ใช้สัญญาณไฟรถให้ถูกต้อง เปิดผิดนิดเดียว อาจเสียวไปจนตาย!
 


ใช้สัญญาณไฟรถให้ถูกต้อง เปิดผิดนิดเดียว อาจเสียวไปจนตาย!


 ใช้สัญญาณไฟรถให้ถูกต้อง เปิดผิดนิดเดียว อาจเสียวไปจนตาย!

ใช้สัญญาณไฟรถให้ถูกต้อง
คอลัมน์ คาร์ทิปส์

http://www.matichon.co.th/online/2014/09/14100092311410009259l.jpg

ไฟฉุกเฉิน
ตาม พ.ร.บ.จราจร นั้นให้ใช้ในกรณีที่รถเสียจอดหยุดนิ่งเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติ อนุโลมใช้กันในบางกรณีที่เหมาะสม อย่างเช่นการจอดรถ เพื่อให้รถคันหลังทราบ, การเบรกกรณีฉุกเฉิน, รถขับนำขบวนหรือปิดท้าย ก็สามารถใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแทรกขบวน

แต่หลายคนมักใช้ผิด อาจก่อเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น เวลาฝนตกหนักมักเปิดไฟฉุกเฉิน แต่เมื่อต้องการเปลี่ยนเลน หรือเลี้ยว จะทำให้รถด้านคันด้านหลังเกิดความสับสน และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ


หรือการผ่านทาง 4 แยก ไม่มีไฟแดง ผู้ขับต้องการจะตรงไป หลายคนเลือกเปิดไฟฉุกเฉิน จะทำให้ผู้ที่อยู่ทางขวามือของคุณ คิดว่าคุณจะเลี้ยวขวา และผู้ที่อยู่ทางซ้ายมือของคุณก็คิดว่าคุณจะเลี้ยวซ้าย อาจเกิดอุบัติเหตุได้

ไม่ยอมเปิดไฟเลี้ยว ขณะเปลี่ยนเลน หรือเลี้ยวรถ
ตามกฎหมายระบุว่า จะต้องเปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าก่อนถึงทางเลี้ยว 30 เมตร เป็นอย่างน้อย แต่ในทางปฏิบัติควรเปิดไฟเลี้ยวแต่เนิ่นๆ เพื่อให้รถคันที่ตามมาทราบ และไม่ขับชิดติดจนเกินไป สำหรับการเปลี่ยนเลน โดยเปิดไฟเลี้ยวพร้อมกับหักพวงมาลัยเปลี่ยนเลนทันที จะทำให้ผู้ที่อยู่ด้านหลังไม่สามารถรับรู้ล่วงหน้าก่อนที่คุณจะหักเลี้ยว

การใช้ไฟตัดหมอก

หลายคนยังใช้ไม่เป็นทั้งที่พูดกันอย่างกว้างขวางก็ตาม มักจะชอบเปิดไฟตัดหมอกและเปิดไฟหน้ารถไปพร้อมกัน ทั้งที่ ไฟตัดหมอกควรเปิดในกรณีที่สภาวะแวดล้อมไม่ดีทำให้วิสัยทัศน์ในการขับขี่แย่ เช่น กรณีหมอกลง หรือฝนตกอย่างหนักจนมองไม่เห็นทางข้างหน้า โดยเฉพาะไฟตัดหมอกหลัง หลายคนมักเปิดไฟตัดหมอกหลังในยามกลางคืนที่ไม่มีเหตุการณ์จำเป็นต่อการเปิด จะแยงตาผู้ขับตามหลัง หรือมองไกลๆ อาจทำให้เกิดความสับสน นึกว่าเป็นไฟเบรกได้

ไฟพาส (Pass) หรือไฟให้ทาง
ชื่อเป็นสากล คำว่า Pass หมายถึงการให้ผ่าน แต่ คนไทยเรียกว่า "ต๊อบไฟ" ใส่ผู้ที่กำลังจะข้ามถนน หรือรถคันที่จะเลี้ยวเข้ามา เพื่อแสดงว่า ไม่ให้ไป เป็นอันรู้กันสำหรับคนไทย แต่หากเจอชาวต่างชาติที่เข้าใจตามหลักสากล อาจเกิดการเข้าใจผิดจนเกิดอุบัติเหตุได้ จึงควรระมัดระวังกับการใช้สัญญาณไฟ pass ด้วย



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.