เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ อเนกประสงค์จอมลุย
 


เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ อเนกประสงค์จอมลุย


เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ อเนกประสงค์จอมลุย

altค่ายรถเชฟโรเลต    เปิดตัวรถยนต์อเนกประสงค์ หรือ  PPV   รุ่นใหม่ เทรลเบลเซอร์ ที่พัฒนามาจากรถปิกอัพ เชฟโรเลต โคโลราโด  โดยตั้งราคาเริ่มต้นที่ 1.059 ล้านบาท    2.5 LT ขับเคลื่อนสองล้อ แต่รุ่นที่ขายดีน่าจะเป็นรุ่นเครื่องยนต์  2.8 LT ขับเคลื่อนสองล้อ  ที่เริ่มต้นที่  1.249 ล้านบาท   ส่วนรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อเริ่มที่ 1.299 ล้านบาท 
 โดยภาพรวมแล้ว หน้าตาของ เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ หล่อ ดุดัน สไตล์อเมริกัน ด้วยกระจังหน้าแบบสองชั้น ดูอัลพอร์ต ลวดลายกระจังแบบ 3 มิติ  สอดรับกับกระโปรงรถที่มีขอบสันเด่นชัดเจน และไฟหน้าที่ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งสูง ดูดุดันให้กับตัวรถ นอกจากนี้ ชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ขอบกระจังหน้า มือจับประตู กระจกมองหลัง ไฟหน้า ไฟตัดหมอก และกันชนหลัง ยังตกแต่งด้วยโครเมียม เพื่อเสริมความหรูหรา เด่นสะดุดตา
alt ด้านท้ายรถให้ทัศนวิสัยที่เด่นชัด ด้วยกระจกหลังขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่ไปถึงบริเวณมุมตัวถังทั้งสองด้าน ซึ่งทำให้เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ไม่มีเสาหลังคา หรือ C-pillar เหมือนรถ SUV ทั่วไป
 ช่วงของการขับรถทดสอบ ผมใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-ฟาร์มโชคชัย สัมผัสแรกที่รู้สึกทันทีคือ พวงมาลัยหนักกว่ารถญี่ปุ่นทั่วไป  สอบถามที่ทีมวิศวกรแล้ว ก็ได้คำตอบว่า เป็นการตั้งค่าเผื่อไว้ในกรณีที่บรรทุกเต็มที่ หน้ารถจะลอย ทำให้พวงมาลัยเบาและไวเกินไป   แต่เมื่อสร้างความคุ้นเคยสักพักก็เริ่มเคยชิน ไม่รู้สึกอะไร 
 รุ่นที่ผมนำมาทดสอบเป็นเครื่องยนต์ขนาด 2.8 ลิตร ที่ให้การตอบสนองอย่างน่าพอใจ  จากพละกำลัง 180 แรงม้า แรงบิด 470 นิวตัน-เมตร เมื่อใช้งานควบคู่กับระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ให้อัตราเร่งแซงอยู่ในเกณฑ์ที่ดุดันดี   สำหรับการขับเคลื่อนรถอเนกประสงค์ขนาด 7 ที่นั่ง ที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 1.8 ตัน  ระบบถ่ายทอดกำลังแบบ เกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด  ที่มาพร้อมกับระบบ DSC (Driver Shift Control) ซึ่งช่วยให้ผมสามารถปรับเปลี่ยนเกียร์ได้เองแบบเกียร์ธรรมดา สำหรับรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อนั้น แรงบิดจากเครื่องยนต์จะถูกส่งผ่านไปยังล้อหน้าผ่านทางตัวแบ่งกำลังระบบไฟฟ้า
alt ระบบเกียร์ขับเคลื่อน 4 ล้อของเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ สามารถทำงานได้ในโหมด 2-High (ขับเคลื่อนล้อหลังเท่านั้น) 4-High 4-Low (ด้วยอัตราทดเกียร์ 2.62) และ Neutral ซึ่งสามารถเลือกได้ด้วยสวิตช์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ติดตั้งอยู่ใต้คันเกียร์ บริเวณคอนโซลกลาง
 ทีมงานของเชฟโรเลต จัดสถานีให้ทดสอบช่วงล่างเทรลเบลเซอร์หลายรูปแบบ เพื่อเน้นความโดดเด่นระบบกันสะเทือนที่นุ่มนวลบนท้องถนนทั่วไป ด้วยการใช้คอยล์สปริงทั้งสี่ล้อคู่กับระบบช่วงล่างด้านหลังแบบ 5 ลิงก์ โครงสร้างเป็นอิสระต่อกัน ช่วงล่างสามารถให้ตัวและดูดซับน้ำหนักได้มากขึ้นเพื่อการบุกตะลุยไปบนพื้นผิวถนนทุกรูปแบบสไตล์ออฟโรด   ซึ่งเชฟโรเลตเน้นว่า พบได้ในรถอเนกประสงค์ระดับพรีเมียมเท่านั้น
 ด้านอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในเทรลเบลเซอร์มีครบทุกอย่างที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS ระบบกระจายแรงเบรกอิเล็กทรอนิกส์ EBD ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและป้องกันการลื่นไถล TCS ระบบช่วยเบรกไฮดรอลิก HBA   รวมทั้งระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว ESC  ที่ทำงานร่วมกับระบบ TCS  ระบบนี้จะสั่งงานให้รถป้องกันการสูญเสียการควบคุมทุกรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับสภาวะการขับขี่ ซึ่งอาจจะสั่งงานให้ระบบเบรกทำงานหนึ่งล้อ สองล้อ หรือสามล้อพร้อมกันได้  และที่เด็ดกว่าคือ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ เมื่อลงทางลาดชัน HDC และระบบควบคุมป้องกันการไหลของรถเมื่อขึ้นทางลาดชัน  HAS  ที่มีให้เฉพาะ SUV  ระดับหรูเท่านั้น 
alt โดยภาพรวมแล้ว เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ เปิดตัวราคาออกมาค่อนข้างสูงเกินคาดไปนิด แต่แลกกับรถอเนกประสงค์ขนาด 7 ที่นั่งหน้าตาดุดัน พร้อมสมรรถนะโดดเด่นและระบบความปลอดภัยระดับรถSUV ชั้นดี น้ำหนักรถทำให้การเบรกหยุดต้องเผื่อระยะและผ่อนความเร็วบ้าง  อารมณ์การขับขี่ออกสไตล์หนักแน่นแบบอเมริกันครับ 



// //

Copyright (c) 2010 munjeed.com All rights reserved.