สธ.ห่วงแรงงานไทยป่วยโรคเรื้อรังเกือบ 4 ล้านคน
 


สธ.ห่วงแรงงานไทยป่วยโรคเรื้อรังเกือบ 4 ล้านคน


สธ.ห่วงแรงงานไทยป่วยโรคเรื้อรังเกือบ 4 ล้านคน

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เนื่องจากวันที่ 1 พ.ค.ของทุกปีเป็นวันแรงงานแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีในมาตรการดูแลสุขภาพผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สร้างเศรษฐกิจให้ประเทศ ให้มีสุขภาพดี สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพเพื่อเป็นที่พึ่งพิงของคนในครอบครัว ทั้งเด็กและผู้สูงอายุซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 48 คนต่อวัยแรงงาน 100 คน ในปี 2553 เป็น 60คนต่อวัยแรงงาน 100 คนในอีก 15 ปีข้างหน้าและแนวโน้มประชากรสูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหากประชากรวัยแรงงานเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพไม่สามารถทำงานได้

จะเกิดผลกระทบต่อครอบครัว ขาดเสาหลักหารายได้เลี้ยงดูตกอยู่ในสถานะรอรับการสงเคราะห์จากสังคม เป็นปัญหาระยะยาวของประเทศ

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2557ไทยมีประชากรที่มีงานทำ ประมาณ 38 ล้านคน โดยอยู่ในภาคเกษตรกรรม 13 ล้านคนที่เหลือเกือบ 25 ล้านคน อยู่ในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และอื่นๆ

เช่น การผลิตต่าง ๆ การก่อสร้าง การขาย การขนส่ง เป็นต้นโดยมีสถานประกอบการทั่วประเทศกว่า 2 ล้านแห่งผลสำรวจภาวะสุขภาพของแรงงานในภาคเกษตรกรรมในปี 2554-2556พบปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด ประมาณร้อยละ

30 ส่วนผู้ที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลล่าสุดในปี 2554 พบกว่าร้อยละ 10ของแรงงานทั้งหมด หรือเกือบ 4 ล้านคน ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากที่สุดคือโรคหัวใจและหลอดเลือด รองลงมาคือเบาหวานและโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังพบว่าในปี 2555มีผู้ได้รับอันตรายจากการทำงานถึงขั้นเสียชีวิต 717 รายและพิการหรือสูญเสียอวัยวะบางส่วน 1,827 ราย จึงต้องเร่งให้การดูแลเน้นหนักที่การป้องกันควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคในสถานประกอบการโดยมอบหมายให้กรมควบคุมโรค ดำเนินการแก้ไขและป้องกัน 

ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้จัดทำโครงการ "วัยทำงานปลอดโรคปลอดภัย กายใจเป็นสุข" โดยในภาคเกษตรได้ขยายคลินิกดูแลสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆซึ่งจะเร่งให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็ว ส่วนในภาคอุตสาหกรรมได้พัฒนามาตรฐานสถานประกอบการและวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2ของวัยแรงงาน ที่ต้องอยู่วันละ 8-9 ชั่วโมง ให้เป็นสถานที่ปลอดโรคปลอดภัยโดยในปี 2556 ดำเนินการแล้ว 228 แห่ง ส่วนในปี 2557 จะดำเนินการเพิ่มอีก 800แห่งทั่วประเทศ และจะขยายเพิ่มอีกปีละ 10 แห่งต่อจังหวัดประเด็นที่เน้นหนัก ประกอบด้วย ความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม สถานที่ทำงานและการใช้อุปกรณ์ป้องกันขณะทำงาน รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยลดความเครียดในส่วนของการดูแลรักษาแรงงานที่เจ็บป่วยได้จัดตั้งคลินิกโรคจากการประกอบอาชีพในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกจังหวัดมีแพทย์เฉพาะทางตรวจรักษาโดยเฉพาะ และจะขยายลงโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ต่อไปโดยในเดือนมิ.ย.ปีนี้ จะอบรมพยาบาลอาชีวเวชศาสตร์ จำนวน 50 คนเพื่อประจำการในคลินิก.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.