ปฏิเสธศาล?

 


ปฏิเสธศาล?


ปฏิเสธศาล?
วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8014 ข่าวสดรายวัน


ปฏิเสธศาล?


ทิ้งหมัดเข้ามุม
คาดเชือก คาถาพัน



แล้วประเด็นศาลอาญาระหว่างประเทศก็เป็นข้อขัดแย้งทางการเมืองขึ้นมาตามความคาดหมาย



ญาติของผู้ตายและคนบาดเจ็บในเหตุการณ์สลายม็อบปี 2553 ต้องหนุนแนวทางนี้อยู่แล้ว



เพราะไม่มั่นใจในความเที่ยงตรงของกระบวนการยุติธรรมไทย



มีอะไรมาเกาะเกี่ยวเผื่อไว้อีกอย่างก็ช่วยให้อุ่นใจขึ้น



ขณะที่นักวิชาการผู้ออกมาสนับสนุนก็เพราะเห็นว่าศาลนี้จะมาช่วย"ปราม"ไม่ให้ผู้ปกครองในอนาคตใช้กำลังสลายการชุมนุมให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายอีก



ขณะที่หัวหอกของกลุ่มคัดค้านที่เป็นหน้าเดิมอย่าง 40 ส.ว. ก็ใช้เหตุผลเดิมๆ มาระบุว่า ไทยจะไปรับขอบเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศไม่ได้



เพราะผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 190



ทั้งที่มีผู้พยายามอธิบายแล้วว่า การประกาศรับขอบเขตอำนาจศาลนี้เป็นการ "ประกาศฝ่ายเดียว" ไม่เข้าข่ายสนธิสัญญา ไม่ต้องนำเข้าสภาเพื่อขออนุมัติตามมาตรา 190



ท่านก็ไม่ฟัง



ทั้งที่มีผู้อธิบายแล้วว่า ถึงรับขอบเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศไปแล้วก็ยังมีอีกตั้งสองขั้นตอนใหญ่ คือเขาจะรับคดีหรือไม่ก็ยังไม่รู้ และถึงเขาจะรับคดี ถ้ากระบวนการยุติธรรมในเมืองไทยตรงไปตรงมา เขาก็เข้ามาพิจารณาคดีไม่ได้



ท่านก็ยังไม่ฟัง



ทั้งที่มีผู้เสนอทางออกแล้วว่า ถ้ากลัวว่าจะเป็นการเอาผิดกับคนหรือกลุ่มคนที่ท่านรักเท่านั้น ก็ขยายเวลาในการรับขอบเขตอำนาจศาลให้ย้อนหลังไป จะเอาถึงกรณีฆ่าตัดตอนหรือสลายม็อบตากใบ



ท่านก็ไม่เอา



และทั้งที่ผู้ที่ให้ความเห็นชอบกับธรรมนูญกรุงโรมซึ่งเป็นต้นกำเนิดของศาลอาญาระหว่างประเทศคือรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย-รัฐบาลที่รักของท่านทั้งหลายนี่แหละ



ท่านก็ไม่สนใจ



ท่านจะส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อล้างรัฐบาลนี้ลูกเดียว



หัวชนฝาไม่ฟังเหตุฟังผลนี่พาคนฆ่ากันมาเยอะแล้ว



ยังไม่เบื่ออีกหรือ


หน้า 6



// //
Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.