อีกประโยชน์..จากเปลือกมังคุด แผ่นปิดแผลช่วยผู้ป่วยไฟไหม้
 


อีกประโยชน์..จากเปลือกมังคุด แผ่นปิดแผลช่วยผู้ป่วยไฟไหม้


อีกประโยชน์..จากเปลือกมังคุด แผ่นปิดแผลช่วยผู้ป่วยไฟไหม้

เปลือกมังคุดขยะเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตเครื่องดื่มเป็นภาระต้องเสียเงินค่ากำจัดทิ้ง และวิธีกำจัดขยะที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุด... ไม่มีอะไรดีไปกว่าทำขยะให้มีค่ามีราคา

“ในเปลือกมังคุดจะมีสาร แซนโทน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคบางชนิด ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการอักเสบ ลดการเกิดหลอดเลือดในกรณีของการรักษาเนื้องอก อย่างที่ก่อนหน้านี้เคยผลิตหน้ากากอนามัยเจิร์มการ์ด (Germ-Guard) ใช้ปิดปากจมูกฆ่าเชื้อ-ป้องกันการกระจายของเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะวัณโรค ที่แพร่เชื้อจากการไอ จาม เป็นผลสำเร็จมาแล้ว

แต่ถ้าต้องการให้ได้สารแซนโทนที่ประสิทธิภาพสูงสุด ต้องสกัดเพื่อให้มีความเข้มข้นในปริมาณที่แน่นอน ทางทีมวิจัยของสถาบันจึงพัฒนาต่อยอดทำผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แบบอื่นๆ”

พิชญ์ ศุภผล นักวิจัยวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ทางทีมงานจึงนำเปลือกมังคุดมาสกัดทำเป็นแผ่นปิดแผลสำหรับผู้ป่วยไฟไหม้ ที่ต้องการความสะอาดลดการติดเชื้อขั้นสูง เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศที่ราคามีแต่จะแพงขึ้นตลอด

ส่วนกระบวนการสกัดเพื่อให้ได้สารแซนโทนเข้มข้น พงศ์พล เอกบุตร นักศึกษาปริญญาเอก หนึ่งในทีมวิจัย อธิบายว่า เปลือกมังคุดตากแห้ง 150-200 กก. มาผ่านการสกัดด้วยน้ำ 7 วัน จะได้ผง “แซนโทน” ลักษณะสีเหลืองคล้ายขมิ้น 1 กก.

จากนั้นนำผงแซนโทนทำเป็นแผ่นเจิร์มการ์ด (Germ-Guard) หรือแผ่นรักษาแผล ปลาสเตอร์ยา ผ้ากอซ ทดสอบในสัตว์ทดลอง กลุ่มอาสาสมัคร

และเพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน ทีมวิจัยจึงร่วมกับโรงพยาบาลนพรัตน์ และโรงพยาบาลศิริราช เอาไปทดสอบใช้ในกลุ่มผู้ป่วยแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลติดเชื้อ แผ่นรักษาแผลเจิร์มการ์ดนอกจากช่วยลดการอักเสบ เมื่อลอกเปลี่ยนแผ่นปิดแผล+ผ้ากอซ ผิวเนื้อผู้ป่วยจะไม่ติดมากับผ้า ยังทำให้แผลแห้งหายเร็ว ไม่เกิดอาการแพ้เพราะสารสกัดทำมาจากธรรมชาติ ไม่เหมือนกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ผ้ากอซที่สั่งนำเข้าจากต่างประเทศ ที่เปลี่ยนผ้าทำแผล เนื้อตายจะติดมากับผ้า ทำให้ผู้ป่วยทรมานแผลหายช้า

คุณภาพไม่เพียงจะสู้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้แล้ว ล่าสุดยังได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2557 ชนะเลิศอันดับ 1 ของประเทศด้านสังคม และเป็น 1 ใน 120 ผลงานที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คัดเลือกให้เข้าประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ในปี 2558.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.