ส่องชีวิตนอกสนาม (การเมือง) จาก "ผู้เล่น" กลายเป็น "คนดู"
 


ส่องชีวิตนอกสนาม (การเมือง) จาก "ผู้เล่น" กลายเป็น "คนดู"


ส่องชีวิตนอกสนาม (การเมือง) จาก

เมื่อ คนที่เคยสวมบท "ผู้เล่น" ยืนโดดเด่นอยู่กลางสนาม ถูกสั่งให้ไปนั่งพัก กลายเป็นแค่ "ผู้ชม" เฝ้ามองสถานการณ์การเมืองบนอัฒจันทร์แต่ในวันที่ "ผู้ชม" ได้กลับมาสวมเสื้อแข่งลงสนามในฐานะ "ผู้เล่น" อีกครั้ง หากสนามนี้ไม่ใช่สนามการเมืองเหมือนที่เคยคุ้น แต่เป็นสนามฟุตบอล ในการแข่งขันนัดกระชับมิตรระหว่างสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย กับทีมธนาคารอาคารสงเคราะห์ทีมสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย มีลูกทีมเป็น "ลูกความ" ที่ต้องคดีการเมือง ในช่วงที่สวมเสื้อสีแดงเป็นผู้นำมวลชน และสวมเสื้อคลุมสมาชิกพรรคเพื่อไทยทำให้บุคคลที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้...

ได้ กลับมาสู่สนามอีกครั้งวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี โดยมี "ร.ท.หญิงสุนิสา เลิศภควัต" อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ประสานงานฝ่ายลูกความ-พรรคเพื่อไทย

ทว่า..ชีวิตนอกสนาม หลังออกจากค่ายทหารหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจ และถูกสั่งให้งดกิจกรรมทางการเมือง ชีวิตแต่ละคนก็อยู่ว่างยิ่งกว่าว่าง เพราะ "ตกงาน" บ้างหันกลับไปดูธุรกิจส่วนตัว บ้างใช้เงินเก็บที่อยู่ในตำแหน่งการเมืองกิน-ใช้ไปพลาง ๆ

ดังเช่นของ 2 แกนนำ นปช.ณัฐวุฒิ-จตุพร "จตุพร" บอกว่า วันนี้ขอเป็นผู้ชม และนั่งดูผู้เล่นในสนามแสดงบทบาทเพียงอย่างเดียว "วงจรชีวิตก็ธรรมดา ไปออกกำลังกายเตะฟุตบอล ซอยมัยลาภ ย่านรามอินทรา อาทิตย์ละ 2 วัน คือวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี หรือออกไปทำบุญบ้าง"ในช่วงที่การเมืองกำลังเดือด "จตุพร" มีบอดี้การ์ดล้อมหน้าล้อมหลัง โจทย์-ศัตรูการเมืองมีทั่วทุกทิศ แต่วันนี้เขาบอกว่า ดูทีวีก็ดูอย่างมีความสุข

"ในฐานะผู้พักก็ไม่มีความเหนื่อยยาก แบกภาระใด ๆ เพราะเราไม่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบอะไร"

ด้านซุปตาร์การเมืองอย่าง "ณัฐวุฒิ" ที่เพิ่งสลัดอาการเจ็บหลัง ต้องพักยาวกว่า 2 เดือน ไม่ขอสนทนาการเมืองเด็ดขาด เพราะไม่ใช่เวลาของนักการเมือง แต่เมื่อถามถึงชีวิตนอกสนามการเมือง เขาตอบว่า อยู่บ้าน นั่ง ๆ นอน ๆ พักผ่อนกับครอบครัว และยังไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพราะไม่เคยมีเวลาว่างแบบนี้มานานแล้ว แตกต่างจาก "พงศ์เทพ" ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน ที่เขามีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 3,014,921,942.86 บาท แม้ตัวเขาว่างจากการเมือง แต่ก็ไม่ได้ว่างงาน เพราะผันตัวกลับไปเป็นผู้จัดการมรดกของตระกูล "เทพกาญจนา" เหมือนที่เคยทำตอนที่ยังถูกตัดสิทธิ์การเมืองอยู่ในบ้านเลขที่ 111

"ก็ กลับไปดูแลมรดกของคุณพ่อ ใช้หนี้คุณแม่และพี่สาว เป็นช่วงที่ได้ทำหน้าที่ลูกได้คุ้มค่า เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีเวลาทำ" ก่อนการรัฐประหาร "พงศ์เทพ" ที่เคยเป็นมือกฎหมายข้างกาย "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ร่างโรดแมปปฏิรูปของรัฐบาลแข่งกับ กปปส.ของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ"

เมื่อ วันนี้ คสช.เชิญชวนให้คนการเมืองมาลงแขกปฏิรูป แต่พรรคเพื่อไทยต้นสังกัดของ "พงศ์เทพ" ปฏิเสธเข้าร่วมวง หากสุดท้ายแล้ว การปฏิรูปไม่ถูกอกถูกใจนักการเมือง อย่างพรรคเพื่อไทย ถ้ากลับคืนสู่อำนาจจะมารื้อปฏิรูปของ คสช.หรือไม่

"พงศ์เทพ" ตอบแบบไม่ต้องคิดนานว่า "ผมเคยทำปฏิรูปตอนปี 2540 แต่งานนี้ต่างกัน เพราะผมเคยแต่ทำปฏิรูปในระบอบประชาธิปไตย แต่การเป็นพรรคการเมืองที่มาจากประชาชน ไม่ใช่พรรคการเมืองที่จะทำอะไรตามใจชอบ ถ้าสิ่งไหนไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน ไม่ถูกต้อง เป็นผลเสีย ถ้าประชาชนอยากให้เราแก้ เราก็ต้องแก้ เพราะเป็นประโยชน์ของประชาชน"ขณะที่ "หน้าไมค์" ในรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" อย่าง "หมวดเจี๊ยบ"-ร.ท.สุนิสา ที่เคย ปะ ฉะ ดะ ตอบโต้การเมืองแทนนายกฯหญิง ในช่วงที่พรรคเพื่อไทยครองอำนาจสูงสุด แต่ยามที่อำนาจอัสดง เธอซุ่มเตรียมตัวไปเรียนปริญญาโทใบที่ 2 ที่ประเทศอังกฤษ ณ เมืองลีดส์ เธอบอกว่าสาขาที่เธอเรียนจะได้ไปฝึกงานที่รัฐสภาของอังกฤษ เก็บประสบการณ์มาใช้ในวันที่ได้ลงสู่สนามอีกครั้งในอดีต "หมวดเจี๊ยบ" ได้มีตัวตนแจ้งเกิดในแวดวงการเมือง เมื่อเขียนหนังสือ "ทักษิณ Where are you ?" และ "ทักษิณ Are you OK ?" ช่วงการรัฐประหาร 2549 ขณะที่ยังรับราชการทหารอยู่จนกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ กระทั่งลาออกจากราชการมาเป็นนักการเมืองของพรรคเพื่อไทยครั้งนี้เธอ บอกว่ากำลังเรียบเรียงข้อมูลระหว่างการทำหน้าที่ "หน้าไมค์" ทำเนียบรัฐบาล มาเขียนเป็นหนังสือ แต่จะใช้ชื่ออะไรนั้น... ยังขออุบไว้ก่อน

เป็นชีวิตของคนการเมืองเพียงเสี้ยวหนึ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้เล่นในสนาม แต่วันนี้กลายมาเป็นแค่คนดู




ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat




// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.