พระพุทธ...ศรีสัพพัญญูสูงเสียดฟ้า...อุทยานนครสวรรค์
 


พระพุทธ...ศรีสัพพัญญูสูงเสียดฟ้า...อุทยานนครสวรรค์


พระพุทธ...ศรีสัพพัญญูสูงเสียดฟ้า...อุทยานนครสวรรค์

พระพุทธศรีสัพพัญญู ณ พุทธอุทยานฯ (ภาพจำลอง)

พระพุทธศรีสัพพัญญู.....

นาม...สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้กับพระพุทธรูปองค์ พระประธานของพุทธอุทยานนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 พร้อมทั้งพระราชทานอักษร พระนามาภิไธย “ส.ธ.” ประดิษฐานหน้าพุทธบัลลังก์

ผู้รับสนองฯ...รังสรรค์จากนามธรรมให้เป็นรูปธรรมคือ “พระเทพปริยัติเมธี”

+ + +

พระเทพปริยัติเมธี

พระเทพปริยัติเมธี

ชิ้นส่วนที่หล่อโลหะ (พระหัตถ์) พร้อมนำขึ้นติดตั้ง

ชิ้นส่วนที่หล่อโลหะ (พระหัตถ์) พร้อมนำขึ้นติดตั้ง

พระเทพปริยัติเมธี.....ผศ.ดร. สฤษฏิ์  สิริธโร หรือ “เจ้าคุณหริด” อายุ 54 ปี 35 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ (พระอารามหลวง) ตำบลปากน้ำโพ  อำเภอเมือง  และเป็น.....เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์

เจ้าคุณหริด...เป็นชาวนครสวรรค์โดยกำเนิด ณ อำเภอหนองบัว เมื่อ 5 ธันวาคม 2500 เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตั้งแต่เป็นสามเณรและได้ศึกษาด้านปริยัติธรรมถึงเปรียญฯ 9 ประโยค

ด้านศาสตร์การบริหาร ได้รับปริญญาเอกในหลายสาขา ด้วยเป็นสงฆ์ร่วมสมัยจึงมิได้ออกธุดงค์ดั่งเช่นอริยสงฆ์ในอดีต แต่ก็ได้เดินทางไปศึกษาดูงานทั้งในด้านธรรมและบริหารงานสาธารประโยชน์ ในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี เนปาล อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า สิงคโปร์ และ มาเลเซีย

+ + +

ปฏิปทาการสร้าง “พระพุทธศรีสัพพัญญู”... สืบต่อด้วยปี 2528 คุณวิศาล ภัทรประสิทธิ คหบดีที่มีใจกุศล ได้ปรารภจะบริจาคพื้นดิน 350 ไร่ (พิกัดห่างจากตัวเมือง 2 กิโลเมตรและก่อนถึงบึงบอระเพ็ด 5 กิโลเมตร) ณ ตำบลนครสวรรค์ออก อำ– เภอเมืองนครสวรรค์ เพื่อใช้ในกิจทางพุทธศาสนา แต่ยังไม่สัมฤทธิผลได้ เสียชีวิตลงก่อน

ล่วงคาบเวลามาอีก 2 ทศวรรษ (มีนาคม 2548) ...คุณนงลักษณ์ ภรรยา คุณวิศาล กับครอบครัวและ ตระกูล “ภัทรประสิทธิ” จึงสานต่อด้วยการถวายผืน ดินแผ่นนี้ แด่พระราชปริยัติ  (ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ในขณะนั้น)

+ + +

จากอดีตที่ผ่าน...พระเทพปริยัติเมธี เกิดในครอบครัวที่ยากจน พ่อเสียชีวิต แม่ขายก๋วยเตี๋ยว อยากเรียนหนังสือจึงบวชเป็นสามเณร จึงมุ่งหวังที่จะสร้างโอกาสให้ชนรุ่นหลังได้มีที่ศึกษาเล่าเรียน ประกอบกับทางสภา มหาวิทยาลัยมหา-จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติให้เปิดวิทยาเขตที่นครสวรรค์ เพื่อให้เป็นศูนย์ฯ รองรับการเรียนการสอนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและกลางตอนบน

จึงเป็น...หนึ่งใน แรงบันดาลใจให้รับและดำเนินการ สร้างปริมณฑลแห่งนี้ สืบต่อศาสนกิจ...!!!

และ...ช่วงที่ก่อนจะตัดสินใจรับกิจปฏิบัติ ด้วยที่เป็นคนหนองบัวซึ่งเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงพ่อเดิมสืบจากรุ่นบรรพบุรุษจึงจุดธูปอธิษฐานจิต  ถามว่า”...หากรับกิจนี้จะได้รับความสำเร็จหรือไม่...”

แล้วคืนนั้นก็ ได้รับนิมิตจากอมตสงฆ์ ท่านบอกว่า...

สำเร็จแต่อย่าไปในทางมืด...!!!!

ผู้ศรัทธาร่วมบริจาคโลหะสร้างองค์พระ

ผู้ศรัทธาร่วมบริจาคโลหะสร้างองค์พระ

แม้พุทธอุทยานฯยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ผู้เลื่อมใสก็เข้าร่วมพิธีกรรมอย่างท่วมท้น

แม้พุทธอุทยานฯยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ผู้เลื่อมใสก็เข้าร่วมพิธีกรรมอย่างท่วมท้น

+ + +

ทั้งๆที่ตอนแรกเมื่อรับหน้าเสื่อมาวางแผนปฏิบัติการนั้น มิมีเม็ดเงินเป็นกอบเป็นกำไว้รองรับเลย แต่ด้วยจิตที่ตั้งมั่น แรงศรัทธาจึงค่อยๆไหลเข้ามา ทำให้การดำเนินงานสร้าง “พุทธอุทยานนครสวรรค์” ขับเคลื่อนไปตามขั้นตามตอน...ตั้งแต่ปรับภูมิทัศน์

ทุกขั้นตอนในการสร้าง มีคณะกรรมการดูแลในการปฏิบัติการอย่างโปร่งใส  (ไม่อยู่ในทาง มืด) สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (การรับการจ่าย)ได้

...4 ปี 7 เดือน ได้นิมิตพื้นที่ซับน้ำต้นเจ้า-พระยาเป็นพุทธอุทยานฯ มีสัดส่วนเป็นศูนย์ราชการ (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์) วัดภัทรประสิทธาราม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ (มี 4 คณะเปิดการเรียนการสอนถึงระดับปริญญาโท ซึ่งจะมีระดับปริญญาเอกในอันดับต่อไป) และ...พุทธมณฑล

+ + +

พุทธมณฑล...อันเป็นพื้นที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

ล่วงถึงกาลวาระ 84 พรรษา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เชื่อมต่อพุทธชยันตี จึงได้สร้าง พระพุทธรูปหล่อโลหะเป็นองค์ประธานแห่งพุทธอุทยานฯ

พระพุทธศรีสัพ-พัญญู...ขนาดหน้าตักกว้าง 9 วา (18 เมตร) ซึ่งมีความหมายถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน คือที่ 9 และสูง 45 เมตร (ขนาดเท่าตึก 11 ชั้น) หมายถึง 45 ปี ที่พระพุทธองค์ทรงเดินทางเผยแผ่พระศาสนาก่อนจะล่วงถึงปรินิพพาน

ภายในฐานชุกชีจะให้ผู้ศรัทธานำพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว ประดิษฐาน 84,000 องค์ เทียมเท่าพระธรรมขันธ์ และเลข 84 คือ พระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ล่างสุดของฐานองค์พระฯ เป็นโถงอาคารสำหรับปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา....บรรจุได้  2555 คน เท่ากับกาลแห่ง ปีพุทธศักราช

หุ่นแม่แบบพระพุทธศรีสัพพัญญู

หุ่นแม่แบบพระพุทธศรีสัพพัญญู

+ + +

เจ้าคุณหริด อธิบายว่า...ด้วยพระพุทธรูปมีขนาดใหญ่ในการหล่อจึงตัดออกเป็น 1,500 ชิ้น จากนั้นเมื่อหล่อแล้วเสร็จจึงจะนำขึ้นประกอบบนแท่น (อาคารซึ่งสร้างด้วยคอนกรีต) แล้วเชื่อมต่อให้เป็นองค์พระ...คาดว่าจะเป็นรูปเป็นร่างได้ภายใน 2 เดือน

โดยถือเอา...วันพฤหัสบดี ทลิโทฤกษ์ต่อด้วยมหัทโณฤกษ์ 8 พฤศจิกายน เป็นประเดิม

ในการนี้...จะ จัดพิธีกรรม 2 ศาสนาเชื่อมต่อกันอย่างกลมกลืน เพื่อให้ผู้เลื่อมใสศรัทธาได้มีส่วนร่วมพิธีกรรมอย่างลงตัว เช้าเป็นพราหมณ์หรือฮินดู บวงสรวงเทพยดาทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน รับกิจกุศลถ้วนทั่ว

หลังเพล...สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ประกอบพิธีเจริญพุทธมนต์

พุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใส ทำบุญด้วยการสร้างพระพุทธรูปถือเป็นกุศลยิ่งใหญ่ เพียงแค่ มือแตะชิ้นส่วน (ขององค์พระ) อธิษฐานจิต ศรัทธาบารมีก็เปี่ยมล้น...!!!

 


ก้อง กังฟู



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.