เทคนิค สุดเจ๋ง! ป้องกัน เจ็ตแล็ก เพื่อนักเดินทาง
 


เทคนิค สุดเจ๋ง! ป้องกัน เจ็ตแล็ก เพื่อนักเดินทาง


เทคนิค สุดเจ๋ง! ป้องกัน เจ็ตแล็ก เพื่อนักเดินทาง

การขึ้นเครื่องบินเดินทางไกล มักสร้างอาการแบบหนึ่งให้เกิดขึ้นกับนักเดินทางเมื่อไปถึงจุดหมายแล้ว อาการที่ว่านั้นเรียกกันว่า เจ็ตแล็ก (Jet Lag) เป็นความรู้สึกเหนื่อยไม่รู้หาย วิงเวียน ป้ำๆ เป๋อๆ หลงลืมไปชั่วขณะ หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียโดยไม่มีสาเหตุ กลางคืนนอนไม่หลับแต่กลางวันง่วงหาว...

Skyscanner จึงได้เผยสุดยอดเทคนิคป้องกันเจ็ตแล็กที่ได้ผลที่สุด เทคนิคที่นักเดินทางมักจะใช้มีตั้งแต่การยืดเส้นยืดสายเบาๆ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

ผลการสำรวจของ Skyscanner เว็บไซต์ค้นหาตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และรถเช่าชั้นนำของโลก ได้เปิดเผยวิธีป้องกันการเกิดอาการเจ็ตแล็ก (Jetlag) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาผู้โดยสารเครื่องบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

โดยการสำรวจครั้งนี้ได้สอบถามผู้โดยสารเครื่องบิน จำนวน 6,000 คน ซึ่งมีจำนวน 4 ใน 5 ที่เคยเดินทางเที่ยวบินระยะไกลในช่วงปีที่ผ่านมา และโดยเฉลี่ยแล้วพวกเขาใช้เวลา 2.3 วัน ในการฟื้นจากอาการเจ็ตแล็ก

พบว่าเทคนิคการป้องกันอาการเจ็ตแล็กที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด คือ การรับประทานอาหารสดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในมื้อเบาๆ โดยมีผู้ถูกสำรวจร้อยละ 66 ได้ทดลองใช้วิธีนี้และมันก็ได้ผลจริงๆ ตามมาติดๆ ด้วยร้อยละ 65 ของผู้ถูกสำรวจที่อาศัยการยืดเส้นยืดสายและออกกำลังกายเบาๆ ระหว่างที่อยู่บนเครื่องบิน อีกร้อยละ 58 จะตั้งเวลานาฬิกาให้ตรงกับเวลาของจุดหมายที่พวกเขาจะไป ร้อยละ 51 บอกว่าพวกเขาทำตัวให้ตื่นตลอดเวลาที่อยู่บนเครื่องบิน และอีกร้อยละ 45 จะออกกำลังกายและสูดอากาศบริสุทธิ์ก่อนที่จะขึ้นเครื่อง

ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือร้อยละ 20 ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่า พวกเขาได้ทดลองรับประทานยาไวอะกร้า (Viagra) เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากเจ็ตแล็ก ทั้งนี้เนื่องจากมีรายงานหลายชิ้นระบุว่า การรับประทานยาไวอะกร้าสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็ตแล็กได้ มีร้อยละ 32 รับประทานยานอนหลับ อีกร้อยละ 31.7 ใช้สมุนไพรในการรักษา ขณะที่อีกร้อยละ 27 รับประทานยาป้องกันเจ็ตแล็ก และอีกร้อยละ 22 รับประทานเมลาโทนิน (Melatonin)

 

นอกจากนี้ผู้ถูกสำรวจยังได้จัดอันดับวิธีป้องกันเจ็ตแล็กที่ได้ผลที่สุด ถึงแม้ว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่จัดให้การออกกำลังกายเบาๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม แต่มีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ได้ลองทำวิธีนี้แล้วพบว่าได้ผลในการบรรเทาอาการต่างๆ จากการเดินทางระยะไกล

ผลการสำรวจยังได้เปิดเผยข้อมูลที่ชวนฉงนของการดื่มแอลกอฮอล์ที่ความสูง 30,000 ฟุต ซึ่งปรากฏว่าผู้โดยสารกว่าร้อยละ 33 ระบุว่าพวกเขาดื่มแอลกอฮอล์เพื่อที่จะช่วยแก้อาการเจ็ตแล็ก แต่มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น (ร้อยละ 13 ที่บอกว่าวิธีนี้ได้ผล อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 41 ของผู้ถูกสำรวจบอกว่าพวกเขาหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์บนเครื่องบิน โดยมีเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 19) ยอมรับว่าพวกเขาสามารถจัดการกับอาการเจ็ตแล็กได้

ด้าน นายโทนี่ เกราร์แดง (Tony Gherardin) ที่ปรึกษาทางการแพทย์แห่งชาติ ประจำ Travel Doctor – TMC (www.traveldoctor.com.au) ได้แนะนำเทคนิคในการรับมืออาการเจ็ตแล็กที่อยู่หมัดว่า “ในทางทฤษฎีแล้ว การที่จะป้องกันอาการเจ็ตแล็ก เราควรจะเริ่มต้นปฏิบัติตัวให้เหมือนกับที่เราจะปฏิบัติเมื่ออยู่ที่จุดหมายปลายทาง ก่อนที่จะออกเดินทางจากบ้าน นั่นคือ รับประทานอาหารและนอนหลับหรือพักผ่อนในเวลาเดียวกันกับที่เราจะทำเมื่อถึงที่หมายปลายทางแล้ว แน่นอนว่าสิ่งที่กล่าวมานั้นเราทำไม่ได้ที่บ้าน หรือแม้แต่ตอนบินอยู่ก็ตาม”

 

“วิธีรับมือที่จะได้ผลดีอย่างสมเหตุสมผลก็คือรับประทานอาหารแต่น้อยและอย่าให้ขาดน้ำ หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักและแอลกอฮอลล์ การรับประทานยานอนหลับหรือเมลาโทนินในระดับที่ปลอดภัยทันทีที่ถึงจุดหมายปลายทางจะช่วยให้ร่างกายของคุณปรับเข้ากับโซนเวลาได้ดี” โทนี่กล่าวเพิ่มเติม

ส่วน นางสาวภพปภา อารีรัตน์ ผู้จัดการพัฒนาตลาดประเทศไทยของ Skyscanner กล่าวว่า “เทศกาลวันหยุดสิ้นปีก็ใกล้เข้ามาแล้ว หลายคนอาจจะกำลังเตรียมตัวเดินทางไกล ซึ่งผลสำรวจของเราก็ได้แสดงให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากต่างก็มีหลากหลายวิธีที่จะเอาชนะอาการเจ็ตแล็ก แต่ก็ใช่ว่ามันจะใช้ได้ผลกับทุกคน”



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.