<B>เอกชนท่องเที่ยวดิ้นพลิกแผน เร่งเพิ่มรายได้พยุงเศรษฐกิจ</B>
 


เอกชนท่องเที่ยวดิ้นพลิกแผน เร่งเพิ่มรายได้พยุงเศรษฐกิจ


<B>เอกชนท่องเที่ยวดิ้นพลิกแผน เร่งเพิ่มรายได้พยุงเศรษฐกิจ</B>

ณ เวลานี้...“ท่องเที่ยวไทย” กำลังเป็นอุตสาหกรรมหลักที่รัฐบาลได้ตั้งความหวังให้เป็นรายได้สำคัญเพื่อเป็นแรงส่งและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะหากเทียบสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวกับรายได้ทั้งหมดของประเทศแล้ว ท่องเที่ยวไทยสามารถสร้างรายได้ให้มากถึง 10% ทีเดียว แถมยังเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีต้นทุนแต่สามารถทำรายได้ให้มหาศาล 

แต่ด้วยขณะนี้ทั้งเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศ ที่ชะลอตัว แน่นอนว่าภาคการท่องเที่ยวต้องชะลอตัวตามไปด้วย รายได้จากนักท่องเที่ยวในบางตลาดที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาจากเศรษฐกิจโลก ก็ทำให้กลุ่มนักเดินทางจากประเทศทางไกลระยะเวลามากกว่า 6 ชั่วโมง หลายประเทศจึงหายไปอย่างน่าเสียดาย เพราะนักท่องเที่ยวอยากประหยัดเงิน จึงเลือกที่จะเที่ยวระยะใกล้แทน ขณะที่ตลาดจีน ที่กำลังมาแรงและหวังเป็นพระเอกขี่ม้า กลับมีแววชะงักลงไปอีก จากกฎหมายของรัฐบาลจีน ที่ควบคุมทัวร์คุณภาพทำให้ตลาดจีนลดลงไปไม่ต่ำกว่า 40% และยังเคราะห์ซ้ำกรรมซัด จากปัญหาการเมืองที่ส่อเค้าลางของความรุนแรง จนในที่สุดรัฐบาลรักษาการต้องมีการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ “ซ้ำเติม”เข้าไปอีก เพราะทำให้นักท่องเที่ยวหวาดระแวงมากขึ้นไปอีก จนล่าสุดประเทศต่าง ๆ ถึง 48 แห่ง ได้แจ้งเตือนนักท่องเที่ยวให้ระมัดระวังการมาเที่ยวเมืองไทย และยังให้ไตร่ตรองมากเป็นพิเศษหากต้องการมาเที่ยวกรุงเทพฯ ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าไทยต้องสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวไปถึง 90,000 ล้านบาท ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติหายไป 900,000 คน

จากปัจจัยปัญหาเหล่านี้ จึงเริ่มส่อเค้าแล้วว่า ภาคการท่องเที่ยวจะสามารถปั้นรายได้ ในปี 58 ให้ตรงตามเป้าหมายที่ 2.2 ล้านล้านบาทได้หรือไม่?

เร่งกระตุ้นไทยเที่ยวไทย

เรื่องนี้...จึงกลายป็นเผือกร้อนที่ฝ่ายขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยวหลักของรัฐบาล คือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่กำกับดูแล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รัฐวิสาหกิจที่ดูแลตลาดท่องเที่ยวของประเทศไทยมายาวนานต้องเป็นแม่ทัพหลักในการปรับแผนและกระตุ้นตัวเลขนักท่องเที่ยวให้กลับคืนมาโดยเร็ว แต่ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ททท.เองกลับมองว่าการปรับแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวเป็นเรื่องยาก เพราะหากเร่งประชาสัมพันธ์ไป แต่บ้านเมืองยังมีเหตุการณ์ที่รุนแรงอยู่ ประชาสัมพันธ์อย่างไรไปนักท่องเที่ยวก็ไม่เชื่อมั่นอยู่ดี 

สิ่งที่ทำได้ในเวลานี้ คือ การกระตุ้นให้คนไทยหันมาเที่ยวไทยกันเองจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุดแล้ว โดยปัจจุบันสัดส่วนของคนไทยระดับกลางที่ชอบท่องเที่ยวมีถึง 70%ททท.จึงกระตุ้นคนกลุ่มนี้ให้กระจายการท่องเที่ยวไปตามจังหวัดต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด ผ่านแคมเปญนำร่องชิ้นแรกของปี คือ กาลครั้งหนึ่ง...ที่คุณต้องไปเที่ยวให้ได้หรือเรียกกันว่าดรีม เดสติเนชั่น

คงเป้าหมายเดิม

ส่วนตลาดต่างประเทศ ถือเป็นงานหนัก เพราะการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ได้ส่งผลแค่เพียงด้านความมั่นใจเท่านั้น ยังเกี่ยวข้องไปถึง การคุ้มครองการประกันภัยของนักท่องเที่ยวด้วย ที่ไม่รับรองทันทีที่มีการประกาศ ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นอะไร ทำได้เพียงสร้างความเชื่อมั่นว่า นอกจากกรุงเทพฯ แล้ว นักท่องเที่ยวยังไปในจังหวัดอื่นได้เหมือนเดิม แต่อย่างไรก็ตาม ททท.มั่นใจที่จะได้รายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวเหมือนเดิม  คือ มีรายได้ทางการท่องเที่ยว 2,026,500 ล้านบาท และมีจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ 28.01 ล้านคน และนักท่องเที่ยวไทยเดินทาง 136.80 คนครั้ง 

ที่สำคัญ ททท.ยังมั่นใจว่า การท่องเที่ยว...ยังเป็นพระเอกขี่ม้าขาวเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้ ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ไม่ชัดเจน ขณะที่รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังทำหน้าที่รักษาการเหมือนเดิม ที่ไม่สามารถทำอะไรได้โดยเฉพาะการอนุมัติเงินงบประมาณ ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญต่อการกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยว ดังนั้นจึงทำได้เพียงการประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเห็นว่า เมืองไทยยังเป็น “สยามเมืองยิ้ม” ที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกเวลา 

แม้หัวเรือใหญ่อย่าง ททท. ยังการันตีในความสามารถของการท่องเที่ยวไทยที่ยังสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าได้ แต่ด้วยแผนงานที่ไม่เด่นชัด และขาดแคลนงบประมาณ จึงกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของภาคการท่องเที่ยว

เอกชนจับมือเดินหน้าสู้

หันมาทางเอกชนด้านท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม บริษัททัวร์ สายการบิน และในอีกหลายสาขา ต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเมืองที่เกิดขึ้น จึงต้องเดินหน้าสร้างความเข้มแข็ง และปรับแผนกระตุ้นรายได้ให้กับธุรกิจของตนเอง เพราะการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไม่อยากให้เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาพลักษณ์ของประเทศจะขาดความเชื่อมั่นลงไปทันที ประกอบกับการประกันภัยที่ไม่คุ้มครองนักท่องเที่ยวจึงหดหายไป ดังนั้น แผนหลักที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ในขณะนี้คือ การหันกลับมาให้รัฐบาลออกมาตรการให้ข้าราชการสัมมนาพร้อมการท่องเที่ยวข้ามจังหวัด เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ในช่วงวิกฤติอีกทางหนึ่ง รวมถึงการสร้างฐานลูกค้าจากการท่องเที่ยวเชิงสัมมนาที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับตลาดนี้มากขึ้น

สายการบินเปลี่ยนเส้นทาง

ส่วนอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องพึ่งพาตัวเลขนักท่องเที่ยวมากที่สุด นั่นคือ ธุรกิจสายการบิน ที่ขณะนี้เริ่มได้รับผลกระทบจนต้องปรับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ โดยหันไปกระจายความเสี่ยงในเส้นทางการบินต่าง ๆ ให้มากขึ้น เช่น หนีเส้นทางกรุงเทพฯ ออกไป และไปเพิ่มเส้นทางบินตรงในจังหวัดที่มีสนามบินแทน เพื่อให้ทำการตลาดและประชาสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวได้ว่า สายการบินไม่ได้มีเส้นทางแค่เพียงกรุงเทพฯ เท่านั้น นักท่องเที่ยวยังกระจายไปในจังหวัดอื่นและหนีกรุงเทพฯ ในช่วงความวุ่นวาย

ด้วยเหตุนี้... เส้นทางการบินทุกเส้นทาง โดยเฉพาะที่ไม่ได้ถูกรัฐบาลซัพพอร์ตอย่างสายการบินต้นทุนต่่ำ จึงปรับแผน และเพิ่มเส้นทางไปต่างจังหวัดมากขึ้น พร้อมโหมอัดโปรโมชั่นลดราคาตั๋วเครื่องบิน กระตุ้นคนไทยที่กระเป๋าตุงให้ออกมาจับจ่ายท่องเที่ยว  รวมถึงการเสนอให้เครื่องโหลดกระเป๋า หรือในขั้นตอนระยะเวลาการเดินทางเปลี่ยนเครื่องใช้เวลาในสนามบินในกรุงเทพฯ ให้น้อยลงมากที่สุด ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความสบายใจ

ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น เป็นเพียงการปรับตัวของทุกหน่วยงานทางด้านท่องเที่ยวที่พยายามประคับประคองให้ธุรกิจและภาพลักษณ์ของประเทศยังติดอยู่ในใจของนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่...เหนือสิ่งอื่นใด ที่จะแก้ไขปัญหาครั้งนี้ได้ชะงัด! ที่สุด คือ คนไทยต้องหยุดขัดแย้งกันเสียที!.

เพิ่มกระแสบินข้ามภูมิภาค

“ทัศพล แบเลเว็ลด์”  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย  มองว่า  เวลานี้บริษัทได้ปรับตัวด้วยการตั้งเป้าหมายเพิ่มเส้นทางบินจากต่างจังหวัดสู่ต่างจังหวัด และต่างจังหวัดสู่ต่างประเทศ โดยไม่ต้องผ่านสนามบินดอนเมือง เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาการเมืองในกรุงเทพฯ ที่ยืดเยื้อมากว่า7 ปี โดยขณะนี้แอร์เอเชียมีเครื่องบินที่อยู่ฐานต่างจังหวัดเพียง4 ลำเท่านั้น จากทั้งหมด 38 ลำ มีเส้นทางบินตรงจากต่างจังหวัดไปจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเก๊า แต่ต่อไปจะต้องเพิ่มสัดส่วนเส้นทางบินและเครื่องบินในส่วนนี้จาก 10% เป็น 30% ภายใน 2-3 ปี

จัดแฟมิลี่ทริปดึงเชื่อมั่น

“ศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร” นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) บอกว่า ในแง่ของบริษัททัวร์ ต่างเร่งหากลยุทธ์เสริมด้านการตลาดกันเอง เช่น จัดแฟมิลี่ทริป ชมสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพราะมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแหล่งท่องเที่ยวไปเป็นที่อื่น เช่น จากที่รัสเซียนิยมไป มาเลเซียและเวียดนาม แต่ต้องมาที่ไทยก่อน แต่เมื่อมีเหตุการณ์การเมืองจะตัดไทยทิ้ง

 

“ภาพของไทยในขณะนี้ ยังถูกเผยแพร่ออกไปในลักษณะที่ว่าไทยยังมีความรุนแรง เนื่องจากยังมีการยิงกันอยู่ ผู้ประกอบการจึงไม่สามารถอธิบายอะไรกับนักท่องเที่ยวได้ แต่หวังว่าต่อจากนี้ ผู้ประกอบการไทยเองก็คงจะต้องร่วมมือกันสร้างฐานลูกค้าเพื่อดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติร่วมกัน เพื่อให้เข้มแข็งในองค์กรด้วย”.

“ที่ผ่านมาขณะที่เกิดความวุ่นวายทางการเมือง แต่เส้นทางบินที่มีฐานอยู่ต่างจังหวัดกลับไม่ได้รับผลกระทบ และขยายตัวต่อเนื่อง มีอัตราผู้โดยสารถึง 80-90% ทีเดียว”.

พลิกวิกฤติเป็นโอกาส

“สุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร”  นายกสมาคมโรงแรมไทย หรือทีเอชเอ มองว่า ภาคการโรงแรมในเวลานี้ไม่สามารถทำแผนกระตุ้นได้ แต่เน้นเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการให้พนักงาน ได้ฝึกวิชาชีพของตนเอง และหลากหลายลักษณะงานด้วย หรืออาจให้พนักงานลาพักร้อนชั่วคราว เพื่อช่วยประหยัดสภาพคล่องทางการเงินในช่วงที่ไม่มีลูกค้า อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นแล้ว ภาคการท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ฟื้นฟูตลาดไม่นาน โดยคาดว่า ภายใน 1-2 เดือน

นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาเหมือนเดิมได้

“ขณะนี้เหตุการณ์ยังไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้เกิดการเลิกจ้างพนักงานแต่อย่างใด เพราะโรงแรมทุกแห่งยังมีความหวังในการเตรียมความพร้อมบุคลากรรองรับช่วงตลาดฟื้นตัว ซึ่งตามปกติภาคโรงแรมจะได้รับอานิสงส์ในการเดินทางกลับเข้ามาของนักท่องเที่ยวได้เร็วที่สุด เมื่อเทียบกับธุรกิจท่องเที่ยวประเภทอื่น ๆ”

อุตสาหกรรมทองเที่ยวไมสามารถตั้งรับหรือปรับตัวรับกับปัญหาการเมืองในปัจจุบันไดเลย หากประเทศยังขาดปัจจัยเรื่องความปลอดภัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และถือเป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจโรงแรมไมสามารถเขาไปกำหนดได ดังนั้นตองรอใหเหตุการณ์สงบลงกอน จึงจะกลับมาทำตลาดเชิงรุกอีกครั้ง.

เอวิกานต์ บัวคง



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.