หน้ากาก
 


หน้ากาก


หน้ากาก
วันที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8196 ข่าวสดรายวัน


หน้ากาก


คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
คาดเชือก คาถาพัน



ประเด็นที่มี "ขาใหญ่" ในวงการสื่อมวลชน หรืออดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยออกมาใช้ถ้อยคำหยาบ-ถ่อย เหยียดหยามความเป็น "เพศหญิง" นายกรัฐมนตรี

อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากปาฐกถา "แทงใจดำ" ที่นายกฯ ไปพูดที่มองโกเลีย

จนถึงวันนี้ก็ยังไม่จบ

เรื่องคดีความนั้นก็ว่ากันไปตามกระบวนการ อย่างน้อยถูกด่าแล้วแจ้งความก็ยังดีกว่าด่ากันด้วยคำหยาบแบบเดียวกัน-ระดับเดียวกันกลับไป

หรือดีกว่าบันดาลโทสะเอาไม้ไปไล่ตี เอาปืนไปไล่ยิง

แต่ที่ไม่จบเพราะกระแสวิพากษ์วิจารณ์ผู้แสดงออกเช่นนั้นยังไม่สิ้นกระแส

โดยเฉพาะในประเด็นว่าตัวคำด่านั้นเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการ "แงะหน้ากาก" ของคนด่าหรือว่าคนที่ออกมาสนับสนุนการด่าแบบนี้

แต่ถึงจะด่าแบบนั้นพอเป็นอยู่บ้าง แต่ไม่สันทัดในการอธิบายความหมายของการด่า

จึงขออนุญาตดึงบางส่วนจากบทความของ อาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตร จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ มาดังนี้

"คำด่าอยู่ในลำดับชั้นต่ำสุดของภาษาไทย ระหว่างคู่สนทนาที่ไม่เท่าเทียมกัน"

"คนที่อยู่สูงกว่าพูดไปด่าไปกับคนที่อยู่ต่ำกว่าได้ แต่คนที่อยู่ต่ำกว่าไม่สามารถทำอย่างเดียวกันกับคนที่อยู่สูงกว่าได้ หรืออาจจะต้องใช้ภาษาอีกภาษาหนึ่ง เช่นราชาศัพท์ สนทนากับผู้ที่อยู่สูงกว่า"

"แต่สำหรับคู่ขัดแย้งที่อยู่ในฐานะเดียวกัน เมื่อใดก็ตามที่จนแต้ม ไม่สามารถทำให้คู่ขัดแย้งยอมรับนับถือตนเองได้ด้วยการหว่านล้อมด้วยมธุรสวาจา ไม่สามารถอธิบายโต้แย้งด้วยเหตุด้วยผลได้

"พวกจนคำพูดไร้สติปัญญาก็จะใช้คำด่าแทน

"คำด่าของพวกเขาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า พวกเขาไม่ใช่นักคิด ไม่ใช่นักประชาธิปไตยอะไรที่ไหน

"ก็แค่นักอนุรักษ์วัฒนธรรมลำดับชั้น ยึดมั่นกับวัฒนธรรมเหลื่อมล้ำต่ำสูงของสังคมไทยคนหนึ่งเท่านั้นเอง"

ชัดนะ


หน้า 6




// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.