พบเชื้อดื้อยาอื้อเตือน ปชช.ล้างมือหลังสัมผัสคนไข้
 


พบเชื้อดื้อยาอื้อเตือน ปชช.ล้างมือหลังสัมผัสคนไข้


พบเชื้อดื้อยาอื้อเตือน ปชช.ล้างมือหลังสัมผัสคนไข้

รศ.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยายังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากไทยมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ และเมื่อเชื้อดื้อยาก็ต้องใช้ยาที่แรงขึ้น ซึ่งเชื้อก็จะพัฒนาตัวเองให้สู้กับยาได้ คือยิ่งใช้ยาแรงเชื้อก็ยิ่งดื้อยามากขึ้น โดยเห็นได้ชัดจากห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ของภาควิชาจุลชีววิทยาที่พบว่าเชื้อแบคทีเรียมีการดื้อยามากขึ้น โดยเชื้อแบคทีเรียที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.แกรมบวก และ 2.แกรมลบนั้น เชื้อแบคทีเรียประเภทแกรมลบนี้เองที่ดื้อยาจนเป็นปัญหาในวงการสาธารณสุขการติดเชื้อในโรงพยาบาลจะมีโอกาสดื้อยาสูง เนื่องจากโรงพยาบาลจะมีการใช้ยาฆ่าเชื้อเยอะ เชื้อแบคทีเรียพวกนี้ก็จะมีกลไกในการต่อสู้กับยาฆ่าเชื้อ ดังนั้นผู้มีภูมิต้านทานต่ำก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เราจึงไม่อยากให้ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลนานเกินไป ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ เพราะหากติดเชื้อดื้อยาก็จะรักษาได้ยาก ซึ่งเชื้อแบคทีเรียแกรมลบดื้อยาที่พบได้บ่อย เช่น มักจะทำให้เกิดโรคปอดบวม แต่ไม่ได้หมายความว่าโรคปอดบวมจะเกิดจากเชื้อดื้อยาทั้งหมด การใส่เครื่องช่วยหายใจ และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

“มาตรการควบคุมไม่ให้เกิดการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลคือ 1.อย่าใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นเพราะเชื้ออาจตายไม่หมดจนทำให้ดื้อยา 2.หากคนไข้ติดเชื้อ แพทย์ พยาบาล ญาติผู้ป่วย ที่สัมผัสผู้ป่วยจะต้องล้างมือและไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน และ 3.ต้องควบคุมโรคให้ได้ โดยเลือกใช้ยาให้เหมาะสม และไม่ให้อยู่โรงพยาบาลนานเกินจำเป็น สำหรับประชาชนโดยทั่วไปที่มาเยี่ยมผู้ป่วย หากมีการสัมผัสผู้ป่วยให้ล้างมือทันทีก่อนออกจากโรงพยาบาล” รศ.นพ.ภัทรชัยกล่าว.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.