รณรงค์ใช้การออกกำลังกาย รักษาฟื้นฟูผู้ป่วย
 


รณรงค์ใช้การออกกำลังกาย รักษาฟื้นฟูผู้ป่วย


รณรงค์ใช้การออกกำลังกาย รักษาฟื้นฟูผู้ป่วย


จากสถิติคนไทยเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อ ที่เกี่ยวกับการถดถอยของร่างกายและเสื่อมสภาพเพิ่มสูงขึ้น จาก 676 คน ต่อ 100,000 คน ในปี 2551 เป็น 1,050 คน ต่อ 100,000 คน ในปี 2555 เป็นเพราะขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ทำให้ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโต้โผร่วมกับเครือข่าย คือ ม.ขอนแก่น, ม.ธรรมศาสตร์, ม.นเรศวร, ม.วลัยลักษณ์, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย และกลุ่มธุรกิจ โคคา-โคลา ประเทศไทย จัดทำโครงการ “Exercise is Medicine” ขึ้นเป็นครั้งแรก พร้อมผลักดันให้ “การสั่งการออกกำลังกาย” (Exercise Prescription) เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์นำไปใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการป้องกันและรักษาโรค ซึ่งได้เปิดตัวโครงการฯไปเมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี้

ศ.นพ.อรรถ นานา

ศ.นพ.อรรถ นานา


ศ.นพ.อรรถ นานา คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ม.มหิดล กล่าวถึงโครงการนี้ว่า โครงการ Exercise is Medicine ก่อตั้งโดย วิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาแห่งสหรัฐอเมริกา (American College of Sports Medicine หรือ ACSM) โดยมี เดอะ โคคา-โคลา คอมพะนี เป็นหนึ่งในองค์กรร่วมก่อตั้ง มีวัตถุประสงค์ จากหลายๆโรคที่คนไข้ป่วยนั้น สามารถฟื้นฟูสภาพให้ดีขึ้นได้โดยใช้การออกกำลังกาย หรือการมีกิจกรรมทางกายที่สม่ำเสมอเป็นระยะเวลายาว จะสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ อาทิ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน, เบาหวาน, กระดูกพรุน เหตุนี้ วิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาแห่งสหรัฐอเมริกา จึงรณรงค์ให้เกิดการใช้กิจกรรมทางกายมารักษาหรือป้องกันโรค และมีแพทย์ท่านหนึ่งได้จุดประกายให้กับโครงการ Exercise is Medicine โดยการนำใบสั่งยามาจดสั่งการออกกำลังให้คนไข้ เช่น ออกกำลังครั้งละ 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลปรากฏออกมาพบว่า คนไข้มีน้ำหนักตัวลดลง น้ำตาลลดลงกว่าเดิม ดังนั้น โครงการนี้จึงเป็นโครงการที่ให้ความรู้และกระตุ้นให้บุคลากรสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้องว่า ต้องบอกคนไข้ถึงชนิดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

อาจารย์อรรถยังกล่าวต่อว่า ระยะแรกของโครงการ “Exercise is Medicine” ในไทยนั้น ได้ตั้งเป้าจัดการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่อง เพื่อจะนำไปสู่การ “สั่งการออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสมกับคนไข้” แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะในระดับที่สามารถกำหนดการออกกำลังกายให้คนไข้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ โดยหวังว่า โครงการนี้จะทำให้เกิดผลดีกับประชากรไทยส่วนรวม ทำให้สุขภาพของเราทุกคนดีขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.