เกษตรฯเร่งลดต้นทุนข้าวนำร่องโคราชตั้งเป้าลดเกือบ 6 พันล้านบาท/ปี
 


เกษตรฯเร่งลดต้นทุนข้าวนำร่องโคราชตั้งเป้าลดเกือบ 6 พันล้านบาท/ปี


เกษตรฯเร่งลดต้นทุนข้าวนำร่องโคราชตั้งเป้าลดเกือบ 6 พันล้านบาท/ปี
mavikthumbnails/thumbnails/200x126-images-stories-article2013-2859-thai-farmer.jpg">นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน หลักสูตร “การลดต้นทุนการผลิตข้าว” ณ บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดนครราชสีมาว่า

อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน หรือ อกม.ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ เนื่องจากเป็นเครือข่ายเป็นแกนนำ และเป็นผู้ประสานการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเรามีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านอยู่ทั่วประเทศถึง 75,000 คน ดังนั้น จากการที่กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดพิมพ์คู่มือการลดต้นทุนการผลิตข้าวเพื่อแจกจ่ายให้ชาวนาทั่วประเทศแล้ว  จึงได้กำหนดให้จังหวัดต่างๆ เชิญ อกม.ในแต่ละจังหวัดเข้ารับการอบรมแนวทางการลดต้นทุนในการปลูกข้าว

 “การฝีกอบรมในครั้งนี้จะเป็นการบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งภาคราชการและเอกชน เช่น กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานต่างๆในจังหวัด ที่จะร่วมกันจัดอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน เพื่อเป็นแกนนำและผู้ประสานงานต่างๆ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และขับเคลื่อนแนวทางการลดต้นทุนข้าวโดยเฉพาะการควบคุม ใน 3 ส่วน คือ ควบคุมต้นทุนของปุ๋ย ควบคุมเมล็ดพันธุ์ และการใช้สารเคมี  ซึ่งนักวิชาการของกระทรวงเกษตรฯ ยืนยันว่า หากชาวนาปฏิบัติตามคำแนะนำได้ จะช่วยลดต้นทุนได้สูงสุดถึง 3,000 บาทต่อไร่ และขั้นต่ำประมาณ 1,500 บาท ต่อไร่” นายยุคล กล่าว

 นายยุคล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดแรกที่จัดอบรมอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตข้าว เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรปลูกข้าวมากถึง 195,131 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวถึง 3.9 ล้านไร่ โดยมีต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 3,400 บาท/ไร่ เพราะเกษตรกรยังคบงใช้ปัจจัยการผลิตไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการทั้งในเรื่องเมล็ดพันธุ์ สารเคมีป้องกันศัตรูพืช ดังนั้น หลักสูตรดังกล่าวที่จัดขึ้นโดยมีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดถึง 3,755 คนเข้ารับการอบรมเพื่อไปถ่ายทอดยังเกษตรกรแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ตั้งเป้าหมายว่าเกษตรกรจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ไม่น้อยกว่า 1,500 บาท/ไร่ หรือลดต้นทุนการทำนาได้ทั้งจังหวัดถึง 5,850 ล้านบาท” นายยุคล กล่าว
 

 

// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.