นักวิจัยหญิงไทยคนแรกดำน้ำเดี่ยว สำรวจสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลขั้วโลกใต้
 


นักวิจัยหญิงไทยคนแรกดำน้ำเดี่ยว สำรวจสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลขั้วโลกใต้


นักวิจัยหญิงไทยคนแรกดำน้ำเดี่ยว สำรวจสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลขั้วโลกใต้

รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์, รศ.ดร.สุชนา ชวนิตย์ และ สดับพิณ คำนวณทิพย์ ร่วมกันแนะนำหนังสือ “Polar Harmony”

หลังประสบความสำเร็จในการเป็นหนึ่งนักวิจัยสตรีไทยคนแรก ที่เดินทางไปทำการวิจัยเรื่องภาวะโลกร้อนยังดินแดนขั้วโลกใต้เมื่อปี 2552 รศ.ดร.สุชนา ชวนิตย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ด้วยการเดินทางสู่ขั้วโลกใต้เพื่อทำการวิจัยอีกครั้งใน “โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยจะเป็นคนไทยคนแรกที่ลงไปสำรวจถึงใต้ท้องทะเลแอนตาร์กติกอันหนาวเหน็บ เพื่อศึกษาวิจัยผลกระทบเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและการวิจัยดิน อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาข้อมูลสำคัญๆ เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไปในอนาคต

"รศ.ดร.สุชนา" พร้อมที่จะไปลุยใต้ทะเลขั้วโลกใต้ค่ะ!!

รศ.ดร.สุชนา เผยถึงการเดินทางไปขั้วโลกใต้ครั้งที่ 2 ว่า นับเป็นพระกรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเห็นความสำคัญที่ประเทศไทยจะได้รับในการเดินทางไปศึกษาที่ทวีปแอนตาร์กติก ร่วมกับคณะนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ สถานีวิจัยขั้วโลกใต้ เกรทวอลล์ของจีน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งทะเล ทวีปแอนตาร์กติก เป็นงานวิจัยที่ดำเนินการต่อเนื่องจากการเดินทางไปขั้วโลกใต้เพื่อเก็บตัวอย่างเมื่อปี 2547/2548 ของ รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จะได้ดำน้ำลงไปสำรวจสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลแอนตาร์กติก ณ สถานีวิจัยของจีน ซึ่งยังไม่เคยมีใครได้ลงไปยังใต้น้ำบริเวณสถานีวิจัยนี้ ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศามาก่อน การลงไปใต้น้ำขั้วโลกครั้งนี้ก็เพื่อสังเกตพฤติกรรมและเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิต รวมถึงเก็บตัวอย่างดินและดินตะกอนในทะเล เพื่อนำมาศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การดำน้ำครั้งนี้ถือว่าท้าทายพอสมควร เพราะปกติแล้วการดำน้ำจะต้องมีบัดดี้ลงไปด้วย แต่ครั้งนี้ต้องลงไปเพียงคนเดียว ต้องมีการเตรียมตัว ชุดดำน้ำต้องใช้ชุด Dry Suit สำหรับน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนชุดดำน้ำพิเศษนี้จาก ลอรีอัล ประเทศไทย

และเพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่รวมถึงบุคลากรในแวดวงวิทยาศาสตร์ได้รู้ผลลัพธ์ของการเดินทางสู่ขั้วโลกใต้ว่าคืออะไร รศ.ดร.สุชนาจึงได้ถ่ายทอดประสบการณ์การเดินทางเพื่อทำการวิจัยดินแดนขั้วโลกใต้ในครั้งแรก ออกมาเป็นหนังสือภาพ Polar Harmony โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) ร่วมกับลอรีอัล ประเทศไทย จัดพิมพ์ขึ้น และในหนังสือเล่มนี้ยังได้รวบรวมภาพสมุทรศาสตร์ทางทะเล ณ ดินแดนขั้วโลกใต้ที่หาชมยากของ รศ. ดร.วรณพ วิยกาญจน์ โดยหนังสือเล่มนี้มีความพิเศษอยู่ที่ “คิวอาร์ โค้ด” ในแต่ละหน้า ทำให้ผู้อ่านสามารถสแกนเข้าไปยังคลังความรู้ชั้นยอด อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ โดยหน่วยงานการศึกษา โรงเรียนและห้อง สมุดทั่วประเทศ สามารถติดต่อขอรับหนังสือเล่มนี้ได้ฟรีที่ [email protected]



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.