นักวิจัยพบคนยิ่งออนไลน์เฟซบุ๊กยิ่งเหงาและโดดเดี่ยว
 


นักวิจัยพบคนยิ่งออนไลน์เฟซบุ๊กยิ่งเหงาและโดดเดี่ยว


นักวิจัยพบคนยิ่งออนไลน์เฟซบุ๊กยิ่งเหงาและโดดเดี่ยว

นักวิจัยด้านสังคมออนไลน์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เผยผลการศึกษาผู้ใช้งานเฟซบุ๊กพบว่า คนจะใช้เฟซบุ๊กเมื่อมีความรู้สึกว่าเหงา โดดเดี่ยว แต่ยิ่งใช้เท่าไหร่ ยิ่งรู้สึกหดหู่ ท้อแท้ กับสิ่งที่เป็นประเด็นต่าง ๆ และมีแนวโน้มจะเป็นอาการ "กลัวการถูกทอดทิ้ง"...

สำนักข่าวบีบีซี อ้างรายงานของนักวิจัยด้านสังคมออนไลน์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ที่ศึกษาผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า คนจะใช้เฟซบุ๊กเมื่อมีความรู้สึกว่าเหงา โดดเดี่ยว แต่ยิ่งใช้เท่าไหร่ ยิ่งรู้สึกหดหู่ ท้อแท้ กับสิ่งที่เป็นประเด็นต่าง ๆ ถือว่าการใช้เฟซบุ๊กกลับทำให้เกิดผลทางลบมากกว่า

เฟซบุ๊กมีผู้ใช้ทั้งหมดกว่าพันล้านคนทั่วโลก แต่ละวันมีผู้ใช้ล็อกอินกว่าครึ่งหนึ่ง จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊กสำหรับการติดต่อกับเพื่อน ในจำนวนนี้มี 23% ใช้เพื่อหาเพื่อนใหม่ โดยผู้ใช้ 1 ใน 3 จะโพสต์สถานะและแชร์สิ่งดี ๆ บนไทม์ไลน์ของตัวเอง ขณะที่คนอีกกลุ่มใช้เพื่อระบายทุกข์ถึง 36%

นักวิจัย อธิบายว่า จากการสอบถามทางโทรศัพท์และพบกับผู้ที่ทำสำรวจ ผู้ใช้ต่างบอกเล่าว่าตนรู้สึกอย่างไร กังวลอะไร รู้สึกเหงาแค่ไหน เมื่อจะใช้เฟซบุ๊ก ผลปรากฏว่า ยิ่งผู้ใช้เล่นเฟซบุ๊กมากเท่าไหร่ ยิ่งรู้สึกแย่กว่าเดิมมากเท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่าผู้ใช้รู้สึกแย่มากขึ้นหรือน้อยลงจากเรื่องที่กังวล หรือไม่ และยังพบด้วยว่า ผู้ใช้ระดับความพึงพอใจในชีวิตลดลง ถึงแม้ว่า เฟซบุ๊กจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกมีพื้นที่ที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการยอมรับหรือการสื่อสาร แต่ดูเหมือนว่าจะกระทบต่อความเป็นอยู่ทางสังคมมากว่าการสื่อสารโดยตรงกับผู้คน ที่ไม่ได้ผลกระทบ

นักวิจัย อธิบายอีกว่า ยิ่งใช้เวลากับการเล่นเฟซบุ๊กเมื่อรู้สึกเหงาเท่าไหร่ ก็เหมือนยิ่งตอกย้ำอารมณ์ความรู้สึกนั้นต่อไปอีก และหากอยู่กับมันไปเรื่อย ๆ อาจจะเกิดอาการที่เรียกว่า “โฟโม” (FOMO: Fear of Missing Out) คือ การกลัวการถูกทอดทิ้ง

แกรแฮม โจนส์ นักจิตวิทยาอินเทอร์เน็ต หนึ่งในกลุ่ม สังคมจิตวิทยาอังกฤษ ซึ่งไม่ได้เป็นหนึ่งในผู้วิจัย กล่าวเพิ่มเติมว่า งานวิจัยนี้สะท้อนการใช้งานเฟซบุ๊กของคนบางกลุ่มเท่านั้น เพราะขณะเดียวกันเฟซบุ๊กก็ยังมีผลดีต่อผู้ใช้ด้วย.

 



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.