ประวัติ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
 


ประวัติ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29


ประวัติ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือที่รู้จักกันในนาม บิ๊ก ตู่ ได้เดินทางเข้าสู่รั่วทหาร ที่ โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 และนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ “ทหารเสือราชินี” จากนั้นได้เติบโตในสายงาน เรื่อยมา

โดยดำรงตำแหน่งเสนาธิการ รองผู้บังคับการ จนไปถึงผู้บังคับการกรม จนได้ย้ายไปรับตำแหน่ง รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ หรือในนาม “บูรพาพยัคฆ์” และพัฒนาสายงานอย่างต่อเนื่องจนเป็น รองแม่ทัพภาคที่ 1

จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2553 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ได้มีกำหนดเกษียณอายุราชการ ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความสนิทสนมมากที่สุด ได้ขึ้นมารับตำแหน่ง เป็นผู้บัญชาการทหารบก ต่อจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา

ตลอดระยะการทำงาน ผู้บัญชาการทหารบกได้ผ่านเหตุการณ์การชุมนุทางการเมืองมากมาย จนกระทั่งการชุมนุมของ กปปส. นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่มีการชุมนุมยืดเยื้อยาวนานมากว่า 6 เดือน ได้มีการเรียกร้องให้ทหารแสดงจุดยื่น แต่ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้แสดงจุดยื่นและ หน้าที่ของทหารอย่างเป็นกลาง

จนกระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ ได้แถลงการณ์ 7 ข้อ ระบุถึงสถานการณ์ที่มีแนวโน้มการเกิดจลาจล ทำให้ทหารต้องออกมาระงับอย่างเต็มรูปแบบ และได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ทั่วราชอาณาจักร เพื่อรักษาความสงบ

และจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ขึ้นมาดูแลสถานการณ์ เพื่อเป็นตัวกลางในการนำผู้ขัดแย้งมาหาทางออกให้กับประเทศ แต่สุดท้ายก็หาข้อสรุปไม่ได้

ทำให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศยึดอำนาจจัดตั้งคสช.เพื่อบริหารประเทศ จากนั้นได้มีการกำหนดแผนโรดแมป 3 ขั้นและให้มีการจัดตั้ง สนช.เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีเพื่อบริหารประเทศ

จนในที่สุด วันที่ 21 ส.ค. สภานิติบัญญัติ หรือ สนช.ได้มีมติเอกฉันท์เลือก พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย




// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.