สกอ.ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนขายวุฒิปลอมแล้ว
 


สกอ.ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนขายวุฒิปลอมแล้ว


สกอ.ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนขายวุฒิปลอมแล้ว
จากกรณีที่มีการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์อ้างว่าสามารถจัดทำวุฒิการศึกษาทุกระดับการศึกษาเพื่อให้นำไปใช้ศึกษาต่อหรือสมัครงาน โดยไม่สามารถจับผิดได้และจ่ายเงินเมื่อเสร็จงาน ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ได้เตือนให้สถานศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ นำวุฒิมาตรวจสอบกับต้นสังกัด ขณะที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ประสานกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เข้ามาช่วยตรวจสอบ ทั้งจะจัดตั้งศูนย์ปราบปรามการปลอมวุฒิการศึกษา โดยให้สกอ.เป็นเจ้าภาพจัดการลุ่มมิจฉาชีพ

ส่าสุด วันที่ 16 ก.ค.ที่ สกอ. รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ขณะนี้ สกอ.ได้ตั้งศูนย์การปราบปรามวุฒิปลอม เรียบร้อยแล้ว โดยมีนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ กกอ. เป็นประธาน ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ดูว่าควรมีมาตรการใดบ้างในการดำเนืนการกับแก๊งดังกล่าว หากใครมีข้อมูลหรือเบาะแสกรณีดังกล่าวของกลุ่มมิจฉาชีพ สามารถแจ้งได้ที่ โทร.02-610-5451 หรือ 02-610-9200 ต่อ 5451 นอกจากนี้จะนำกรณีศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.)และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(มสธ.) ซึ่งเคยเป็นผู้เสียหาย และถูกเว็บไซด์บางแห่งอ้างชื่อ พร้อมทั้งเผยแพร่ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งมหาวิทยาลัยยังสามารถติดตามผู้ทำผิดมาลงโทษได้ด้วย และหลังจากที่ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตที่ปรึกษารมว.ศึกษาธิการ ออกมาเตือนสถาบันการศึกษาเรื่องการโฆษณาปลอมวุฒิผ่านเว็บไซด์ ทำให้มีผู้มาให้ข้อมูลกับตนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย 2 แห่งที่ไม่ได้รับขออนุญาตดำเนินการในประเทศไทย ลักษณะเดียวกับมหาวิทยาลัยอดัมสัน ประเทศฟิลิปปิสน์ และมหาวิทยาลัยโรชวิลล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่

“ปัญหาการจับกุมกลุ่มมิจฉาชีพ หากเราให้ข่าวผ่านสื่อมากพวกนี้จะก็ไหวตัวทัน และจับได้แต่ผู้ซื้อวุฒิปลอม ในข้อหาใช้เอกสารเท็จ หรือจับได้แต่พวกปลาซิวปลาสร้อย ไม่สามารถจับต้นตอได้ ส่วนกรณีการโพสต์ผ่านเว็บไซด์รับทำวุฒิปลอมนั้น ยังทำอะไรไม่ได้มาก เพราะไม่มีตัวบุคคลที่จะกล่าวหา หากจะดำเนินคีดคงต้องอาศัย พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาดำเนินการ แต่หากสถาบันการศึกษาไหนพบว่ามีการแอบอ้างชื่อ นำตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย ไปโฆษณาชวนเชื่อ หรือ จับได้ว่ามีการใช้วุฒิปลอม ก็ต้องเป็นเจ้าทุกข์กล่าวโทษ ซึ่งใช้กฎหมายอาญามาดำเนินการได้ ส่วนกรณีที่มีการระบุว่า กลุ่มมิจฉาชีพเจาะฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มรายชื่อได้นั้น จากการตรวจสอบ ยังไม่พบมหาวิทยาลัยใดเจอปัญหานี้ แต่ที่อาจเป็นไปได้คือ การซื้อตัวเจ้าหน้าที่ที่ดูแลข้อมูล ดังนั้นหากหน่วยราชการหรือบริษัท ทำเรื่องตรวจสอบ ก็จะได้รับการยืนยันข้อมูลบุคคล ทางออกของเรื่องนี้อาจทำได้” รศ.นพ.กำจร กล่าว รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อไปว่า ในอนาคตถ้า ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ...ผ่านเป็นกฎหมายออกมาจะให้อำนาจสกอ.ขอข้อมูลจากมหาวิทยาลัย สกอ.จะขอข้อมูลนิสิตนักศึกษามาเก็บไว้และต้องเป็นข้อมูลที่สถาบันการศึกษารับรองแล้ว พร้อมตัวเลขบัตรประชาชน 13 หลัก มีรายละเอียดการเรียนของแต่ละบุคคล ทั้งเกรดรายวิชา เกรดเฉลี่ย หากบุคคลใดถูกรีไทน์หรือออกกลางคัน จะระบุว่า ออกไปปีไหน ซึ่งฐานข้อมูลที่เก็บไว้ที่ สกอ.และมหาวิทยาลัยต้องตรงกันถึงจะน่าเชื่อถือ และเมื่อมีการร้องขอให้ตรวจสอบก็จะต้องตรวจสอบได้ แต่หากข้อมูลของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ตรงก็ให้ตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่าเกิดปัญหาต้องเข้าไปตรวจสอบทันที..



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.