ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก สงสัยไม่มีทางออก
 


ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก สงสัยไม่มีทางออก


ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก สงสัยไม่มีทางออก
"> ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับต้นปี หากคำนวณตัวเลขจากฐานที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อต้นปี ค่าเงินบาทแข็งค่ามาอยู่ที่เฉลี่ยกว่า 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เรียกว่าแข็งค่าขึ้นประมาณ 6 %

แข็งค่ามากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และเมื่อคำนวณทุก 2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ กอปรกับมูลค่าการส่งออกของไทยเท่ากับ 200,000 - 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นั่นเท่ากับว่า เม็ดเงินหายไปแล้วกว่า 500,000 ล้านบาท  ซึ่งหากค่าเงินยังแข็งค่าต่อเนื่องจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกรวมทั้งปีเป็นติดลบได้
    นี่เป็นความเสียหายจริงที่อาจเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของไทย อันเป็นผลจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วมาก และทำให้ภาคการส่งออกของประเทศวิตกเรื่องทิศทางของค่าเงินบาทในอนาคต และหากค่าเงินบาทไม่ได้แข็งค่าเพียง 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หากแต่เป็น 27 - 26 หรือ 25 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วอะไรจะเกิดขึ้น นั่นหมายถึงผู้ส่งออก
สูญเสียเม็ดเงินถึง 1 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปถึงระดับ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
    นอกจากไทยจะสูญเสียเม็ดเงินแล้ว ยังอาจสร้างปัญหาใหญ่ให้แก่ผู้ผลิตสินค้าส่งออกด้วย เพราะราคาสินค้าไทยจะแพงขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นสกุลเงินหลักๆ ในการค้าขายระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันผู้ผลิตภายในประเทศ ก็ประสบปัญหาใหญ่อยู่แล้ว ด้านค่าจ้างแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้นไป และไม่เฉพาะค่าแรงงานขั้นต่ำเท่านั้น ยังรวมถึงการปรับขึ้นเงินเดือนทั้งระบบ อีกทั้งเป็นการปรับฐานครั้งใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาด้วย ขณะที่ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ลดลงไปบ้าง อาทิ เสียภาษีได้ถูกลงจากนโยบายของรัฐบาล
    ปัจจุบัน แต่ค่าขนส่งยังไม่ได้ประโยชน์เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ๆที่รัฐบาลมุ่งหวังจะลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการ เพราะยังเป็นเพียงโครงการในกระดาษเท่านั้น
    ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเป็นลำดับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ก็เพราะนโยบาย "คิว อี(Quantitative Easing: QE)" ของรัฐบาลอเมริกันที่ออกมาเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ทำให้ปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐฯในตลาดมีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยหลังน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 และการเข้ามาลงทุนเพื่อการฟื้นฟูโรงงานของต่างประเทศในไทย การขยายการลงทุนด้าน SMEs ของญี่ปุ่นในไทย อีกทั้งการลงทุนในตลาดทุนของไทย ก็ยังเป็นที่สนใจของแหล่งเงินทุนต่างประเทศ จึงทำให้ปริมาณดอลลาร์สหรัฐฯไหลเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก นี่ยังไม่นับรวมการเก็งกำไรค่าเงินบาทอีกด้วย
    สถานการณ์เช่นนี้จะไปหวังพึ่งการแทรกแซงค่าเงินบาทโดยธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้ เพราะแทรกแซงไปก็เหมือนจะไร้ประโยชน์  ทางที่ดีต้องประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อรองรับความผันผวนของค่าเงินบาทในอนาคต และต้องปรับกลยุทธ์การส่งออกเสียใหม่เท่านั้น



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.