เปิดภารกิจ "เบญจา หลุยเจริญ" อุดช่องโหว่เก็บภาษี-กู้ภาพสรรพากร
 


เปิดภารกิจ "เบญจา หลุยเจริญ" อุดช่องโหว่เก็บภาษี-กู้ภาพสรรพากร


เปิดภารกิจ

หลัง ตอบรับคำเชิญของนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม "ครม.ยิ่งลักษณ์ 5" จนต้องลาออกจากราชการก่อนถึงวันเกษียณ 3 เดือน มาสวมหมวกใบใหม่ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง "เบญจา หลุยเจริญ" ได้รับมอบภารกิจงานจากขุนคลังให้รับผิดชอบหน่วยงานสำคัญ ทั้งกรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมบัญชีกลาง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)





  หลัง เข้ารับตำแหน่งเกือบ 2 เดือนเต็ม "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์ "รมช.คลัง หญิง    แกร่ง" ถึงภารกิจในระยะข้างหน้า ซึ่ง "เบญจา" บอกว่า ภารกิจแรกคือต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละหน่วยงาน เริ่มจากด้าน "รายได้" ที่กำกับดูแล 2 กรม คือ กรมสรรพากร และกรมศุลกากร เพื่อที่จะจัดเก็บรายได้ให้ได้ตามเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม สำหรับช่วงที่เหลืออีก 2 เดือนของปีงบประมาณ 2556 ภาพรวมไม่น่าห่วง เพราะเก็บรายได้เกินเป้าอยู่กว่า 8 หมื่นล้านบาท ภาพรวมที่คลังรับผิดชอบ รวมทั้งรายได้รัฐวิสาหกิจคงไม่มีปัญหา เพราะรายได้เกินอยู่ และในเดือน ส.ค.ก็จะมีรายได้ภาษีนิติบุคคลเข้ามา และเดือน ก.ย.ก็จะมีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 เข้ามา

งัดสารพัดมาตรการรับมือเก็บภาษีปี"57

ใน สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่ปีงบประมาณใหม่ (2557) ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ รัฐบาลตั้งเป้าหมายเก็บรายได้สูงถึง 2.275 ล้านล้านบาท โดยเป็นส่วนของกรมสรรพากร 1.89 ล้านล้านบาท และกรมศุลกากร 1.31 แสนล้านบาท "เบญจา" ยอมรับว่า คิดไว้หลายมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ อย่างเช่น จะให้กรมสรรพากรกับกรมศุลกากรจัดตั้งคณะกรรมการประสานข้อมูลฐานภาษีร่วมกัน ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องของผู้เสียภาษีได้ทั้งระบบ เรื่องนี้น่าจะชัดเจนภายใน 3 เดือน

"อยากให้มีการทำงานร่วมกันจริง ๆ ตอนเราเป็นข้าราชการรู้เลยว่าบางเรื่องข้อมูลมันขาดตอน เหมือนกับจิ๊กซอว์ที่เป็นช่องว่างอยู่ ถ้ามาแชร์ข้อมูลกันก็จะทำให้การตรวจสอบข้อมูลสมบูรณ์มากขึ้น เช่น กรณีผู้นำเข้าเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี

เวลาเข้ากรมศุลฯอาจสำแดง ราคาต่ำ ซึ่งพอมาลงบัญชีก็จะต้องมีต้นทุนต่ำ ก็ต้องโชว์กำไรเยอะ พวกนี้ก็จะมีการสร้างรายจ่ายตัวอื่นขึ้นมาเพื่อที่จะเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลต่ำ ๆ ตรงนี้ถ้าเราทำงานร่วมกันได้จริง ๆ ตามนั้นก็โอเค"

นอก จากนี้ ยังมีแนวคิดที่จะให้ทั้ง 2 หน่วยงานร่วมกันในอีกหลายเรื่อง เพื่อให้เห็นภาพทั้งกระบวนการ ซึ่งผลของการทำงานลักษณะนี้เพราะต้องการให้ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่รู้ ว่า อะไรที่ทำไม่ได้ไม่ควรจะหลบเลี่ยง หากทำอยู่ก็ต้องหยุด แล้วเดินหน้าอย่างถูกต้อง

จัดระบบพิธีการ "รถนำเข้า" ใหม่

ขณะ ที่ในส่วนกรมศุลกากร "เบญจา" ได้ให้ตั้งคณะทำงานมาตรฐานพิธีการแบบแยกรายสินค้า โดยเฉพาะตอนนี้สินค้าที่มีปัญหามาก คือ รถยนต์นำเข้า ซึ่งจะทำให้ชัดเจนว่าการนำเข้ารถจะต้องมีพิธีการอะไรบ้าง รวมทั้งปรับปรุงระบบไอทีของกรมศุลกากรให้รัดกุมมากขึ้นด้วย

ล่าสุด ได้มีการหารือกับ รมว.คมนาคม ที่ดูแลกรมการขนส่งทางบก ที่จะให้มีการออนไลน์ "แบบ 32" (ใบรับรองการนำเข้ารถ) ซึ่งเป็นแบบฟอร์มที่ออกให้แก่รถนำเข้าที่ต้องนำ

ไปใช้ยื่นจดทะเบียน กับกรมขนส่งฯ เพราะที่ผ่านมาเกิดปัญหามีการแก้ไขแบบ 32 ตอนที่ไปจดทะเบียนกับกรมขนส่งฯ เพราะตอนที่นำเข้าจะสำแดงเป็นรุ่นรถยนต์ราคาถูก เพื่อที่จะให้เสียภาษีนำเข้าได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ออกข้อกำหนดว่า ต่อไปนี้แบบ 32 ที่มีการขูดลบขีดฆ่าให้ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้นก่อนมีการปรับระบบ

เข็นระบบไอทีสรรพากรอุดรูรั่ว

พร้อม กันนี้ได้สั่งการให้สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ (LTO) ของกรมสรรพากร ไปใช้วิธีประเมินภาษีเป็นรายบริษัทมาให้ดู เพื่อที่จะได้เห็นข้อมูลเปรียบเทียบว่าบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายมีการจ่ายภาษี เพิ่มขึ้นลดลงอย่างไร LTO มีความสำคัญ เพราะจากจำนวนกว่า 2,000 บริษัท คิดเป็น 70% ของภาษีสรรพากรทั้งหมด

นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงระบบไอทีของสรรพากรครั้งใหญ่ โดยได้อนุมัติวงเงินกู้ประมาณ 2 พันล้านบาทแล้ว เพื่อเชื่อมโยงระบบข้อมูลซึ่งจะนำไปใช้จัดทำระบบ "สอบยันแบบฯ" การยืนภาษีซื้อ-ภาษีขายของแต่ละบริษัท และเดิมที่ยื่นแค่แบบฯ ภ.พ.30 เพียงอย่างเดียว ต่อไปนี้จะต้องแนบ Sotf file มาด้วย อย่างไรก็ดี การดำเนินการ

นี้ต้องดูที่ความพร้อมของผู้ประกอบการด้วย เพราะรายใหญ่อาจจะพร้อม แต่พวกผู้ประกอบการรายย่อยต้องดูว่าจะให้ "แรงจูงใจ" แก่ผู้ประกอบการเหล่านี้อย่างไร

ขณะเดียวกัน มีแนวคิดจะนำ "บัตรภาษี" (Tax Card) มาใช้ โดยแจกให้ผู้เสียภาษีสำหรับใช้รูดสะสมคะแนน เมื่อซื้อสินค้าจากร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการซื้อขายสินค้าของผู้ประกอบการได้ ส่วนผู้เสียภาษีที่ได้คะแนนสะสม สรรพากรก็ไปให้เป็นสิทธิประโยชน์ เช่นหักลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในรายละเอียดจะต้องคิดกันอีกพอสมควร เพราะต้องดูว่าจะจูงใจให้ร้านค้าโดยเฉพาะร้านขนาดเล็กติดตั้งเครื่องรูดบัตร ได้อย่างไร

รวมทั้งมีนโยบายให้กรมสรรพากรไปดูนิติบุคคลที่จดทะเบียน จัดตั้งอยู่ในระบบแต่ยังไม่เคยเสียภาษี มาจัดทำเป็นฐานข้อมูลแจกแจงรายละเอียดไว้ว่าระหว่างปีมีรายได้เป็นอย่างไร

เร่งฟื้นภาพลักษณ์สรรพากร

นอก จากนี้ รมช.คลังเห็นว่า โจทย์สำคัญอีกเรื่องของกรมศุลกากรและกรมสรรพากร คือ ต้องแก้ภาพลักษณ์ของหน่วยงาน อย่างกรมศุลฯถูกมองภาพที่ไม่ค่อยดี แต่จากที่ได้ไปทำงานทำให้เห็นว่า ภาพไม่ได้เป็นอย่างที่คนนอกมอง

ตอน เป็นอธิบดีกรมศุลฯก็บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า "พวกคุณต้องช่วยกันทำให้คนนอกมองกรมอย่างที่กรมเป็น แต่ไม่ใช้ให้คนนอกมองอย่างที่คนนอกคิดอยากให้กรมเป็น เพราะในกรมไม่ได้เลวร้าย โดยมุ่งเน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเพื่อให้คนนอกเห็น"

ขณะ ที่กรมสรรพากรตอนนี้ภาพลักษณ์ก็แย่มากในสายตาคนข้างนอก จากที่มีข่าวการทุจริตการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งก็ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ขวัญเสียกันมาก ดังนั้นจะต้องเร่งฟื้นฟู และต้องหาระบบมา "บล็อก" การทุจริตให้ได้ทั้งหมด รวมถึงเร่งสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากทำถูกก็ต้องได้รับการปกป้อง

ผลที่ตามมาตอน นี้คือ เมื่อเจ้าหน้าที่ขวัญเสียก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าคืนภาษี จะเข้มงวดมาก ๆ จนไปกระทบกับผู้ประกอบการที่สุจริตทันที ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มมีเสียงสะท้อนเข้ามาแล้วว่า การคืนภาษีให้กับผู้ประกอบการล่าช้ามาก แม้ว่ามีวงเงินไม่มาก เพราะทุกคนขวัญเสีย

จับตาโยกย้ายข้าราชการคลัง

เมื่อพูดถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในระยะใกล้นี้ "เบญจา" ยอมรับว่า ต้องมีแน่นอน เพราะขณะนี้มีตำแหน่งอธิบดี

กรม ศุลฯที่ว่างอยู่ ส่วนกรมสรรพากรที่มีการตรวจสอบเรื่องโกงภาษีอยู่ก็ต้องให้ความเป็นธรรม และยืนยันว่าจะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะเป็นอำนาจของปลัดคลัง ไม่ใช่ฝ่ายการเมือง ซึ่งสุดท้ายหากมีการปรับย้ายของกรมสรรพากรก็ไม่ได้แปลว่าเพราะทำผิด เพราะจะผิดหรือถูกขึ้นกับผลสอบ แต่เผอิญเป็นจังหวะที่ต้องมีการปรับพอดี

"อย่างอธิบดีกรมสรรพากรก็เก่ง มีศักยภาพ ทีมเวิร์กก็โอเค แต่การปรับเปลี่ยนของกระทรวงเป็นเรื่องธรรมดา"

นอกจากนี้ รมช.คลังฝากแง่คิดทิ้งท้ายไว้ว่า "อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง ทุกที่ก็มีข้อดี"



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.