นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เสนอยุบศาลรัฐธรรมนูญ
 


นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เสนอยุบศาลรัฐธรรมนูญ


นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เสนอยุบศาลรัฐธรรมนูญ

นายณวัฒน์ ศรีปัดถา และ น.ส.ชมพูนุท ตั้งถาวร นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ได้นำเสนอข้อมูลที่สถาบันพระปกเกล้ารวบรวมจากบทความวิชาการ เวทีเสวนา ตลอดจนสื่อต่างๆ แต่ไม่ใช่ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าเอง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดดุลอำนาจของสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ ระบบรัฐสภาไทย ประเด็นเรื่องขอบเขตอำนาจ หน้าที่ขององค์กรนั้นๆ และได้นำข้อเสนอมาจัดกลุ่มและวิเคราะห์ผลดีผลเสียเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอการ ปฏิรูป โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า ดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่มีปัญหาคือรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ได้ห้าม ส.ส.เป็นรัฐมนตรี เท่ากับถ้าหาก ส.ส.ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ก็จะยังดำรงตำแหน่ง ส.ส.ได้ จึงมีข้อเสนอว่าเมื่อ ส.ส.ได้รับการแต่งเป็นรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ซึ่งจะมีข้อดีในแง่ทำให้ไม่เกิดผลประโยชน์ขัดกันและสร้างความมีเสถียรภาพให้ รัฐบาล แต่ข้อเสีย คือ อาจทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจต่อรองมาก เนื่องจากถ้านายกรัฐมนตรีปลดรัฐมนตรีออกแล้ว ก็จะหลุดจากตำแหน่ง ส.ส.ไป


นัก วิชาการสถาบันพระปกเกล้ากล่าวอีกว่า รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้รัฐสภาเป็นผู้เลือกนายรัฐมนตรี โดยต้องเลือกจากผู้ที่เป็น ส.ส. ทำให้ฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรีและเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาเป็นพวกเดียวกัน ไม่สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้อย่างแท้จริงในทางปฏิบัติ โดยมีการเสนอว่าให้ลดทอนความสัมพันธ์ระหว่างนายกและรัฐสภาที่กำหนดให้นายกมา จากการเลือกตั้งโดยตรง ซึ่งข้อดีคือนายกและเสียงส่วนใหญ่ในสภาอาจไม่ใช่พวกเดียวกันและทำให้ได้ฝ่าย บริหารที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง ส่วนข้อเสียจะทำให้ระบบรัฐสภาซึ่งประมุขของรัฐกับประมุขของฝ่ายบริหารเป็นคน ละคน การเลือกตั้งนายกฯ ที่เป็นประมุขฝ่ายบริหารโดยตรงอาจทำให้เกิดการนำฐานเสียงประชาชนไปตั้งคำถาม กับความขอบธรรมประมุขของรัฐได้ อีกทั้งหากนายกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงนั้น นายกฯ ย่อมอ้างได้ว่าตนเป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง อาจทำให้รัฐสภาหมดความชอบธรรมที่จะตรวจสอบฝ่ายบริหารทันที


ส่วน ดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการโดยจะเน้นไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญมักถูกมองว่าใช้อำนาจกระทบฝ่ายบริหาร นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้ากล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหลัก คือ ควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย ทั้งนี้การใช้อำนาจในการวินิจฉัยในหลายคดีของศาลรัฐธรรมนูญมักถูกมองว่าก้าว ล่วงการใช้อำนาจในส่วนที่เป็นของรัฐสภา จึงมีข้อเสนอให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญและกลับไปใช้รูปแบบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ โดยมาจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี รวมทั้งตุลาการที่มาจากศาลปกครองและศาลฎีกา หรืออีกข้อเสนอหนึ่งคือต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญว่าเรื่องใดเป็น เรื่องความชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งให้องค์กรอย่างศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้ ส่วนเรื่องใดเป็นเรื่องการเมืองก็ให้องค์กรการเมืองเป็นผู้ตรวจสอบและ ถ่วงดุลกันเอง




// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.