สมาคมผู้ประกอบกิจการฮัจญ์อำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญ
 


สมาคมผู้ประกอบกิจการฮัจญ์อำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญ


สมาคมผู้ประกอบกิจการฮัจญ์อำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญ
ัฐบาล วันนี้ (7 ก.ค.) นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขาธิการสำนักงานนโยบาย

และบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) พร้อมด้วย นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันแถลงชี้แจง กรณีที่มีนักวิชาการออกมาท้วงติงโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท อาจเข้าข่ายการทุจริต
     
นายสุพจน์ กล่าวว่า ในแต่ละโมดูล หากขาดโมดูลใดโมดูลหนึ่งไป จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างบูรณาการ ทั้งเขื่อน แก้มลิง และฟลัดเวย์ จะต้องออกแบบคู่ขนานกันไป รวมถึงการขุดลอกและพื้นที่ปิดล้อมต่างๆ จะต้องดำเนินการ

นอกจากนี้ กทม.ก็ไม่จำเป็นต้องมีโครงการขนาดใหญ่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ เพื่อระบายน้ำให้ได้จำนวนมาก เพราะโครงการนี้ ทำได้ครอบคลุมสามารถผันน้ำลงทะเลได้เรียบร้อยหมด  โดยหลักกทม.จะรับน้ำและระบายน้ำกรณีฝนตกอยู่ที่ประมาณ 60 มิลลิเมตร แต่หากฝนตกลงมาจำนวน 100 - 200 มิลลิเมตร ระบบระบายน้ำจะรับไม่ได้ ปกติกทม.มีงบประมาณปกติของกทม.ที่จะดำเนินการในส่วนนี้อย่างการขยายขนาด เช่น การทำอุโมงค์พระรามเก้า ซึ่งนี่เป็นสถานการณ์ปกติที่ยังไม่มีโครงการเมกะโปรเจกต์ด้านน้ำมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท แต่เมื่อไรโครงการนี้สำเร็จเราสามารถบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยการเก็บไว้และมีการระบายที่ไปอย่างชัดเจน รวมถึงการมีคันปิดล้อมขนาดใหญ่สองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก พื้นที่วงล้อมทั้งหมดของสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จ.นครสวรรค์ และคลองพระยาบันลือลงมาจะไม่มีน้ำท่วมขนาดใหญ่เหมือนกับปี 54 จะเหลือเพียงแต่หากฝนตกหนักในกทม. ก็ใช้ระบบระบายน้ำของกทม.ดำเนินการ
ฉะนั้นหากจะทำขึ้นเพื่อเป็นการระบายน้ำขนาดใหญ่ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เพราะว่าน้ำจะไม่มาตามที่คาดไว้แล้ว เนื่องจากเรามีเงินถึง 3.5 แสนล้านบาท และระบายน้ำจากต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำลงทะเลได้เรียบร้อยหมด


สำหรับการประมูลที่มีผู้ผ่านการประมูล 4 ราย จนมีการมองการณ์ล่วงหน้าว่าจีนและเกาหลีจะได้งานส่วนใหญ่ไป อยากจะชี้แจงให้ทราบว่าในข้อเท็จจริงมีคนตรวจสอบคุณสมบัติประมาณ 100 คน เป็นนักวิชาการกว่า 50 คน ปรากฎว่าด้านเทคนิคทั้งหมดจีนและเกาหลีทำมาอย่างดีมาก ทำมาครบทุกโมดูล คะแนนที่ได้ก็สูง ทุกอย่างครบถ้วนหมด ความเป็นไปได้ของโครงการทั้งหมดหากเสร็จจะสามารถแก้ไขน้ำท่วมใหญ่ได้ เหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดการน้ำท่วมหนักและสูญเสียถึง 1.4 ล้านล้านบาท เหมือนกับปี 54 จะไม่เกิดขึ้นอีกเป็นเด็ดขาดหากโครงการนี้สำเร็จ

 ส่วนสาเหตุที่เลือกทำแบบ ดีไซน์ แอนด์ บิวด์ (design and build.) เนื่องจากหากทำดีไซน์ บิด บิวด์ (design bid build) ในส่วนของฟลัดเวย์จะต้องทำการศึกษา และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้ครบ อาจจะใช้เวลาถึง 1 - 2 ปี เพื่อที่จะได้แบบมาเพื่อประมูลแล้วจึงมาก่อสร้าง ต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จึงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นในปีหน้าหรือปีถัดๆ ไปได้ เราจึงต้องใช้โครงการ design and build ที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถร่นระยะเวลาได้ประมาณครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการก่อสร้าง และในทีโออาร์กำหนดชัดเจนว่าเอกชนจะต้องส่งแบบให้ทางราชการตรวจสอบก่อนที่จะดำเนินการ ไม่ใช่จะทำ design and build แล้วไม่มีแบบอะไรเลย นอกจากนี้ เรื่องอีไอเอ ที่มีการพูดกันว่ารัฐไปให้ภาคเอกชนที่เป็นจีนหรือเกาหลีทำ ซึ่งอาจทำให้จีนและเกาหลีไปสำรวจความคิดเห็นประชาชนแล้วให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง แต่จริงๆ แล้วในการทำอีไอเอมีกฎระเบียบกำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้ที่สามารถทำอีไอเอได้จะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) บริษัทจากจีนและเกาหลีจะต้องจ้างบริษัทที่ขึ้นทะเบียนกับสผ.มาทำอีไอเอ โดยสผ. หน่วยงานจากราชการจะเป็นผู้ตรวจสอบหลายๆ ชั้น ฉะนั้น จึงไม่ใช่การปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการแต่อย่างใด ส่วนเรื่องดิน เฉพาะในส่วนฟลัดเวย์ โดยประมาณคร่าวๆ มีจำนวน 200 - 300 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นลูกบาศก์เมตรละ 30 - 50 บาท ยืนยันว่าเอกชนไม่สามารถเอาไปขายได้ เพราะดินที่ขุดขึ้นมาทุกก้อนเป็นสมบัติของรัฐ มีหน่วยงานราชการดูแลอยู่ โดยดินที่ขุดขึ้นมารัฐจะเป็นผู้กำหนดว่าจะให้เอาไปใช้อะไร ไม่ใช่เป็นของเอกชน

ด้านนายธงทอง กล่าวว่า สภาพอากาศทั่วทั้งโลก มีความเปลี่ยนแปลง เวลาคงไม่หยุดคอยให้เราต้องมาชะลอดำเนินโครงการเป็นระยะ 10–20 ปี หรือทำโดยงบประมาณปกติ เรามุ่งหวังที่จะให้เกิดประโยชน์ ตั้งเป้าหมายไว้ 5 ปีจากนี้ไป ส่วนการทำงานเรื่องกฎหมาย ต้องรอความเห็นจากคณะกรรมการกลั่นกรองให้ความเห็น เกี่ยวกับคำสั่งศาลปกครองกลางในโครงการบริหารจัดการน้ำที่มี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่จะให้คำชี้แนะ และจะเดินหน้าเมื่อมีความชัดเจน
          
ส่วนเรื่องราคากลาง ในบันทึกและการแถลงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ผ่านมา ก็ได้ให้ความเห็นไว้แล้วว่า เนื่องจากใช้วิธีการดีไซน์ บิวต์ ต้องทยอยออกแบบ ราคากลางจึงไม่สามารถกำหนดได้ ถ้าจะรีบให้มีราคากลาง ขณะนี้คงเหลือวิสัย ส่วนข้อกังวลของป.ป.ช.ต่างๆ เราพร้อมทำตามอยู่แล้ว
 

 

// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.