ไฟฟ้าลัดวงจร ภัยเงียบในบ้าน เช็ค"นอต-สายไฟ-แอมป์"ตวามปลอดภัยที่คุณคาดไม่ถึง!
 


ไฟฟ้าลัดวงจร ภัยเงียบในบ้าน เช็ค"นอต-สายไฟ-แอมป์"ตวามปลอดภัยที่คุณคาดไม่ถึง!


 ไฟฟ้าลัดวงจร ภัยเงียบในบ้าน เช็ค

ไฟฟ้าลัดวงจร ภัยเงียบในบ้าน
คอลัมน์ ฟรีสไตล์เรื่องบ้าน-บาน

โดย มิสทับทิม [email protected]




ไม่ใช่แฟชั่น แต่ก็เหมือนเป็นแฟชั่น เพราะเกิดบ่อยๆ เกิดซ้ำซากสำหรับ "อัคคีภัย"

หลายๆ ครั้งเราจะได้ยินว่าสาเหตุอัคคีภัยหรือไฟไหม้ สันนิษฐานว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร เอ๊ะ มันยังไงกัน

สถิติครัวเรือนที่ใช้ไฟ (ดูจากการแจกคูปองดิจิตอล) บอกว่ามีประมาณ 22 ล้านครัวเรือน ปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรจึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป

มี คนให้คำอธิบาย "ไฟฟ้าลัดวงจร" ฉบับชาวบ้านว่า การเดินสายไฟฟ้าในบ้านจะมี 2 เส้น โดยเส้นหนึ่งมีไฟ อีกเส้นหนึ่งไม่มีไฟ การทำงานคือเส้นที่มีไฟต้องวิ่งเข้าไปที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อน แล้ววิ่งกลับออกมาทางเส้นที่ไม่มีไฟ

ถ้าทำงานได้ครบรอบอย่างนี้ เรียกว่า "ครบวงจร"

แต่ถ้าฉนวนหุ้มของสายไฟเส้นนั้นเกิดชำรุด ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งตัดตรงไปเส้นที่ไม่มีไฟได้โดยไม่ต้องวิ่งไปที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อน



ถ้าทำงานลัดขั้นตอนแบบนี้ เรียกว่า "ลัดวงจร"

พอ ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ภัยเงียบที่ซ่อนตัวอยู่ในบ้านก็จะไม่เงียบอีกต่อไป โดยที่ไฟฟ้าลัดวงจรจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นสูงมาก กลายเป็นไฟลุก และพัฒนาเป็นไฟไหม้ได้เลย

เพราะฉะนั้น สาเหตุที่ไฟฟ้าลัดวงจรจึงมีมากมาย แต่ฟันธงได้เลยว่าต้นทางเกิดจาก "น้ำมือมนุษย์" หรือ human error นี่แหละ ไม่ใช่สิ่งที่ควบคุมไม่ได้แต่อย่างใด

วิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรข้อมูลสำหรับเป็นคู่มือเจ้าของบ้านโดยเฉพาะมีดังนี้ค่ะ

1.ตรวจตู้ควบคุมไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ


2.หยิบไขควงมาขันนอตที่ยึดสายไฟภายในตู้ทุกปี ขอย้ำว่าให้ทำเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างความมั่นใจว่านอตขันแน่นถูกที่ถูกทาง

3.อายุสายไฟตามบ้าน ปกติเฉลี่ย 15-20 ปี และสายไฟนอกบ้านจะต่ำกว่า 10 ปี ข้อแนะนำคือควรจะต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน (ปัญหาคือถ้าไม่เห็นสายไฟไหม้ต่อหน้าต่อตา พี่ไทยก็ไม่ค่อยจะเปลี่ยนทดแทน ถึงขนาดว่าบ้านบางหลังใช้สายไฟเดิมนานถึง 30-40 ปีก็มี เฮ้อ...)

อีก 2 ข้อที่เหลือ เจ้าของบ้านอาจจะต้องปรึกษาหรือใช้บริการมืออาชีพด้านระบบไฟฟ้า ได้แก่

4.สำรวจว่าโหลดการใช้ไฟฟ้ากินไฟกี่แอมป์ ใช้สายไฟฟ้าเบอร์อะไรอยู่ เบรกเกอร์หรือตัวตัดไฟขนาดกี่แอมป์ ควรปรึกษาช่างและทำตามให้ได้มาตรฐาน

5.แนะนำให้ลงทุนเปลี่ยนจากระบบสะพานไฟรุ่นเก่า ให้มาเป็นระบบเบรกเกอร์ เพราะว่าสาเหตุหลักที่เกิดเพลิงไหม้หรือไฟไหม้บ้าน มักจะพบว่าปัญหาเกิดจากแผงควบคุมไฟฟ้าในบ้านเป็นหลัก

สำหรับเจ้าของ บ้าน ถ้าลองสำรวจและพบสัญญาณบ้างกลิ่นตุๆ บ้างแล้ว แต่ยังไม่มีงบประมาณเปลี่ยน ข้อแนะนำคือให้หมั่นตรวจสอบใกล้ชิดยิ่งขึ้นมาว่ามีสายไฟเส้นไหน บริเวณใดที่มีอาการผิดปกติบ้างหรือไม่

ที่สำคัญ พยายามไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะโดยไม่จำเป็น เพราะสถิติ 90% ไฟฟ้าลัดวงจร มีสาเหตุจากการใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่าขนาดสายไฟที่จะรับได้

ถนอมใช้-บำรุงรักษาให้เป็น ปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรก็จะกลายเป็นเรื่องไกลตัวค่ะ




มติชนรายวัน
วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2557 ปีที่ 37 ฉบับที่ 13327


// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.