เปิดตัว 4 นักวิจัยสตรีไทยรับทุน ลอรีอัล
 


เปิดตัว 4 นักวิจัยสตรีไทยรับทุน ลอรีอัล


เปิดตัว 4 นักวิจัยสตรีไทยรับทุน ลอรีอัล

ดร.ธริดาพร บัวเจริญ

ดำเนินการมอบทุนวิจัยและร่วมยกย่องบทบาทสตรีไทยในวงการวิทยาศาสตร์ ในการสร้างผลงานอันเป็นคุณประโยชน์ต่อสังคมต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 11 แล้ว สำหรับ โครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” โดย บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ สำนักเลขาธิการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศรายชื่อนักวิทยาศาสตร์สตรีไทยที่ได้รับทุนโครงการ “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2556 ที่โรงแรมดับเบิลยู สาทร เมื่อเร็วๆนี้

ผศ.ทพญ.ดร.ศรัณยา ตันเจริญ

ผศ.ทพญ.ดร.ศรัณยา ตันเจริญ

ดร.จิตติมา พิริยะพงศา

ดร.จิตติมา พิริยะพงศา

ดร.ศรชล โยริยะ

ดร.ศรชล โยริยะ


สำหรับนักวิทยาศาสตร์สตรีที่ได้รับมอบทุนวิจัยในปีนี้จำนวน 250,000 บาทต่อทุน มีทั้งหมด 4 คนจาก 3 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จำนวน 2 คนได้แก่ ผศ.ทพญ.ดร.ศรัณยา ตันเจริญ จากภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีผลงานวิจัยหัวข้อ “การผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดี้ ที่จำเพาะกับเปปไทต์ขนาดเล็กสำหรับรักษาโรคปริทันต์อักเสบชนิดลุกลาม” ซึ่งได้กล่าวว่า โรคปริทันต์อักเสบไม่ใช่ส่งผลต่อช่องปากเท่านั้น แต่ส่งผลทำให้เกิดผลต่อโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ด้วยงานวิจัยนี้เป็นงานค่อนข้างใหม่ จึงอยากให้งานวิจัยนำมาพัฒนา เพื่อทำให้เกิดเป็นวัคซีนป้องกันโรคต่อไป และอยากผลักดันงานวิจัยของไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ และผู้ที่ได้ทุนในสาขาเดียวกันนี้คือ ดร.จิตติมา พิริยะพงศา จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ที่ได้วิจัยหัวข้อ “การใช้เทคนิคชีวสารสนเทศในการศึกษาบทบาทและกลไกใหม่ของไมโครอาร์เอ็นเอ ในการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนยีนโปรโมเตอร์” กล่าวว่า หัวข้อวิจัยของตนเป็นการศึกษาโมเลกุลในร่างกาย ควบคุมการทำงานของยีนในร่างกาย มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งด้วย นอกจากนี้ ตนยังสนใจที่จะศึกษากลไกที่ค้นพบใหม่ ด้วยการเอาเทคนิคคอมพิวเตอร์มาช่วยการ
ทำงานให้รวดเร็วมากขึ้น หลายคนมองว่า วิทยาศาสตร์ไกลตัว แต่จริงแล้ววิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเรา ผลงานการวิจัยต่างๆส่งผลต่อชีวิตทุกคนในสังคม อยากให้มีการผลิตงานวิจัยและนักวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ส่วนสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ดร.ธริดาพร บัวเจริญ จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. ซึ่งได้วิจัยหัวข้อ “การค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย” กล่าวว่า ในฐานะนักวิจัยเราอยากค้นพบอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เพื่อที่จะทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสุดท้าย สาขาวัสดุศาสตร์ ได้แก่ ดร.ศรชล โยริยะ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ มีผลงานวิจัยหัวข้อ “โครงการการขึ้นรูปฟิล์มท่อนาโนไทเทเนียม และการประยุกต์ใช้งานด้านชีวการแพทย์” กล่าวว่า  เสน่ห์ของงานวิทยาศาสตร์ คือ ความใหม่และความท้าทาย มีโจทย์ให้เราได้แก้ปัญหา เมื่อเราแก้และได้ก้าวไปทีละขั้น เราก็เกิดความภูมิใจ ซึ่งตนก็หวังว่างานวิจัยของตนจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในทางการแพทย์ต่อไปได้.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.