เณรคำยังอุทธรณ์คณะสงฆ์ได้ภายใน 30 วัน
 


เณรคำยังอุทธรณ์คณะสงฆ์ได้ภายใน 30 วัน


เณรคำยังอุทธรณ์คณะสงฆ์ได้ภายใน 30 วัน

วันนี้ (16ก.ค.) นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า หลังจากที่คณะสงฆ์จ.อุบลราชธานี ฝ่ายธรรมยุต มีมติขับอดีตพระวิรพลออกจากสังกัดวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ขณะที่คณะสงฆ์จ.ศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต มีมติว่าอดีตพระวิรพลต้องอาบัติปาราชิก เนื่องจากมีการเสพเมถุนในพื้นที่การปกครองของคณะสงฆ์จ.ศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุตนั้น ในส่วนของการพิจารณาของคณะสงฆ์จ.ศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต หากดูตามระเบียบในกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม (พ.ศ.2521)  มีการระบุไว้ในหมวด 3 วิธีการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม มีขั้นตอนในการพิจารณา 3 ขั้นตอน คือ 1.ขั้นต้น 2.ขั้นอุทธรณ์ และ3.ขั้นฎีกา โดยการพิจารณาลงโทษดังกล่าวของคณะสงฆ์จ.ศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต ได้เสร็จสิ้นการพิจารณาในขั้นต้นแล้ว อย่างไรก็ตามกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าวด้วยระบุว่า ผู้ที่ถูกตัดสินไปแล้วในการพิจารณาขั้นต้น สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย โดยอดีตพระวิรพลจะต้องมายื่นอุทธรณ์ด้วยตัวเอง ทั้งนี้หากไม่มายื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กำหนด คณะผู้พิจารณาซึ่งในที่นี้คือคณะสงฆ์จ.ศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต สามารถพิจารณายกอุทธรณ์ได้ และจะถือว่าการวินิจฉัยสิ้นสุด มีผลให้อดีตพระวิรพลขาดจากความเป็นสงฆ์อย่างสมบูรณ์ หากยังมีการแต่งกายแบบพระสงฆ์อีกก็จะมีความผิดฐานแต่งกายเลียนแบบสงฆ์
นายนพรัตน์ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่มีการอ้างว่าอดีตพระวิรพลมีการย้ายไปสังกัดวัดในต่างประเทศแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ เพราะวัดต่างประเทศไม่ได้ขึ้นตรงกับกฎหมายไทย และพ.ร.บ.คณะสงฆ์ หากไปอยู่วัดใดก็จะยังถือเป็นพระไร้สังกัด และไม่ได้เป็นพระสงฆ์ไทยแล้ว
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่กลุ่มลูกศิษย์ของอดีตพระวิรพล รวมทั้งพระผู้ใหญ่บางรูประบุว่าการตัดสินให้ปาราชิกนั้นเป็นการอ่านหนังสือให้อดีตพระวิรพล ต้องอาบัติปาราชิกของคณะสงฆ์จ.ศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุต เพียงฝ่ายเดียว ถือว่าไม่ถูกต้อง และไม่ให้ความเป็นธรรมกับอดีตพระวิรพลนั้น จากการตรวจสอบข้อกฎหมายตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม (พ.ศ.2521) มีการระบุไว้อย่างชัดเจนไว้ในหมวดที่ 3 ส่วนที่ 2 วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ข้อ 39 วรรคสอง ซึ่งระบุว่า ถ้าโจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาฟังคำวินิจฉัยตามกำหนดที่ได้นัดหมายไว้โดยมิได้มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องต่อคณะผู้พิจารณาขั้นต้นก่อนถึงเวลาที่นัดหมายให้อ่านคำวินิจฉัย และให้ถือว่าฝ่ายที่ไม่มาฟังคำวินิจฉัยได้ทราบคำวินิจฉัยนั้นแล้ว..



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.