ครบรอบ16ปีลอยตัวค่าเงินบาท โครงสร้างศก.และสถาบันการเงินแกร่ง"ไม่ซ้ำรอยประวัติศาสตร์
 


ครบรอบ16ปีลอยตัวค่าเงินบาท โครงสร้างศก.และสถาบันการเงินแกร่ง"ไม่ซ้ำรอยประวัติศาสตร์


ครบรอบ16ปีลอยตัวค่าเงินบาท โครงสร้างศก.และสถาบันการเงินแกร่ง

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "เหลียวหลังแลหน้า ... พัฒนาการระบบเศรษฐกิจและสถาบันการเงินไทย หลังวิกฤตการเงินครบรอบ 16 ปี"


ประเด็นสำคัญ

•    ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 นี้ ถือเป็นวันครบรอบ 16 ปี ที่ทางการไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 ซึ่งหากมองย้อนกลับไปแล้ว จะพบว่า ระบบเศรษฐกิจและธนาคารพาณิชย์ไทยได้รับการพัฒนาปรับปรุง ทั้งกระบวนการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
•    ส่วนปัญหาการสะสมของปัญหาหนี้ครัวเรือนและภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันนั้น คาดว่า ส่วนหนึ่งคงเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมและการดำรงชีวิตของครัวเรือน ซึ่งแตกต่างจากปี 2540 ที่ป็นผลจากการเก็งกำไรอย่างกว้างขวาง ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์และระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เชื่อได้ว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่เดินซ้ำรอยประวัติศาสตร์ที่เคยบอบช้ำ และจะสามารถรับมือกับสถานการณ์อันไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 นี้ ถือเป็นวันครบรอบ 16 ปี ที่ทางการไทยตัดสินใจประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 โดยการตัดสินใจครั้งดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของเศรษฐกิจไทย อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจและการเงินไทยในระยะถัดมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงขอใช้โอกาสนี้ในการมองย้อนกลับไปที่วิกฤตเศรษฐกิจไทยปี 2540 พร้อมสรุปการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา เพื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

บทเรียนจากวิกฤตการณ์ปี 2540 ... นำมาสู่โครงสร้างเศรษฐกิจและระบบการเงินไทยที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นมากขึ้น

    ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 นั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทยมีจุดอ่อนสำคัญ 3 ประการที่เกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียงและเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำมาสู่วิกฤตการณ์ค่าเงินและวิกฤตการณ์สถาบันการเงินปี 2540 ประกอบด้วย
•    การเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น ท่ามกลางสภาพคล่องจากกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศที่ไหลเข้าสู่ระบบการเงินไทยอย่างรวดเร็ว เพื่อหาผลตอบแทนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ต่างประเทศระยะสั้น  
•    การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอ ซึ่งทำให้ค่าของเงินบาทไม่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศ ซึ่งเผชิญปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงอย่างเรื้อรัง จนนำมาสู่การโจมตีค่าเงินบาทจากนักเก็งกำไร และทำให้ทางการต้องประกาศเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
•    ระบบการเงินไทยยังคงเปราะบาง โดยขาดการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบและการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินกิจการวิเทศธนกิจ (BIBFs) ของสถาบันการเงินที่ทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากการกู้ยืมเงินทุนระยะสั้นมาปล่อยกู้ระยะยาว และความเสี่ยงจากการปล่อยกู้สกุลเงินที่แตกต่างกัน (Maturity and Currency Mismatch) ซึ่งเมื่อผนวกกับการขาดการกำกับดูแลที่ดีเพื่อป้องกันพฤติกรรมการปล่อยกู้ที่เสี่ยงของสถาบันการเงิน ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนกระทบความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน และนำมาสู่ปัญหาวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในที่สุด


ทั้งนี้ ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมานั้น จุดอ่อนเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทยที่นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ปี 2540 ได้รับการพัฒนาปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ซึ่งกลายเป็นจุดแข็งต่อพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยในระยะปัจจุบัน ดังนี้


•    ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น ท่ามกลางการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำกับดูแลจากทางการที่ตรงตามมาตรฐานสากล โดยผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ขณะเดียวกัน การบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ ของสถาบันการเงินก็เป็นไปในลักษณะที่ระมัดระวัง และเมื่อผนวกกับการนำหลักเกณฑ์สากลมาใช้ในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ ก็เป็นที่แน่ใจได้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีความเข้มแข็งขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตปี 2540

alt

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 


•    เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและความยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานที่อยู่ในระดับต่ำ ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลอย่างต่อเนื่อง หนี้ต่างประเทศที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี รวมถึงเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนภาพความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยที่น่าจะสามารถรับมือกับสถานการณ์อันไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

alt

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

กระนั้นก็ดี เส้นทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อาจมีบางประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะเป็นประเด็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจบางอย่างที่มีความคล้ายคลึงกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนวิกฤตปี 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลต่อภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์และการสะสมของปัญหาหนี้ครัวเรือน ท่ามกลางการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สถานการณ์ในปัจจุบันมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการซึ่งแตกต่างจากช่วงปี 2540 ดังนี้


สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อจีดีพี ตั้งแต่ พ.ศ.2534 - 2555
 alt

 

 

 

 

 

 

 

 

 


หมายเหตุ: ข้อมูลปี 2534 - 2545 เป็นข้อมูลเงินให้สินเชื่อแก่รายย่อยของธนาคารพาณิชย์รวมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ


•    การสะสมของหนี้ครัวเรือน...อาจสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมและการดำรงชีวิตของครัวเรือน ทั้งนี้ แม้ว่าหนี้ครัวเรือนไทยอาจเร่งตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 77.6% ต่อจีดีพีในปี 2555 แต่ต้องยอมรับว่า การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนดังกล่าว อาจสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งการเข้าสู่สังคมเมือง ชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น รายได้ที่สูงขึ้นของภาคชนบท รวมไปถึงการเข้าถึงบริการทางการเงินของสถาบันการเงินในระบบที่เพิ่มขึ้น (ซึ่งทดแทนการก่อหนี้นอกระบบ) ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุผลที่ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้น


การเติบโตของสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่ พ.ศ.2537 - 2555

alt

 

 



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.