ธปท.ช่วยลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อ ลบบันทึกข้อมูลเครดิตหลัง 8 ปี
 


ธปท.ช่วยลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อ ลบบันทึกข้อมูลเครดิตหลัง 8 ปี


 ธปท.ช่วยลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อ ลบบันทึกข้อมูลเครดิตหลัง 8 ปี

นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต (กคค.) มีความเห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งข้อมูลของสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) 


โดยกำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน (ลูกหนี้เอ็นพีแอลเป็นระยะเวลา ปี และให้ NCB แสดงข้อมูลลูกหนี้ ต่อไปอีก ปี รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ปรากฏในฐานข้อมูลของ NCB ทั้งสิ้น ปี แล้วประวัติของลูกหนี้ดังกล่าวจะถูกลบออกจากระบบ ช่วยให้ลูกหนี้สามารถเข้าถึงระบบการเงิน แทนหลักเกณฑ์ปัจจุบันที่กำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้ดังกล่าวจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นโดยไม่มีกำหนดเวลา


“การปรับหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งและจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรม และลดอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้รายย่อย ซึ่งมียอดคงค้างชำระไม่มากนัก ในขณะเดียวกันจะยังคงเป็นประโยชน์ให้สมาชิก NCB มีข้อมูล และระยะเวลาเพียงพอสำหรับการพิจารณาพฤติกรรมการชาระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลของลูกหนี้รายย่อยถูกลบออกจากระบบประมาณ แสนราย โดยจำนวนดังกล่าวเป็นลูกหนี้รายย่อย 95% และอีก 5% เป็นลูกหนี้ประเภทนิติบุคคล การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในทางอ้อม และเปิดโอกาสให้สหกรณ์เข้ามาในเครดิตบูโรด้วย” นายรณดลกล่าว

 

นายรณดลกล่าวว่า กคค. ยังออกประกาศกำหนดให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภทจำนวน 8พันแห่ง หรือสมาชิก 11 ล้านคน เข้าเป็นสถาบันการเงินตาม มาตรา วรรค ใน พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 เพื่อให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ ทุกประเภทมีคุณสมบัติในการเข้าเป็นสมาชิก NCB ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับลูกหนี้ในการหาแหล่งเงินทุนจากสหกรณ์อื่นๆ


ทั้งนี้ มีรายชื่อสหกรณ์ที่สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิก NCB จำนวน แห่ง ดังนี้ 1) สหกรณ์สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม2) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น 3) สหกรณ์อิสลาม อิมบนูอัฟฟาน และ 4) สหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการที่สหกรณ์เข้าเป็นสมาชิก NCB จะเป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์ในการมีฐานข้อมูลสาหรับใช้ ประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น และสมาชิก NCB มีฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นสามารถประเมินความเสี่ยงของลูกหนี้เป็นจานวนมาก ส่งผลให้ผู้ที่ต้องการกู้เงินมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้มากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินโดยรวมการดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และออกประกาศข้างต้น จะมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา


// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.