นิติวิทยาศาสตร์ -มก.คิดชุดตรวจสอบวัตถุระเบิดได้สำเร็จ
 


นิติวิทยาศาสตร์ -มก.คิดชุดตรวจสอบวัตถุระเบิดได้สำเร็จ


นิติวิทยาศาสตร์ -มก.คิดชุดตรวจสอบวัตถุระเบิดได้สำเร็จ

นิติวิทยาศาสตร์ -มก. ทดลองสำเร็จชุดตรวจสอบชนิดระเบิด เห็นผลเร็วภายใน 1 นาที Ffpอาศัยสมบัติทางเคมีพื้นฐานของสารวัตุระเบิด แต่ละชนิดมาทำปฏิกิริยากับ น้ำยาเคมีเพื่อให้เกิดปรากฏการณ์เรดชิพท์และบลูชิพท์ และเป็นสีที่เกิดจำเพาะกับชนิดของระเบิดแต่ละชนิด...

ในปัจจุบัน รูปแบบของการก่อการร้ายมักมีการใช้วัตถุระเบิดให้เห็นบ่อยครั้ง โดยการครอบครองวัตถุระเบิดของผู้ต้องสงสัย มักจะเก็บในรูปแบบของสารที่ทำให้ระเบิด (Explosive Materials) เช่น ดินระเบิด (Bursting Charges) ดินส่ง (Propellants)  ซึ่งเป็นวัตถุที่มองด้วยตาเปล่าแล้วไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นวัตถุระเบิดหรือไม่ การเข้าจับกุมผู้ครอบครองวัตถุระเบิดเกิดปัญหาขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทันทีว่า วัตถุสารเคมีที่ผู้ต้องสงสัยครอบครอง เป็นวัตถุระเบิดหรือไม่ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมต้องส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ โดยใช้เวลาในการทราบผลประมาณ 5 วันทำการ

แต่ล่าสุด หลักสูตร นิติวิทยาศาสตร์ หน่วยวิจัยเคมีอินทรีย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ และ ร้อยเอกนวินภพ  ปานะวิภาต จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ประสบความสำเร็จในการทำชุดตรวจสอบวัตถุระเบิดขึ้น โดยเห็นผลเร็วภายใน 1 นาที

รศ.ดร.วีรชัย กล่าวว่า ชุดตรวจสอบวัตถุระเบิดนี้ ได้อาศัยสมบัติทางเคมีพื้นฐานของสารวัตุระเบิดแต่ละชนิดมาทำปฏิกิริยากับ น้ำยาเคมีที่เตรียมขึ้น เพื่อให้เกิดปรากฏการณ์เรดชิพท์และบลูชิพท์ (Redshift and Blueshift) คือ เปลี่ยนจากสารละลายที่ไม่มีสีกลายเป็นมีสี และเป็นสีที่เกิดจำเพาะกับชนิดของระเบิดแต่ละชนิด โดยในเบื้องต้นสามารถแยก ชนิดของระเบิดอำนาจสูง (High Explosive) ได้แก่ TNT , P.E.T.N. , Dynamite , RDX ได้อย่างชัดเจน.



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.