สถาบันไฟฟ้าฯ เผยอุตฯ ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ยังโต แต่ห่วงบาทแข็งทำแข่งขันยาก
 


สถาบันไฟฟ้าฯ เผยอุตฯ ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ยังโต แต่ห่วงบาทแข็งทำแข่งขันยาก


สถาบันไฟฟ้าฯ เผยอุตฯ ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ยังโต แต่ห่วงบาทแข็งทำแข่งขันยาก

 

วานนี้ (26 เมษายน 25556) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้เปิดเผยรายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนเมษายน 2556 (ข้อมูลเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2556)โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
การลงทุน โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าเงินลงทุน 2,880.87 ล้านบาท ประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนที่มีเงินลงทุนค่อนข้างสูง ได้แก่ กิจการ PRINTED CIRCUIT BOARD ASSEMBLY รองลงมา ได้แก่ กิจการอุปกรณ์โทรคมนาคม และชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรคมนาคม 
 
การจ้างงาน สถานประกอบการของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีจำนวน 2,055 ราย ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก ส่วนจำนวนแรงงานในอุตสาหกรรม มีจำนวน 592,956 ราย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในสถานประกอบการขนาดใหญ่
 
การผลิต การผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.02 โดยอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.09 โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศในช่วงหน้าร้อน เช่น สินค้าเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
 
การส่งออก มูลค่าการส่งออกมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 8,143.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนการส่งออกค่อนข้างสูงและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง ได้แก่ ตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกา ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.10 รองลงมา ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าส่งออกค่อนข้างสูงและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.14 และ 9.97 ตามลำดับ
 
ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 โดยประมาณการว่าการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.32 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าส่งออก เช่น เครื่องปรับอากาศ เป็นหลัก ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตของอิเล็กทรอนิกส์ ค่อนข้างทรงตัว คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสินค้าที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากอุทกภัยปี 2554นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า มีผลต่อการผลิตเพื่อการส่งออกอาจลดลงได้ เช่น มูลค่าการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เป็นต้น
 
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ความผันผวนของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค อาจมีการแข็งค่ากว่า ทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้ กับคู่แข่งที่มีสินค้าใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าก็ยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบเพิ่มขึ้นจากปัจจัยของค่าเงินที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีกด้วย
<


// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.