ความท้าทายในการเป็น “ศูนย์กลางทางการบินภูมิภาค”ของประเทศไทย
 


ความท้าทายในการเป็น “ศูนย์กลางทางการบินภูมิภาค”ของประเทศไทย


ความท้าทายในการเป็น “ศูนย์กลางทางการบินภูมิภาค”ของประเทศไทย
">บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ความท้าทายในการเป็น “ศูนย์กลางทางการบินภูมิภาค” ของประเทศไทย"

ประเด็นสำคัญ
•    ภาพรวมธุรกิจการบินไทยในปี 2556 จะยังเติบโตต่อเนื่อง โดยนอกเหนือจากปัจจัยด้านการท่องเที่ยวที่เป็นปัจจัยหนุนหลักแล้ว ยังมีปัจจัยผลักดันมาจากการที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  และการขยายตัวของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline)


•    อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยท้าทายต่อธุรกิจการบินไทย โดยจากการเปิดเสรีอาเซียนรัฐบาลแต่ละประเทศต่างเร่งปรับปรุงศักยภาพของประเทศตนเอง รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม โดยเฉพาะการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อดึงดูดจำนวนเที่ยวบินต่างๆ
•    ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าในปี 2556 ผู้โดยสารที่เดินทางมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองจะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 65.2-70.0 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 11-18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา


ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาภาพรวมของ  “ธุรกิจการบินไทย” มีความคึกคักอย่างมากเห็นได้จากจำนวนผู้โดยสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองในช่วง 5 เดือนแรก ของปี 2556 เติบโตกว่าร้อยละ 17.5 หรือมีจำนวนประมาณ 28.51 ล้านคน โดยเป็นผู้โดยสารที่เดินทางมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 21.78 ล้านคนและท่าอากาศยานดอนเมือง 6.73 ล้านคนalt

อย่างไรก็ดี ผู้โดยสารที่เดินทางมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้นมีการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2555 มีจำนวนผู้โดยสารกว่า 53 ล้านคน ทำสถิติรองรับผู้โดยสารสูงที่สุดตั้งแต่มีการเปิดใช้ท่าอากาศยานมา ในขณะที่ความสามารถในการรองรับจำนวนผู้โดยสารมีได้เพียง 45 ล้านคนต่อปี จึงทำให้เกิดปัญหาความแออัด ประกอบกับความจำเป็นในการที่ต้องปิดซ่อมรันเวย์ ทำให้ในปีที่ผ่านมาจึงได้มีการย้ายฐานการดำเนินการของสายการบินต้นทุนต่ำทั้งหมดไปยังท่าอากาศยานดอนเมืองในปีดังกล่าว


ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปรียบเทียบกับท่าอากาศยานของประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะพบว่าจากการจัดอันดับของสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศหรือ Airports Council International: ACI ในปี 2554-2555 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนผู้โดยสารคับคั่งเป็นอันดับที่ 6 ของเอเชียและเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคอาเซียนรองจากท่าอากาศยานซูการ์โน ฮัตตา ของอินโดนีเซีย ขณะที่ท่าอากาศยานซางงีของสิงคโปร์ มีจำนวนผู้ใช้บริการเป็นอันดับที่ 3 และที่ผ่านมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของประเทศไทยติดอันดับท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมาเยือนมากที่สุด 20 อันดับแรกของโลก โดยในปี 2555 ทำสถิติติดอันดับที่ 14 ซึ่งเป็นการติดอันดับ 1 ใน 15 เป็นครั้งแรก

ภาพรวมของธุรกิจการบินไทยในครึ่งหลังปี 2556 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
สำหรับภาพรวมของธุรกิจการบินของไทยในครึ่งปีหลังนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จะยังคงมีความคึกคักต่อเนื่อง ด้วยแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยว ทั้งจากการขยายตัวของผู้โดยสารในประเทศและระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ธุรกิจการบินของไทยยังได้รับแรงขับเคลื่อนจากกระแสการเข้าสู่ AEC และการแข่งขันของธุรกิจสายการบิน โดยเฉพาะธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำทั้งในประเทศและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2556 จะมีผู้โดยสารที่เดินทางมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักและรองของประเทศ รวมทั้งสิ้น 65.2-70.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11-18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน สำหรับปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจการบินไทยเติบโต มีรายละเอียดดังนี้

    การก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558
การก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลให้มีการเปิดเสรีการค้า การลงทุนและการบริการทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากร สินค้าและแรงงานได้อย่างเสรี ก่อให้เกิดปัจจัยสนับสนุนธุรกิจการบินดังนี้

    การเปิดเสรีการบินอาเซียน    
การขนส่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ดังนั้น จากการที่จะก้าวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ธุรกิจโลจิสติกส์จึงเป็นสาขาที่ได้รับการเร่งรัดให้มีการเปิดเสรีก่อนภายในปี 2556 โดยมีสาระสำคัญคือ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของอาเซียนสามารถเข้าไปลงทุนทำธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้ และสามารถถือหุ้นในธุรกิจได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70


สำหรับการเปิดเสรีการบินอาเซียนนั้น โดยหลักการคือกรอบการตกลงพหุพาคีเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถขนส่งทางอากาศระหว่างกันโดยไม่จำกัดจำนวน ความจุ ความถี่ จากเดิมที่ต้องมีการทำความตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนสิทธิการบินระหว่างกัน โดยมีกรอบควบคุมการบริการเดินอากาศ เช่น การแต่งตั้งสายการบิน การกำหนดเส้นทางบิน ความจุและความถี่ของเที่ยวบิน เป็นต้น ปัจจุบันได้มีความคืบหน้าโดยไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันร่วมกับประเทศสมาชิกอีก 5 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนามและเมียนมาร์แล้ว เหลือประเทศสมาชิกที่ยังไม่ลงนามอีก 4 ประเทศ แต่คาดว่าจะสามารถลงนามได้ครบภายในปี 2558 

อย่างไรก็ตาม  หากพิจารณาถึงผลในทางปฏิบัติภายใต้กรอบความตกลงการเปิดเสรีการบินดังกล่าวแล้ว อาจยังคงได้รับอุปสรรคจากกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกอยู่ แต่อย่างไรก็ดีจากกระแสการรวมเป็น AEC ก็ยังคงส่งผลให้เกิดความคึกคักต่อธุรกิจการบินอาเซียน โดยมีการเพิ่มเที่ยวบินและขยายเส้นทางการบินระหว่างประเทศสมาชิกและสายการบินสัญชาติอาเซียนก็ได้มีแผนสั่งซื้อเครื่องบินเพื่อขยายฝูงบินจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่ทั้งค่ายยุโรปและสหรัฐอเมริกา

    การขยายตัวของตลาดการท่องเที่ยวในประเทศอาเซียน
    จากการที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กำลังจะหล่อหลอมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 นี้ ซึ่งมีผลให้กิจกรรมการค้าและการลงทุนในอาเซียนขยายตัวค่อนข้างมากเช่นเดียวกับภาพการท่องเที่ยว  ซึ่งกระแสของ AEC ทำให้ประเทศในอาเซียนกลายเป็นที่สนใจของนานาประเทศ และกลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ต่างมีการปรับกฎเกณฑ์ รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อดึงดูดดนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสมาชิกอาเซียนและไม่ใช่สมาชิกอาเซียนเดินทางเข้ามาในประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดการท่องเที่ยวอาเซียนในปี 2558 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 10.7 ต่อปี (ระหว่างปี 2555-2558) โดยมีนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวนประมาณ 52.0 ล้านคน ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 44.8 ของตลาดนักท่องเที่ยวอาเซียนทั้งหมด

ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของอาเซียน ปี 2552-2558*

alt

 

 

 

 

 


ที่มา : สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) * คาดการณ์โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

    การขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
    สายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2551 ทำให้สายการบินต่างใช้กลยุทธ์การเพิ่มสายการบินต้นทุนต่ำขึ้นมาเพื่อเป็นการลดต้นทุน ทำให้สามารถให้บริการในราคาที่ต่ำกว่าและเกิดการแข่งขันทางด้านราคาในตลาดสายการบินต้นทุนต่ำ แรงดึงดูดทางด้านราคาจึงส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับในภูมิภาคอาเซียนนั้นเมื่อรวมกับกระแสการตื่นตัวรับ AEC การเปิดเสรีการบินอาเซียนและการท่องเที่ยวในภูมิภาค จึงยิ่งทำให้ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำในอาเซียนคึกคัก โดยในปี 2555 ที่ผ่านมา มีการเปิดตัวสายการบินต้นทุนต่ำถึง 4 สายการบินในประเทศสมาชิกอาเซียนได้แก่ ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีการเปิดเส้นทางการบินของสายการบินนอกภูมิภาคมายังอาเซียน เช่น สายการบินของประเทศออสเตรเลียมายังประเทศไทย เป็นต้น    


อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากปัจจัยเสริมให้ธุรกิจการบินไทยเติบโตแล้ว ยังคงมีประเด็นท้าทายอยู่ โดยจากการเปิดเสรีอาเซียนที่รัฐบาลแต่ละประเทศต่างเร่งปรับปรุงศักยภาพของประเทศตน เพื่อรองรับกิจกรรมการค้า การลงทุน รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม โดยเฉพาะการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อดึงดูดเที่ยวบินต่างๆ ก็เป็นปัจจัยที่น่าจับตามอง


แผนการดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานในอาเซียน

alt




 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา:  รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.