ตรวจการบ้าน 1 เดือน คสช. ฟื้นวิกฤต เศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม
 


ตรวจการบ้าน 1 เดือน คสช. ฟื้นวิกฤต เศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม


ตรวจการบ้าน 1 เดือน คสช. ฟื้นวิกฤต เศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม

เป็นเวลา 1 เดือนเต็มที่ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำพลพรรคเข้าควบคุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน สะสางปัญหาประเทศที่หมักหมมไร้ทางออก ทั้งด้านเศรษฐกิจ-การเมืองมานานกว่าครึ่งปี

แค่เพียงเวลา 30 วัน คสช.ก็ออกสารพัดมาตรการ "คืนความสุข" ให้แก่ทุกชนชั้น ตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงเจ้าสัว

สะท้อนจากผลสำรวจความคิดเห็นจาก "ดุสิตโพล" ที่จัด 10 อันดับที่ประชาชนได้รับจาก คสช.อย่างเป็นรูปธรรม ปรากฏว่าอันดับ 1 การชุมนุมของฝ่ายต่าง ๆ ยุติ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข 93.09% อันดับ 2 สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ สามารถไปเรียนไปทำงานได้ 87.12% อันดับ 3 นโยบายลดค่าครองชีพ ชะลอการขึ้นราคาก๊าซและน้ำมัน 85.99% อันดับ 4 โครงการรับจำนำข้าว จ่ายเงินให้กับเกษตรกร 84.29% อันดับ 5 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ กระตุ้นการค้าการลงทุน 80.24%

อันดับ 6 การขจัดคอร์รัปชั่น เริ่มมีการตรวจสอบการทุจริตอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรมมากขึ้น 77.32% อันดับ 7 ความตั้งใจ ความมุ่งมั่นในการทำงานของ คสช.ที่ประกาศออกมาให้ทราบโดยทั่วกัน 73.53% อันดับ 8 ชีวิตปลอดภัยมากขึ้น ทหารดูแลอย่างดี 73.14% อันดับ 9 มีการปราบปรามโจร ผู้ร้าย ยาเสพติด และอาวุธเถื่อน 71.96% อันดับ 10 มอบของขวัญ คืนความสุขให้ประชาชน ดูฟุตบอลโลก ดูหนังพระนเรศวรฟรี และการจัดกิจกรรมคืนความสุขไปทุกจังหวัด 71.31%

ทำให้ คสช.เชื่อว่า ปรากฏแรงหนุนมากกว่าแรงต้าน "ประชาชาติธุรกิจ" จึงประมวลผลงานด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ของ คสช. ที่ประจักษ์ในรอบ 1 เดือน 

เริ่มจากด้านเศรษฐกิจ ภารกิจแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจเรื่อง "สำคัญ-เร่งด่วน" ถูกขับเคลื่อนสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจ่ายเงินชาวนาที่ติดค้างนโยบายรับจำนำข้าว มูลค่ารวมกว่า 9 หมื่นล้านบาท 

ต่อด้วย "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รองหัวหน้าและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ยังมีมติปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหน้าสถานีบริการน้ำมันปรับลดลง 14 สต.ต่อลิตร นอกจากนี้ยังมีมติคงราคาก๊าซหุงต้มครัวเรือน (แอลพีจี) ที่ราคา 22.63 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ต่อไป จนกว่าจะปรับโครงสร้างพลังงานทั้งหมด จากเดิมที่ต้องปรับขึ้นเดือนละ 50 สต.ต่อ กก. โดยการปรับโครงสร้างพลังงาน คสช.จะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน

ทำให้ต้องเก็บเงินผู้ใช้น้ำมันดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติม 56 สตางค์ (สต.) ต่อลิตร จากเดิมที่เรียกเก็บเพียง 25 สต.ต่อลิตร รวมเป็นเงินที่เรียกเก็บ 81 สต.ต่อลิตร ซึ่งปัจจุบันสถานะกองทุนน้ำมันฯติดลบอยู่ที่ประมาณ 7,500 ล้านบาท

ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือภาคเอกชนในการตรึงราคาสินค้าออกไป 6 เดือน นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังขยายเวลาการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7 เปอร์เซ็นต์ต่อไปอีก 1 ปี และขยายเวลาการลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20 เปอร์เซ็นต์ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่อัตราสูงสุด 35 เปอร์เซ็นต์

ส่วนคน "รากหญ้า" คสช.มีมติอนุมัติเงินงบฯกลางปีཱུ ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา-เกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติรวม 1.2 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ภาคเอกชนนั้น ภารกิจแรกของ คสช.คือ การกระตุ้นการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ทั้งประเทศ 290 เรื่อง มีวงเงินลงทุนรวม 136,000 ล้านบาท ภายใน 30 วัน 

ส่วนเรื่องการอัดฉีดเม็ดเงินทางด้านการลงทุนที่ "ค้างท่อ" กว่า 700 โครงการ มูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาท ในช่วง "รัฐบาลรักษาการ" นั้น "บิ๊กตู่" ประเดิมนั่งหัวโต๊ะในฐานะประธานบอร์ดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ด้วยการอนุมัติโครงการเพื่อส่งเสริมการลงทุน "ลอตแรก" จำนวน 18 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท

อีกหนึ่งปัญหาที่ คสช.ให้ความสำคัญระดับ "สำคัญเร่งด่วน" อันดับแรก คือ ปัญหาในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เห็นได้จากเพียงสัปดาห์แรกของการรัฐประหาร

การส่งสัญญาณของ "พล.อ.อ.ประจิน" ให้ประธานคณะกรรมการ-กรรมการ (บอร์ด) รัฐวิสาหกิจ จำนวน 56 หน่วยงาน "พิจารณาตัวเอง" ว่าเหมาะสมที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปหรือไม่ โดยใช้ข้ออ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่หน่วยงาน

แต่เหตุผลลึก ๆ แล้วก็เพื่อ "ล้างบาง" บอร์ดสายพันธุ์การเมืองที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ต่างตอบแทนกันอย่างมหาศาล เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันมาทุกรัฐบาล เมื่อมีการ "เปลี่ยนขั้ว" อำนาจการเมือง ก็จะ "นำคนของตัวเอง" มานั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ซึ่งขณะนี้ประธาน-บอร์ดของขั้วอำนาจเดิมก็เริ่มทยอย "พิจารณาตัวเอง" ไปแล้วหลายราย

นอกจากนี้ คสช.ยังพิจารณาตัด-ทอน "ผลประโยชน์และสิทธิประโยชน์" ที่บอร์ดรัฐวิสาหกิจจะได้รับ อาทิ ตั๋วบินฟรีของบอร์ดการบินไทย เบี้ยประชุม โบนัส ที่ปีหนึ่ง

หน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 56 แห่ง ใช้เงินในการจ่ายโบนัสรวมแล้วกว่า 1 หมื่นล้านบาท

โดย "นำร่อง" ตัดสิทธิประโยชน์เงินปันผล-ตั๋วเครื่องบินพิเศษของการบินไทยเป็นหน่วยงานแรก

ด้านการเมือง เพียงแค่ คสช.เข้ามายึดกุมอำนาจการบริหารประเทศได้เพียง 2 วัน ก็ได้โยกย้ายข้าราชการที่เป็นกลไก แขนขา ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลายตำแหน่ง อาทิ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ นายธงทอง จันทรางศุ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ไปยังที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อด้วยการโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดที่สำคัญ ๆ อันเป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย อาทิ จ.เชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี เพื่อเคลียร์ทางไม่ให้มีอุปสรรคจากข้าราชการจากขั้วการเมืองเก่า

แต่ผลงานที่สำคัญที่สุดด้านการเมือง คือ แผนสลายสีเสื้อที่ คสช.ได้มีคำสั่งตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) โดยมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรกำกับดูแล ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยที่ได้ตั้ง ศปป.ระดับอำเภอ-ท้องถิ่น เพื่อขจัดความขัดแย้งลงลึกถึงก้นครัว

ล่าสุด คสช.ได้เพิ่มเติมโครงสร้างใหม่ คือ กลุ่มงานสร้างความปรองดองและการปฏิรูปขึ้นมา และกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการปรองดองและการปฏิรูป โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

บูรณาการผู้แทนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะกรรมการ มีหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาจัดทำแผนการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์และการปฏิรูปประเทศ

ยิ่งกว่านั้นยังเตรียมตั้ง "คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ" เป็นหน่วยขึ้นตรงกับสำนักงานคณะกรรมการปรองดองและการปฏิรูป มีผู้แทนจากส่วนราชการทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการเป็นคณะทำงาน

เพื่อรวบรวมข้อมูลการปฏิรูปจากแนวความคิดของผู้ทรงคุณวุฒิ พรรคการเมือง นักวิชาการ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ และประชาชน ตลอดจนการจัดการระดมความคิด การรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิรูปจากทุกภาคส่วน เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลนำเสนอให้สภาปฏิรูปที่จะตั้งขึ้นหลังจากมีรัฐบาล-สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ส่วนในมุมด้านการตรวจสอบการทุจริตนั้น การรัฐประหาร 2 ครั้งในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งรัฐประหารปีཞ และปี཭ 

ผู้ยึดอำนาจได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ขึ้นมาตรวจสอบโครงการทุจริตต่าง ๆ ของรัฐบาลพลเรือน

หากแต่ครั้งนี้ คสช.ได้พลิกมุมการตรวจสอบการทุจริต โดยมิได้กล่าวหารัฐบาลพลเรือนว่าทุจริตกันตรง ๆ เหมือนครั้งก่อน แต่เปลี่ยนมาตั้งธงตรวจสอบเรื่องที่มีการร้องเรียนจากประชาชน-โครงการที่สังคมตั้งข้อสงสัย หรือโครงการที่ใช้งบประมาณเกิน 1,000 ล้านบาท ภายใต้ชื่อ "คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ" หรือ คตร. จนทำให้บางโครงการต้องระงับการดำเนินการชั่วคราว หรือถูกสั่งให้ยกเลิก

ด้านสังคม คสช.ได้สั่งให้มีการเร่งจัดระเบียบสังคมใหม่ในหลายเรื่อง ทั้งการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด ปราบมาเฟียบ่อนการพนัน ตู้ม้า หวยใต้ดิน วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แท็กซี่ รถตู้ รวมถึงจัดระเบียบรถตู้เพื่อแก้ปัญหาจราจร

พร้อมทั้งลงนามตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาจำหน่ายสลากกินแบ่งเกินราคา รวมทั้งใช้กำลังภายในทำให้คนไทย 70 ล้านคนได้ดูบอลโลกครบทั้ง 64 แมตช์ และชมภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรฟรี

นอกจากนี้ยังตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) เพื่อจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา จนมีข่าวลือว่า คสช.เตรียมที่จะกวาดล้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว ซึ่งนอกจากจะเป็นการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวแล้ว คสช.ก็ยังแสดงให้เห็นว่า การแก้ปัญหาด้านการเมืองก็เป็นไปในทิศทางบวก จึงถือเป็นเกม "เชิงจิตวิทยา" ไปในตัว 

กลายเป็นระบอบ "ประยุทธ์นิยม" สร้างคะแนนนิยมให้แก่ คสช.ได้ในชั่วพริบตา




// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.