เฟดลด AE เพิ่มอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ตามคาด
 


เฟดลด AE เพิ่มอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ตามคาด


เฟดลด AE เพิ่มอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ตามคาด

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันที่ 16-20 พฤษภาคม 2557 ค่าเงินสกุลหลักต่าง ๆ ปรับตัวผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์ โดยปัจจัยหลักที่ตลาดจับตาอยู่ที่ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงกลางสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดหลังการประชุม โดยตลอดมองหาสัญญาณที่บ่งชี้เกี่ยวกับแผนการระยะยาวของเฟดในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ซึ่งภายหลังจากที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหัฐ (เฟด) ได้ลงมติในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (19/6) ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ และเห็นพ้องให้ปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และหลัก่รัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนองท (MBS) ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยปรับลดลง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน จากวงเงินเดิม 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยระบุว่า จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 2.0 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อ MBS ในวงเงิน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในเดือน ก.ค. ลดลงจากเดิมที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อ MBS ในวงเงิน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในเดือน ก.ค. ลดลงจากเดิมที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 2.5 หมื่นล้านดอลาร์ และซื้อ MBS ในวงเงิน 2.0 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน นอกจากนี้ เฟดยังแถลงว่า จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ในช่วง 0-0.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากมาตรการซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลง ได้กดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักรวมทั้งเงินบาท โดยตลาดมองว่า เฟดคงจะยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะอันใกล้นี้ ส่งผลให้มีแรงขายทำกำไรออกมา ขณะที่ความวิกตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตอิรัก ก็เป็นอีกปัจจัยที่ตลาดจับตามอง ทั้งนี้ เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปีนี้ ลงสู่ 2.1-2.3% จากเดิมที่ 2.9% แต่คงตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวในปี 2558 และ 2559 โดยแสดงความเชื่อมั่นว่า การฟื้นตัวจะยังคงดำเนินต่อไป

ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันจันทร์ (16/6) ที่ระดับ 32.36/39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (13/6) ที่ 32.38/40 บาท/ดอลลาร์ โดยในช่วงต้นสัปดาร์ ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในแนวอ่อนค่า จากการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยของสหรัฐ ก่อนที่ในช่วงกลางสัปดาห์ ค่าเงินบาทจะได้แรงหนุนช่วงสั้น ๆ จากผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี ตามคาด โดย กนง. มองว่าเศรษฐกิจที่ขยายตัวขึ้น และแรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น อาจทำให้นี่เป็นจุดสิ้นสุดของวัฏจักรการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายในรอบนี้ และคาดว่า กนง.จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกครั้งในช่วงต้นปี 2558 เมื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้นและอัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นเข้าใกล้ร้อยละ 3.0 อีกทั้งผลการประชุมเฟดที่ยังคงมีแนวดน้มใช้นโยบายเชิงผ่อนคลายต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็หนุนค่าเงินบาทในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น ก่อนที่ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอีกครั้ง หลังจากความกังวลเกี่ยวกับกระแสข่าวเรื่องการเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้น ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยออกมามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนุนแรงซื้อเงินดอลลาร์ในช่วงท้ายสัปดาห์ ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ใน่วง 32.35-32.52 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (20/6) ที่ระดับ 32.46/48 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดวันจันทร์ (16/6) ที่ระดับ 1.3543/44 ดอลลาร์/ยูโร อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (13/6) ที่ระดับ 1.3570/72 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยในช่วงต้นสัปดาห์ ค่าเงินยูโรปรับตัวผันผวน หลังจากรัสเซียจะตัดการส่งจ่ายก๊าซให้กับยูเครน เนื่องจากบริษัทนาฟโทก๊าซของรัฐบาลยูเครนไม่สามารถชำระเงินสำหรับการส่งมอบก๊าซตามสัญญาที่มีอยู่ได้ ขณะที่สถาบัน ZEW ของเยอรมนี เผยดัชนีความเชื่อมั่นของนักวิเคราะห์และนักลงทุน ร่วงลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันในเดือน มิ.ย.สู่ระดับต่ำสุดรอบ 1 ปีครึ่ง ซึ่งเป็นสัญญาณว่า เศรษฐกิจเยอรมนีอาจชะลอตัวในไตรมาส 2 ก่อนที่ใช้ช่วกลางสัปดาห์ค่าเงินยูโรจะเริ่มทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งปิดตลาดท้ายสัปดาห์ หลังจากที่เฟดให้พันธะสัญญาว่า จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปในระยะยาว อย่างไรก็ดี ตลาดจับตาการประชุม รมว.ต่างประเทศของอียูทั้งหมด 28 ชาติ ที่จะประชุมกันในวันจันทร์ที่ 23 มิ.ย. 2557 ที่กรุงลักเซมเบิร์ก โดยจะเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฟื้นฟูการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย "อย่างเร่งด่วน" ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1.3512-1.3643 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (20/6) ที่ระดับ 1.3608/10 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนนั้น ค่าเงินเยนเปิดตลาดวันจันทร์ (16/6) ที่ระดับ 101.92/93 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวใกล้ระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (13/6) ที่ระดับ 101.95/96 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินเยนปรับตัวผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์ ขณะที่ตัวเลขการส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. ร่วงลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน และอุปสงค์ในต่างประเทศยังคงอ่อนแอ แม้มีการฟื้นตัวในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนของญี่ปุ่นที่มีรขนาดใหญ่ที่สุดอันดับสามของโลก โดยตัวเลขการส่งออกร่วงลง 2.7% ในเดือน พ.ค. ส่วนการนำเข้าของญี่ปุ่นร่วงลง 3.6% ในเดือน พ.ค. ซึ่งส่งผลให้มียอดขาดดุลการค้า 9.09 แสนล้านเยน (8.91 พันล้านดอลลาร์) เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ยอดขาดดุลที่ 1.17 ล้านล้านเยน และเป็นการขาดดุลติดต่อกัน 23 เดือน อย่างไรก็ดี ในช่วงท้ายสัปดาห์ ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งค่าขึ้นและเคลื่อนไหวในกรอบแคบจนกระทั่งปิดตลาด หลังเฟดส่งสัญญาณว่า จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่พัฒนาการของสถานการณ์วิกฤตอิรักยังเป็นคงเป็นที่จับตาของตลาด เนื่องจากเงินเยนเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มีความปลอดภัยสูง หากสถานการณ์วิกฤตอิรักเลวร้ายลง ความต้องการเงินเยนอาจจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ค่เางินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 101.69-102.32 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (20/6) ที่ระดับ 102.02/04 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโกเปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศเดือน พ.ค., มาร์กิตเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือน มิ.ย. และสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือน พ.ค. (23/6), สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคน ชิลเลอร์เปิดเผยราคาบ้านเดือน เม.ย., Conference Board เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือน มิ.ย. และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานยอดขายบ้านใหม่เดือน พ.ค. (24/6), กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน พ.ค., กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้ายของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 1/2014 และมาร์กิตเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือน มิ.ย. (25/6), กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยรายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือน พ.ค. (26/6), รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือน มิ.ย. (27/6)





// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.