บริเวณวังป่าอ้อยาว และวังห้วยดินดำ ซึ่งถือเป็นด่านสกัด และต่ำลงมายังมีวังน้ำอีกกว่า 8 วัง ดังนั้นการที่จรเข้จะหลุดลงมาจึงเป็นไปไม่ได้ หรือถ้าหลุดลงมาได้ก็อนุญาตให้จัดการ ขั้นเด็ดขาดได้ทันทีเพราะถือเป็นการป้องกันตัว..



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.