ปิยสวัสดิ์-พรชัย ชิงประธานบอร์ด ปตท.
 


ปิยสวัสดิ์-พรชัย ชิงประธานบอร์ด ปตท.


ปิยสวัสดิ์-พรชัย ชิงประธานบอร์ด ปตท.

จาก การเปิดเผยของนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.ได้ให้นโยบายกระทรวงการคลังในการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการ (บอร์ด) ของรัฐวิสาหกิจทั้ง 58 แห่งให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งเรียกผู้บริหารรัฐวิสาหกิจทั้งหมดเข้าไปหารือ

หลังจากนั้นมี กระแสข่าวอย่างต่อเนื่องถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการ "รื้อ" บอร์ดของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งผลประโยชน์ของบรรดาพรรคการเมืองทั้งหลาย

โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบอร์ด บมจ. ปตท.ที่ถูกจับตาจากทุกฝ่าย เพราะในอดีตมักจะเป็นคนของพรรคการเมือง หรือมีความสัมพันธ์โยงใยกับนักการเมือง เนื่องจากเป็นกิจการที่มีเม็ดเงินมหาศาล ด้วยองค์กรขนาดใหญ่ ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจน้ำมัน และยังมีบริษัทในเครือ เช่น บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ที่ขุดเจาะสำรวจแหล่งพลังงานทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจปิโตรเคมีที่สามารถทำรายได้ให้อย่างต่อเนื่อง ปตท.มีส่วนแบ่งทางการตลาดในธุรกิจน้ำมันเป็นอันดับ 1 ที่ประมาณ 37% และครองตลาดก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)

ผลประกอบการในปี 56 ของ ปตท.มีรายได้รวม 2.88 ล้านล้านบาท และกำไรสุทธิ 94,652 ล้านบาท ไตรมาส 1 ของปี 57  มีรายได้ 727,188 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 27,447 ล้านบาท

อย่าง ไรก็ตามที่มีข่าวจะเปลี่ยนบอร์ด ปตท. นายรังสรรค์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ออกมาปฏิเสธว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะ ปตท.เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ การเปลี่ยนบอร์ด เป็นอำนาจของผู้ถือหุ้น ถึงแม้ว่ากระทรวงการคลังจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ก็ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นก่อน

อย่างไรก็ดี คำสั่งที่ปลัดกระทรวงการคลังไม่อาจปฏิเสธได้ คือคำสั่งของ คสช.ที่ให้กระทรวงการคลังทำรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่เป็นคณะกรรมการในรัฐ วิสาหกิจทุกแห่งให้ คสช.โดยต้องระบุว่า กรรมการแต่ละคนเป็นใคร มีประวัติการศึกษาและประสบการณ์ทำงานอย่างไร ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลไหนให้เข้าเป็นกรรมการ หรือใครเป็นผู้แต่งตั้งเข้าไปให้โยงใยความสัมพันธ์ของกรรมการแต่ละคนกับคนใน รัฐบาลนั้น ๆ เพื่อดูความสัมพันธ์ของกรรมการรัฐวิสาหกิจกับนักการเมือง

ขณะ ที่คำสั่งแต่งตั้งประธานบอร์ดและคณะกรรมการของ ปตท.ยังฝุ่นตลบ ก็มีการเดินสายเปิดตัว "กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน" ของ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ในส่วนของการแต่งตั้งบอร์ด ปตท. ล่าสุดที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของ คสช.ได้ทยอยส่งรายชื่อผู้ที่เหมาะสมจะเป็นประธานบอร์ด ปตท.รวมถึงคณะกรรมการให้แก่ คสช.แล้ว โดยในส่วนประธานบอร์ดนั้นมีการนำเสนอรวม 3 ชื่อ ได้แก่ อันดับ 1) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในช่วงรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 อันดับ 2) นายพรชัย รุจิประภา อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน และเคยนั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ รวมกว่า 42 แห่งในช่วงที่ผ่านมา และ 3) นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.

ในการหารือกันนั้นมุ่งเป้าไปที่ "ดร.ปิยสวัสดิ์" และ "นายพรชัย" หาก คสช.เลือก ดร.ปิยสวัสดิ์ เป็นประธานบอร์ดนาย พรชัย "อาจจะ" ต้องนั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในขณะเดียวกัน หากเลือกนายพรชัยเป็นประธาน ดร.ปิยสวัสดิ์ "อาจจะ" ต้องไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแทน ด้านนายประเสริฐนั้น แม้จะมีการนำเสนอชื่อ แต่ความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากในช่วงที่นั่งตำแหน่งCEO ปตท.ถูกกล่าวถึงในเชิงที่ว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายการเมืองมาตลอด

ด้าน ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าการปฏิรูปโครงสร้างคณะกรรมการ (บอร์ด) ของ ปตท.นั้น ที่ผ่านมา คสช.ก็เคยมีแนวทางออกว่า ต้องปรับเปลี่ยนบอร์ดให้มีแนวทางชัดเจน และให้มีความโปร่งใส เพราะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีพรรคพวกของทางการเมืองเข้าไปแทรกแซง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องรีบเร่งแก้ไข เพื่อลดการเข้าไปหาผลประโยชน์

นอก จากนี้ ยังรวมไปถึงการปรับปรุงบทบาทในการทำงานของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้มีความเข้มแข็ง และปรับปรุงระบบคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการ กกพ.ให้มีความโปร่งใส และมีกลไกในการกลั่นกรองคุณสมบัติและความรู้ประสบการณ์ของผู้สมัครด้วย

"เรื่อง นี้ คสช.คิดอยู่แล้ว แต่อยากให้แนวทางชัดเจน และปูทางไปสู่อนาคตที่ดี อย่างแรกที่ต้องทำ คือการลดการแทรกแซงทางการเมืองต่าง ๆ เพื่อลดการแสวงหาผลประโยชน์ในกิจการพลังงาน ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าถูกทาบทามให้ไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีพลังงาน หรือประธานบอร์ด ปตท.ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีใครทาบทาม ก็เชื่อว่า คสช.จะสามารถดูแลตรงนี้ได้ดี" นายปิยสวัสดิ์กล่าว

ในขณะที่ นายพรชัย รุจิประภา อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่งในการทำงาน แต่พร้อมที่จะทำงานให้กับประเทศที่อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเร่งฟื้นประเทศ และควรปฏิรูปสังคมในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านพลังงาน ควรทำงานแบบบูรณาการ และเชื่อมโยงกับกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นโยบายต่าง ๆ เกิดผลมากขึ้น อย่างเช่น การประหยัดพลังงาน ที่ผ่านมาไม่ได้ผลมากนัก เพราะทำงานเพียงกระทรวงเดียว ซึ่งในเชิงปฏิบัติ ควรทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม เป็นต้น

"รัฐบาลที่จะจัดตั้งขึ้นต้องทำงานเป็นทีม เพราะประเทศจะพลาดไม่ได้อีกแล้ว ต้องเรียกศรัทธาของประเทศทุกด้านกลับมา ส่วนของพลังงาน ต้องวางรากฐานความมั่นคงระยะยาวให้กับประเทศ"




// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.