EUROCOPTER EC725 SUPER COUGAR
 


EUROCOPTER EC725 SUPER COUGAR


EUROCOPTER EC725 SUPER COUGAR

Eurocopter EC725 เฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพอากาศไทยที่จะเข้าประจำการภายในปี 2558...

Eurocopter หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอากาศยานปีกหมุนขึ้น-ลงทางดิ่งหรือเฮลิคอปเตอร์ชั้นนำ ของโลกได้ทำการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดใหญ่สำหรับปฏิบัติภารกิจทางทหาร ขนาดที่ใหญ่โตของอากาศยานปีกหมุนนอกจากสามารถลำเลียงสัมภาระหรือทหารได้ ครั้งละมากๆ แล้ว ยังสามารถดัดแปลงมาเป็นอากาศยานที่ใช้สำหรับการกู้ภัย การตรวจตราบริเวณชายฝั่งและพื้นที่ในทะเล หรือแม้แต่การปรับปรุงให้กลายเป็นเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธสำหรับการโจมตี หนึ่งในเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ของค่าย Eurocopter คือ ฮ.รุ่น EC725 Super Cougar ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้เฮลิคอปเตอร์รุ่นดังกลาวจะเข้ามามีบทบาทในกองทัพอากาศไทย เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์รุ่นเก่าที่เริ่มทยอยปลดประจำการจากอายุการใช้งานที่บางลำบินมานานกว่า 40 ปีแล้ว


Eurocopter EC725 ถูกแผนแบบมาจากเฮลิคอปเตอร์ AS532 Cougar ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก SA330 Puma จากบริษัท Aerospatiale ก่อนที่จะทำการควบรวมผนวกกันกลายเป็นค่าย Eurocopter โดย EC725 ลำต้นแบบได้ขึ้นทำการบินทดสอบเป็นครั้งแรกในปี พศ 2543 หลังจากนั้นอีก 5 ปีต่อมาจึงพร้อมเข้าประจำการ การออกแบบทั้งหมดมีการปรับปรุงจาก EC532 ในหลายด้านเพื่อเพิ่มเติมประสิทธิภาพด้านการบิน การออกแบบโครงสร้างของลำตัวให้มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานที่มีความหลากหลาย โรเตอร์หลักหรือใบพัดเปลี่ยนจากโลหะมาเป็นวัสดุผสม ห้องนักบินถูกปรับให้เป็นแบบ Glass Cockpit โดยติดตั้งจอภาพขนาดใหญ่ในระบบดิจิตอลเพื่อแสดงผลแทนเข็มวัดแบบเก่า สำหรับเครื่องยนต์ซึ่งเป็นต้นกำลังของ ฮ. รุ่นนี้ ทาง Eurocopter ได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Makila 1A4 ของบริษัทผลิตเครื่องยนต์อากาศยานชั้นนำ Turbomaca เครื่องยนต์รุ่นใหม่ใช้ระบบควบคุมการทำงานแบบ Full Authority Digital Engine Control หรือ FADEC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ประมวลผลขั้นก้าวหน้าที่เข้ามามีบทบาทในการควบคุมการ ทำงานของเครื่องยนต์อากาศยานรุ่นใหม่


สำหรับการบินปฏิบัติภารกิจทางทหารนั้น เฮลิคอปเตอร์ EC725 Super Cougar สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น เรดาร์สำหรับการค้นหาภาคพื้น กล้องอินฟาเรด ระบบป้องกันตนเองจากขีปนาวุธ Chaff-Flare หรือระบบแจ้งเตือนเรดาร์ ในส่วนของอาวุธ เฮลิคอปเตอร์ EC725 สามารถติดตั้งปืนกลอากาศแบบ FN MAG ขนาด 7.62 จำนวน 2 กระบอกที่ประตูทั้งสองข้าง กระเปาะจรวดขนาด 2.75 นิ้วที่บรรจุจรวดจำนวน 19 นัดซึ่งเป็นจรวดแบบอากาศสู่พื้น รวมถึงกระเปาะปืนใหญ่อากาศขนาด 20 มิลลิเมตรจำนวน 2 กระเปาะทำให้เฮลิคอปเตอร์ EC725 สามารถจัดหรือโหลดอุปกรณ์เพื่อการปฏิบัติภารกิจทางทหารได้ 4 รูปแบบ คือ

1-ภารกิจส่งกำลังบำรุง ลำเลียงกำลังรบและสัมภาระทางยุทธวิธีซึ่งสามารถบรรทุกทหารได้ 29 นาย

2-ภารกิจ ส่งกลับทางการแพทย์ สำหรับการขนส่งทหารที่ได้รับบาดเจ็บไปยังโรงพยาบาล บรรทุกเตียงสนามได้ 12 เตียงพร้อมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 4 นาย

3-ภารกิจค้นหาและกู้ภัยทั้งทางบกและทางทะเล

4-ภารกิจบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญ


ระบบอาวุธและอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่สามารถเลือกติดตั้งได้อย่างหลากหลายและมีความครอบคลุมเหมาะสมกับการบินปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยชีวิต เนื่องจากแผนแบบของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ถูกออกแบบมาเพื่อการกู้ภัยและลำเลียงเป็นหลัก ซึ่งมีความเหมาะสมกับภารกิจบินค้นหา-ช่วยชีวิตทหารหรือพลเรือนที่ได้รับบาดเจ็บจากพื้นที่การรบ Combat Search and Rescue หรือ CSAR สำหรับกองทัพอากาศไทย ได้ทำการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ Eurocopter EC725 ในลอตแรกจำนวน 4 ลำ เพื่อนำมาทดแทนอากาศยานขึ้น-ลงทางดิ่งแบบ UH-1H Huey ที่บินประจำการมานานกว่า 40 ปีแล้ว โดยเฮลิคอปเตอร์ Eurocopter EC725 ได้รับเลือกโดยมีคู่แข่งสมรรถนะสูงอย่าง S-92 ของบริษัท Sikorsky ของสหรัฐอเมริกาและ Mi-17 Kazan Helicopter Plant จากรัสเซีย โดยเฮลิคอปเตอร์ Eurocopter EC725 จะเข้ามารับหน้าทีในการปฏิบัติภารกิจบินค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ การบินเข้าช่วยเหลือและกู้ภัยให้กับนักบินประจำเครื่องบินรบที่ถูกยิงตกหลัง แนวของข้าศึก ซึ่งประสิทธิภาพกับระบบการบินรวมถึงเครื่องยนต์ที่ทรงสมรรถนะของ Eurocopter EC725 จะได้เข้ามาทดแทนเฮลิคอปเตอร์แบบเก่า UH-1H Huey ซึ่งเริ่มทยอยปลดประจำการจากอายุการใช้งานที่ยาวนานมาก กองทัพอากาศไทยจะได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ Eurocopter EC725 ฝูงแรกภายในปี พศ 2558 นี้ นับเป็นการเพิ่มเติมเขี้ยวเล็บและเพิ่มศักยภาพทางการบินกู้ภัยให้มีความก้าว ไกลและทันสมัยมากยิ่งขึ้น.


Role Tactical ................................Transport helicopter
Manufacturer.................................Eurocopter Group
First flight......................................27 November 2000
Introduction...................................February 2005
Status.............................................Active service
Primaryuser...................................Brazilian Armed Forces / French Armed Forces / Mexican Air Force / Royal Malaysian Air Force

Unit cost........................................US $45-55 million[1]
Developed from............................Eurocopter AS 532
Variants.........................................Eurocopter EC225


General characteristics
Crew:
1 or 2 (pilot + co-pilot)
Capacity:
1 chief of stick + 28 troops or 5,670 kilograms (12,500lb) payload
Length:
19.5m (64ft 0in)
Height:
4.6m (15ft 1in)
Empty weight: 5,330kg (11,751lb)
Gross weight:
11,000kg (24,251lb)
Max takeoff weight: 11,200kg (24,692lb)
Power plant: 2 × Turboméca Makila 2A1 turboshaft engines, 1,776kW (2,382hp) each
Main rotor diameter:
16.20m (53ft 2in)
Main rotor area:
206.1m2 (2,218sqft)


Performance
Maximum speed: 324km/h (201mph; 175kn) in level flight
Cruising speed:
285km/h (177mph; 154kn)
Never exceed speed:
324km/h (201mph; 175kn)
Range: 857km (533mi; 463nmi)
Ferry range:
1,325km (823mi; 715nmi)
Service ceiling:
6,095m (19,997ft)
Rate of climb:
7.4m/s (1,460ft/min

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom

 



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.