ใครต้านเจรจา
 


ใครต้านเจรจา


ใครต้านเจรจา
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8269 ข่าวสดรายวัน


ใครต้านเจรจา


คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
สมิงสามผลัด



มีความคาดหวังกันสูงอย่างยิ่งว่าช่วงถือศีลอด-เดือนรอมฎอน จะไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เพราะเมื่อสัปดาห์ก่อน มีการออกแถลงการณ์ร่วมระหว่างสมช.ของไทย กับแกนนำบีอาร์เอ็น

ประกาศยุติความรุนแรงในช่วงเดือนศักดิ์สิทธิ์

ตรงนี้ถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นของการเจรจาสันติภาพ

จะเห็นได้ว่าช่วงสัปดาห์แรกที่ปลอดความรุนแรง พี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็คลายความหวาดวิตกไปได้ช่วงหนึ่ง

เศรษฐกิจโดยเฉพาะการท่องเที่ยวดีดตัวขึ้นไปในทางบวกทันที

โรงแรมที่พักในเบตง-ยะลา มีนักท่องเที่ยวมาเลย์เข้าพักกันคึกคัก

แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ระเบิดทหารทั้งที่บันนังสตา ยะลา และเจาะไอร้อง นราธิวาส เมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา

สมช.ก็รีบประสานไปทางผู้อำนวยความสะดวกที่มาเลเซียให้ช่วยติดต่อแกนนำบีอาร์เอ็นว่าเป็นฝีมือของใคร

หากเป็นฝีมือแนวร่วมบีอาร์เอ็นจริง ก็แสดงว่า ในขบวนการบีอาร์เอ็นก็มีกลุ่มที่ต่อต้านการเจรจาสันติภาพ

ตรงจุดนี้เองก็เป็นเรื่องที่บีอาร์เอ็นต้องจัดการให้ได้ หากต้องการให้การเจรจาสันติภาพดำเนินต่อไป

แต่หากไม่ใช่ฝีมือบีอาร์เอ็นก็มีแนวโน้มสูงว่าอาจเป็นมือที่ 3

เป็นภัยแทรกแซง!?

ความจริงแล้วการต่อต้านการเจรจาในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ และไม่น่าแปลกใจที่มีปฏิกิริยาแบบนี้เกิดขึ้น

เพราะบีอาร์เอ็นเป็นการรวมตัวของแนวร่วมหลายกลุ่มย่อย

หากสามารถจัดการให้เป็นเอกภาพ

ปัญหาเรื่องการต่อต้านภาย ในก็จะลดลงไปเอง

แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในเวลานี้ คือการต่อต้านการเจรจาสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยิ่งลักษณ์

กลุ่มต่อต้านกลุ่มนี้ปฏิเสธการเจรจามาตั้งแต่แรก

ทั้งที่รู้ดีว่าไม่มีทางที่จะเกิดความสงบสุขขึ้นในชายแดนใต้ได้หากไม่ใช้วิธีเจรจา

แต่ก็ยังค้านแบบหัวชนฝา

วิเคราะห์ดูแล้วก็มีแค่เหตุผลเดียว

หากไฟใต้สงบ คนที่รับประโยชน์ไปเต็มๆ

ก็คือรัฐบาลยิ่งลักษณ์-พรรคเพื่อไทย


หน้า 6




// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.