ฉลองความสำเร็จตลอด 50ปีของ Deep Space Network
 


ฉลองความสำเร็จตลอด 50ปีของ Deep Space Network


ฉลองความสำเร็จตลอด 50ปีของ Deep Space Network

50 ปีกับการทำหน้าที่สื่อสารในห้วงอวกาศด้วยจานรับสัญญาณ ที่โกลด์สโตน แคลิฟอร์เนีย

นาซ่า ฉลองครบรอบ 50ปีแห่งการสื่อสารและสำรวจบนเครือข่ายห้วงลึกของอวกาศ กับบทบาทของ Deep Space Network ที่เชื่อมการสื่อสารระหว่างโลก กับยานสำรวจอวกาศในห้วงอวกาศกันไกลโพ้น ในภารกิจการสำรวจระบบสุริยะ...

หน่วยงาน Deep Space Network เริ่มต้นขึ้นจากการตั้งเสาอากาศเล็กๆ เป็นส่วนงานหนึ่งของสถานที่ตั้งเครื่องตรวจวัดห้วงอวกาศ ที่แต่เดิมถูกปฏิบัติการโดยกองทัพบกสหรัฐ ในช่วงปี 1950 และเปลี่ยนไปเป็น  Deep Space Network ในวันที่ 24 ธ.ค.ปี 1963 และกลายเป็นเครือข่ายสำหรับปฏิบัติภารกิจในห้วงอวกาศอย่างรวดเร็วในทางพฤตินัย

เอกสารบันทึกเมื่อปี 1963 กับการเริ่มต้นของ Deep Space Network เมื่อ 50 ปีที่แล้ว

เอกสารบันทึกเมื่อปี 1963 กับการเริ่มต้นของ Deep Space Network เมื่อ 50 ปีที่แล้ว

การก่อสร้างประกอบฐานเพื่อติดตั้งจานรับสัญญาณ DSS-14 เมื่อปี 1964

การก่อสร้างประกอบฐานเพื่อติดตั้งจานรับสัญญาณ DSS-14 เมื่อปี 1964

ในการปฏิบัติงานช่วงปีแรก ศูนย์เครือข่าย ได้ติดต่อสื่อสารกับยานสำรวจอวกาศ 3 ลำด้วยกัน ประกอบด้วย ยานมารีนเนอร์ 2 ยาน IMP-A และ ยานแอตลาส เซ็นธอร์ 2 แต่ ขณะนี้ต้องสื่อสารกับยานกว่า 33 ลำ ด้วยศูนย์จานสัญญาณ 3 จุดในโกลด์สโตน รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ใกล้กับกรุงแมดริด ประเทศสเปน และ ใกล้กรุงแคนเบอร่า ประเทศออสเตรเลีย ทำให้สามารถครอบคลุมระบบสุริยะแบบตามเข็มนาฬิกา

 

ภาพดางอังคารใบแรก ที่ได้จากการประมวลสัญญาณวิทยุที่ส่งมาในระบบดิจิตอล ที่ส่งมาจากยานมารีนเนอร์ 4

ภาพดางอังคารใบแรก ที่ได้จากการประมวลสัญญาณวิทยุที่ส่งมาในระบบดิจิตอล ที่ส่งมาจากยานมารีนเนอร์ 4

"ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ" เมือ Deep Space Network รับและทวนสัญญาณถ่ายทอดสด ขณะที่มนุษย์อวกาศ นีล อาร์มสตรองเหยียบดวงจันทร์

ในระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา จานสัญญาณของ Deep Space Network ได้มีการติดต่อสื่อสารตั้งแต่การการเดินทางไปดวงจันทร์ และการสำรวจหห้วงอวกาศที่ลึกออกไป โดยไฮไลต์ช่วงเวลาที่สำคัญคือการ ทวนสัญญาณ ขณะที่ นีล อาร์มสตรอง ก้าวสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์ ในประโยคที่ว่า "ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ" (giant leap for mankind) การส่งข้อมูลจำนวนมากจากดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเรา การติดต่อรับภาพที่ถ่ายจากยานโรเวอร์ที่แล่นสำรวจบนดาวอังคาร และทวนสัญญาณที่ยืนยันว่า ยานวอยเอนเจอร์ 1 ขององค์การนาซา ได้เดินทางทะลุผ่านขอบสุริยะเป็นที่เรียบร้อย

 

ภาพถ่ายดาวพุธ จากยานมารนเนอร์ 10 ระว่างการโคจรรอบดาวพุธช่วงปี 1974-1975 จากระยะห่าง 125,000 ไมล์

ภาพถ่ายดาวพุธ จากยานมารนเนอร์ 10 ระว่างการโคจรรอบดาวพุธช่วงปี 1974-1975 จากระยะห่าง 125,000 ไมล์

ภาพแรกของพื้นผิวดาวอังคารหลังจากยานสำรวจไวกิ้ง 1 ลงจอดได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ปี1976

ภาพแรกของพื้นผิวดาวอังคารหลังจากยานสำรวจไวกิ้ง 1 ลงจอดได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ปี1976

ภาพดาวพฤหัสที่ได้รับการประมวลผลทำเป็นภาพสีในปี 1990 หลังจากที่ยานสำรวจอวกาศวอยเอนเจอร์ 1 ถ่ายมาเมื่อปี 1979

ภาพดาวพฤหัสที่ได้รับการประมวลผลทำเป็นภาพสีในปี 1990 หลังจากที่ยานสำรวจอวกาศวอยเอนเจอร์ 1 ถ่ายมาเมื่อปี 1979

องค์การอวกาศในยุโรป ญี่ปุ่น และรัสเซีย ต่างก็ได้อาศัย Deep Space Network เวลาที่วางแผนและติดต่อสื่อสารกับการปฏิบัติภารกิจของตัวเองในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมทั้ง Deep Space Network ได้ถูกใช้งานในภารกิจยานสำรวจดาวอังคารลำแรกของอินเดียเช่นกัน

และปัจจุบัน ห้องทดลองวิจัยแรงขับดัน (JPL) หน่วยงานภายใต้สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ในเมืองพาซาดีน่า เป็นผู้จัดการ Deep Space Network แก่ทางนาซา

 

การค้นพบการปะทุของภูเขาไฟบนดางจันทร์ไอโอ บริวารของดาวพฤหัส ถ่ายไว้โดยสารวอยเอนเจอร์ 1

การค้นพบการปะทุของภูเขาไฟบนดางจันทร์ไอโอ บริวารของดาวพฤหัส ถ่ายไว้โดยสารวอยเอนเจอร์ 1

เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ปี 1980 ยานวอยเอนเจอร์ 1 ได้ถ่ายภาพดาวเสาร์ พร้อมวงแหวนได้

เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ปี 1980 ยานวอยเอนเจอร์ 1 ได้ถ่ายภาพดาวเสาร์ พร้อมวงแหวนได้

ภาพถ่ายดาวยูเรนัส เมื่อ 10 ม.ค.ปี 1986 โดยสานวอยเอนเจอร์ 2 ยานสำรวจอวกาศลำเดียวที่เดินทางไปถึง โดยทั้ง 2 ภาพเป็นการเปรียบเทียบระหว่างภาพซ้ายที่เป็นการทมองเห้นด้วยตาเปล่า กับภาพขวาที่ถ่ายจากยาน

ภาพถ่ายดาวยูเรนัส เมื่อ 10 ม.ค.ปี 1986 โดยสานวอยเอนเจอร์ 2 ยานสำรวจอวกาศลำเดียวที่เดินทางไปถึง โดยทั้ง 2 ภาพเป็นการเปรียบเทียบระหว่างภาพซ้ายที่เป็นการทมองเห้นด้วยตาเปล่า กับภาพขวาที่ถ่ายจากยาน

เมื่อวันที่ 16-17 สิงหาคมปี 1989 ยานวอยเอนเจอร์ 2 ได้เดินทางมาถึงดาวเนปจูน และได้ถ่ายภาพจากระยะห่าง 4.4 ล้านไมล์

เมื่อวันที่ 16-17 สิงหาคมปี 1989 ยานวอยเอนเจอร์ 2 ได้เดินทางมาถึงดาวเนปจูน และได้ถ่ายภาพจากระยะห่าง 4.4 ล้านไมล์

ภาพถ่ายของดาวเคราะหืในระบบสุริยะทั้ง 6 ดวงจากยานวอยเอนเจอร์ 1 ในปี 1990

ภาพถ่ายของดาวเคราะหืในระบบสุริยะทั้ง 6 ดวงจากยานวอยเอนเจอร์ 1 ในปี 1990

ภาพดาวศุกร์จากโครงการแมคเจลแลน ของนาซา ในปี 1991 แสดงภาพพื้นผิวของดาวศุกร์ทั้งดวง

ภาพดาวศุกร์จากโครงการแมคเจลแลน ของนาซา ในปี 1991 แสดงภาพพื้นผิวของดาวศุกร์ทั้งดวง

ภาพจากยานออปเปอร์ทูนิตี้ ยานโรเวอร์สำรวจดาวอังคาร ในปี 2004

ภาพจากยานออปเปอร์ทูนิตี้ ยานโรเวอร์สำรวจดาวอังคาร ในปี 2004

ภาพการตามล่าดาวหาง เทมเพิล-วัน โดยยานอวกาศดีพอิมแพค ใน 67 วินาทีหลังจากส่งยานลูกไปพุ่งชน

ภาพการตามล่าดาวหาง เทมเพิล-วัน โดยยานอวกาศดีพอิมแพค ใน 67 วินาทีหลังจากส่งยานลูกไปพุ่งชน

ภาพความคมชัดสูงของหลุมอุกาบาต วคตอเรียน จากยานอวกาศ Mars Reconnaissance Orbiter ของนาซาเมื่อปี 2009

ภาพความคมชัดสูงของหลุมอุกาบาต วคตอเรียน จากยานอวกาศ Mars Reconnaissance Orbiter ของนาซาเมื่อปี 2009

ภาพเซลฟี่ของยานโรเวอร์ชื่อดัง Mars rover Curiosity ถ่ายโดย rovers Mars Hand Lens Imager (MAHLI) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ปี 2013

ภาพเซลฟี่ของยานโรเวอร์ชื่อดัง Mars rover Curiosity ถ่ายโดย rovers Mars Hand Lens Imager (MAHLI) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ปี 2013

เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ปี 2013 ยานแคสสินี ถ่ายภาพโลกจากดาวเสาร์

เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ปี 2013 ยานแคสสินี ถ่ายภาพโลกจากดาวเสาร์

ภาพนี้แสดงให้เห็นความทุ่มเทของสิ่งอำนวยความสะดวกการดำเนินการเที่ยวบินอวกาศของห้องทดลองจรวดขับดันที่นาซาในปี 1964 สถานที่นี้เป็นศูนย์ประสาทของ Deep Space Network ของนาซ่าและเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมในช่วงเหตุการณ์การปฏิบัติภารกิจที่สำคัญเช่นการลงจอด

ภาพนี้แสดงให้เห็นความทุ่มเทของสิ่งอำนวยความสะดวกการดำเนินการเที่ยวบินอวกาศของห้องทดลองจรวดขับดันที่นาซาในปี 1964 สถานที่นี้เป็นศูนย์ประสาทของ Deep Space Network ของนาซ่าและเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมในช่วงเหตุการณ์การปฏิบัติภารกิจที่สำคัญเช่นการลงจอด

ลูกเรือกำลังทำงานอยู่บนเสาอากาศที่เรียกว่า DSS-62 ที่ Deep Space Network  ของนาซาที่นอกกรุงแมดริด  สเปน ในปี 1970เสาอากาศ DSN ในสเปนเริ่มการติดตามครั้งแรกในปี 1965

ลูกเรือกำลังทำงานอยู่บนเสาอากาศที่เรียกว่า DSS-62 ที่ Deep Space Network ของนาซาที่นอกกรุงแมดริด สเปน ในปี 1970เสาอากาศ DSN ในสเปนเริ่มการติดตามครั้งแรกในปี 1965

นาซาอัพเกรดจานรับสัญญาณ DSS-14 ที่โกลด์สโตน เพื่อรองรับการส่งภาพจากดาวเนปจูนของยานวอยเอนเจอร์ 2 โดยขยายจากจากกว้าง 210ฟุต เป็น 230 ฟุต เมื่อปี 1989

นาซาอัพเกรดจานรับสัญญาณ DSS-14 ที่โกลด์สโตน เพื่อรองรับการส่งภาพจากดาวเนปจูนของยานวอยเอนเจอร์ 2 โดยขยายจากจากกว้าง 210ฟุต เป็น 230 ฟุต เมื่อปี 1989

ภาพถ่ายทางอากาศ ฐาน Deep Space Network ของนาซา ที่นอกเมืองแคนเบอร์ร่า ออสเตรเลีย ในปี 1997 โดยฐานแห่งนี้เปิดดำเนินการเมื่อปี 1965

ภาพถ่ายทางอากาศ ฐาน Deep Space Network ของนาซา ที่นอกเมืองแคนเบอร์ร่า ออสเตรเลีย ในปี 1997 โดยฐานแห่งนี้เปิดดำเนินการเมื่อปี 1965

ที่มา http://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?release=2013-378
ภาพโดย : NASA Jet Propulsion Laboratory: JPL (http://www.jpl.nasa.gov/dsn50/)

 



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.