กก.ชกนักมวย? วิพากษ์ศาลรธน.
 


กก.ชกนักมวย? วิพากษ์ศาลรธน.


กก.ชกนักมวย? วิพากษ์ศาลรธน.
วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8186 ข่าวสดรายวัน


กก.ชกนักมวย? วิพากษ์ศาลรธน.





พรรคเพื่อไทยติดเครื่องออกเดินสายตั้งเวที ?เพื่อไทย เพื่ออนาคตประเทศ? ในช่วงปิดสมัยประชุมรัฐสภา

ช่วงแรกเป็นการเดินสายจังหวัดแถบภาคอีสาน ฐานเสียงใหญ่ของพรรค ประเดิมเวทีทุ่งศรีเมือง จ.อุดร ธานี และศาลากลางจังหวัดขอนแก่น พื้นที่หัวเมืองของคนเสื้อแดง

เป้าหมายการเดินสายปราศรัย อย่างแรกเพื่อชี้แจง 3 เรื่องสำคัญที่ยังค้างอยู่ในกระบวนการรัฐสภา คือ ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา และร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม

กับอีกเป้าหมายคือการใช้ช่วงสภาปิดเทอมยาว 4 เดือนลงพื้นที่พบปะประชาชน เพื่อไม่ให้คะแนนนิยมขาดตอน โดยเฉพาะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันทางการเมืองในเร็วๆ นี้ อย่างที่หลายคนเริ่มวิตกกังวล

จากศึกปะทะระหว่างนักมวยกับกรรมการที่กำลังโรมรันพันตูกันอยู่ตอนนี้ ไม่มีใครยอมอ่อนข้อให้แก่กัน

พรรคเพื่อไทยระดมมวยรุ่นใหญ่ หมัดหนัก ทั้งนายโภคิน พลกุล นายอุกฤษ มงคลนาวิน 2 อดีตประธานรัฐสภาและปรมา จารย์ด้านกฎหมาย ออกมาปล่อยหมัดชุดเข้าใส่ศาลรัฐธรรมนูญแบบไม่ออมมือ

เริ่มจากนายโภคิน ที่ออกมาสนับสนุนแถลง การณ์ร่วมสมาชิกรัฐสภา 312 ส.ส.-ส.ว.ทั้งยังรับเป็นที่ปรึกษาการร่างจดหมายเปิดผนึกของส.ส.พรรคเพื่อไทย

ซึ่งมีเนื้อหาเดียวกันคือ แสดงจุดยืนไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการรับเรื่องตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา

เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต ก้าวก่ายรัฐสภา ขัดหลักการประชาธิปไตยที่แบ่งอำนาจเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ

ทั้งยังต้องจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ และประธานวุฒิสภา ร่วมลงชื่อกับสมาชิกรัฐสภา 312 คนประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

ทั้งหมดยังปฏิเสธเดินทางเข้าชี้แจงข้อกล่าวหาภายใน 15 วันตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด โดยไม่กลัวคำเตือนว่าอาจเป็นฝ่ายเสียเปรียบจากการที่ศาลฯ จำเป็นต้องเปิดพิจารณาความด้านเดียว

แต่ก็ดูเหมือนทุกอย่างจะสายเกินแก้

สมาชิกรัฐสภาทั้ง 312 คน ผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตรา มั่นใจว่าฝ่ายตนเองกระทำตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ถูกต้องทุกประการ

ทั้งยังมีพยานหลักฐานหนักแน่นที่จะชี้ให้ประชาชนในสังคมและองค์กรอื่นๆ ได้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญต่างหากที่ขยายขอบเขตอำนาจตนเองออกไปนอกเหนือจากรัฐธรรมนูญและเส้นแบ่งอำนาจตามหลักประชาธิปไตย

นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรม การอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรม แห่งชาติ หรือคอ.นธ. ออกจดหมายเปิดผนึก ?ข้อเสนอปรับปรุงศาลรัฐธรรมนูญ?

พร้อมยกตัวอย่าง คดีเพิกถอนการเลือกตั้ง 2 เม.ย.2549, คดียุบ 3 พรรคการเมือง, คดีชิมไปบ่นไป

รวมถึงล่าสุดการมีมติรับคำร้องยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และ มาตรา 237 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการของรัฐสภา

ว่าล้วนแต่เป็นคำวินิจฉัยที่ทำให้การเมืองและสังคมเกิดความขัดแย้งรุนแรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

และนั่นคือคำตอบว่า ทำไมถึงต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าเพิ่มองค์คณะเป็น 15 คน ชี้ขาดกันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 กำหนดวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี และควรมีที่มายึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

ข้อเสนอของนายอุกฤษ ส่วนใหญ่จะโดนใจใครต่อใครหลายคน

แต่ขณะเดียวกันก็มองกันว่าเป็นข้อเสนอที่พูดง่าย แต่ทำยาก เนื่องจากข้อเสนอเหล่านี้สุดท้ายต้องไปจบลงที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ดี

ปัญหาก็จะวนกลับมาตรงจุดเดิมเหมือนที่กำลังเป็นอยู่

สูตรสำเร็จของขบวนการต่อต้านคือ การต้องมีผู้ไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อระงับยับยั้ง จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติรับคำร้องไว้วินิจฉัย

กลายเป็นวงจรซ้ำซากที่สมาชิกผู้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจถูกสั่งยุบพรรค เพิกถอนสิทธิการเมือง

เสมือนเป็นการจงใจวางกับดัก ปิดทุกช่องทาง ไม่ให้การแก้ไขรัฐธรรม นูญเกิดขึ้นไม่ว่าจะในรูปแบบแก้ไขทั้งฉบับหรือแก้ไขรายมาตรา

นอกจากประเด็นว่าศาลรัฐธรรมนูญกำลังมีพฤติการณ์ล่อแหลมต่อการขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเอง การมีมติรับ คำร้องตีความแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตรา ยังนำมาซึ่งคำถามว่า

ทำไมในยุครัฐบาลประชาธิปัตย์ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ถึงทำได้โดยไม่ถูกตีความยับยั้ง มาตรฐานที่นำใช้ต่างกับในยุครัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แบบหน้ามือกับหลังมือ

ที่สำคัญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตรา ไม่ใช่ความคิดริเริ่มของพรรคเพื่อไทยหรือ 312 ส.ส.-ส.ว.

แต่เป็นศาลรัฐธรรมนูญเองที่ชี้ว่าการยกร่างแก้ไขทั้งฉบับ ทำไม่ได้ พร้อมแนะให้ใช้วิธีแก้ไขแบบรายมาตรา

แต่เมื่อทำตามข้อแนะนำดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญกลับรับคำร้องไว้ตีความอีกเป็นรอบที่สอง ปัญหาก็เลยเกิดขึ้นอย่างที่เห็น

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้สังคมหวาด ระแวงสงสัย ไม่แน่ใจว่าศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่คานอำนาจฝ่ายการเมือง ตามหลักข้อกฎหมาย หรือมีอะไรแอบแฝงมากกว่านั้น

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลธรรมนูญ กล่าวถึงสถานการณ์ที่มีม็อบเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง มาชุมนุมหน้าศาลรัฐธรรมนูญว่า

เหมือนนักมวย ไล่ต่อยกรรมการ

แต่ก็ถูกสวนกลับจากนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทยว่า กรรมการต่างหากที่โดดลงมาชกนักมวย เพราะต้องการช่วยเหลือนักมวยอีกฝ่ายซึ่งเป็นพรรคพวกกัน แต่ชกไม่เป็น

ล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญส่งตัวแทนเข้าแจ้งความตำรวจกองปราบฯ ให้ดำเนินคดีกับม็อบที่มาชุมนุมเรียกร้องให้ตุลาการทั้ง 9 คนยุติบทบาทหน้าที่ ในข้อหาหมิ่นประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง

ทำให้มองได้ว่ากรรมการเองก็รอเวลาอยู่แล้วที่จะพลิกบทบาทตัวเอง ใส่นวม โดดขึ้นเวที เดินหน้าแปลงร่างเป็นนักมวยเต็มตัว

ใครจะน็อกใคร ห้ามกะพริบตา


หน้า 3




// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.